Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
1 ต.ค. 2023 เวลา 05:37 • ข่าว
เรื่องจากข่าว: ญี่ปุ่น มีคนแก่เยอะที่สุดในโลก?
วันที่ 21 ก.ย. 2566 รัฐบาลญี่ปุ่น เผยแพร่ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุในประเทศ ซึ่งตรงกับวันเคารพผู้สูงอายุ โดยพบว่า ขณะนี้ประชากรญี่ปุ่นมากกว่า 1 ใน 10 มีอายุมากกว่า 80 ปี ด้วยอัตราการเกิดตกต่ำอย่างต่อเนื่อง และประชาชนญี่ปุ่นอายุยืน ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดย อันดับ 2 อิตาลี และ อันดับ 3 ฟินแลนด์ เพราะมีประชากรอายุมากกว่า 65 ปี แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ ร้อยละ 29.1
อัตราประชากรสูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2020 มีผู้สูงวัย 28.6% คาดว่าในปี 2065 จะเพิ่มขึ้นเป็น 38.4% หรืออีกนัยหนึ่ง มีประชากรสูงวัยถึง 40% ทีเดียว โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่สมดุล
ขณะที่เด็กเกิดใหม่ลดฮวบลง ดังนั้นภาระหนักด้านภาษีเพื่อนำมาจ่ายเบี้ยบำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ในระบบประกันสังคมให้แก่ผู้สูงวัย จึงตกอยู่ที่คนวัยทำงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในปี 1970 คนสูงวัย 1 คน เป็นภาระให้คนทำงาน 9.8 คน แต่ในปี 2020 คน 2.1 คนต้องช่วยกันเลี้ยงดูคนชรา 1 คน และคาดว่าในปี 2065 จะตกเป็นภาระหนักให้คนทำงาน 1.3 คน หรือเกือบจะเป็นอัตรา 1:1 ทีเดียว
จากการคาดการณ์ดังกล่าว ในอีก 40 ปีข้างหน้า หากอัตราการเกิดยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น หมายความว่าเด็กที่เกิดในวันนี้มีภาระหนักขึ้น ต้องเลี้ยงดูคนสูงวัยหนึ่งคนในอนาคตนั่นเอง
เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา รัฐบาลญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุและคุณแม่ที่อยู่ที่บ้านมากขึ้น ให้กลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง แต่นโยบายนี้ได้ผลในระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะในปัจจุบันพบว่ามีแรงงานสูงอายุมากถึง 9,120,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด 19 ปี ซึ่งการสนับสนุนแรงงานสูงอายุนั้นอาจเป็นผลดีต่อตัวบุคคล แต่ในระดับเศรษฐกิจมหภาค ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยผลกระทบทางวิกฤตประชากรและเศรษฐกิจ
ในทางกลับกัน นอกจากแนวคิดชาตินิยมที่ไม่ต้องการเปิดกว้างในการรับแรงงานจากต่างชาติ ที่เป็นปัจจัยที่กดทับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลไม่น้อยต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นคือหลักคิดเกี่ยวกับครอบครัว ครอบครัวญี่ปุ่นมีหลักนิยมที่ชัดเจน "ผู้ชายทำงาน ผู้หญิงเลี้ยงลูก" และเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป ลักษณะครอบครัวใหญ่ที่อยู่ร่วมกับพ่อแม่ เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ส่วนใหญ่เข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ ทำให้ไม่มีปู่ย่าช่วยดูแลลูกเล็ก
นอกจากนี้การตั้งครรภ์และคลอดบุตรยังเป็นภาระทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้หญิงที่ผู้ชายคงเข้าใจยาก ในปัจจุบันหญิงสาววัย 20-30 ปี กว่า 39% ไม่อยากรับภาระหนักเหล่านี้ ไม่อยากเสียโอกาสก้าวหน้าในการงาน อยากมีชีวิตอิสระและมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้
ดังนั้นเมื่อสภาพสังคมบีบบังคับให้มีชีวิตรอด ไม่เอื้อให้มีภาระอื่นใดเพิ่มอีก ต่อจากนี้ไปจึงเป็นหน้าที่ของคนในสังคมที่จะช่วยกันคิดว่าจะปรับสมดุลให้ใช้ชีวิตกันง่ายขึ้นได้อย่างไร สร้างสังคมที่คนทุกวัย ทารกแรกเกิดจนถึงวัยชรามีความสุขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กวันนี้ได้กลายเป็นสมบัติของสังคม การมีลูกไม่ใช่ความสุขของพ่อแม่ที่อยากมีลูกเท่านั้น แต่เป็นการทำหน้าที่ของชายและหญิงเพื่อสังคมและประเทศชาติไปเสียแล้ว
อ้างอิง
https://www.theguardian.com/world/2023/jan/23/
ข่าวรอบโลก
ความรู้รอบตัว
ข่าว
บันทึก
10
10
5
10
10
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย