1 ต.ค. 2023 เวลา 11:41 • ข่าว

ธปท.ห้ามแบงก์โฆษณา “ก่อหนี้เกินตัว” กระทบทั้งระบบ-ลดแคมเปญ

ธปท.เดินหน้ามาตรการเข้มปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม คุมห้ามแบงก์-น็อนแบงก์ โฆษณา-ทำแคมเปญกระตุ้นให้คนก่อหนี้เกินตัว ดีเดย์บังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 เผยกระทบทั้งระบบ สถาบันการเงินเร่งศึกษาข้อบังคับ-หลักเกณฑ์ยุบยับ เด้งรับเกณฑ์ ธปท. ปรับแผนลดแคมเปญส่งเสริมการขาย “ทีทีบี” ยอมรับกระทบหาลูกค้าใหม่ยากขึ้น “กสิกรไทย” สำรวจโฆษณาและวางแผนปลดลงทุกช่องทางที่เข้าข่าย
ธปท.คุมเข้มโฆษณาสินเชื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (responsible lending) โดยสาระสำคัญประกอบด้วยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการให้ข้อมูลที่กระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ รวมทั้งการดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (persistent debt) ครอบคลุม 8 กระบวนการ ครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ซึ่งจะให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2567
ประกอบด้วย 1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีความเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม 2.การโฆษณา ต้องมีเนื้อหาถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน เปรียบเทียบได้ และต้องไม่กระตุ้นให้ก่อหนี้เกินควร เช่น แจ้งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดและต่ำสุด ระยะเวลาการผ่อนชำระ 3.การเสนอขาย ต้องไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวของลูกค้า 4.พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ให้ครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมด และให้ลูกหนี้เหลือเงินเพียงพอในการดำรงชีพ
5.ส่งเสริมวินัยและการจัดการทางการเงินในช่วงเป็นหนี้ ด้วยการกระตุกพฤติกรรมลูกหนี้ผ่านการให้ข้อมูลและเงื่อนไข เช่น แจ้งเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตรงเวลา แสดงผลของการจ่ายขั้นต่ำต่อเนื่อง 6.การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง 7.การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ เสนอแนวทางปรับโครงสร้างหนี้ที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ และ 8.การดำเนินคดีและโอนขายหนี้ไปยังเจ้าหนี้รายอื่น ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบสิทธิและข้อมูลที่สำคัญ
กระทบแผนหาลูกค้าใหม่
จากประเด็นดังกล่าว นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้จัดการใหญ่และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือทีทีบี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตอนนี้ธนาคารอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบจากร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่าจะมีผลต่ออะไรบ้าง ผลิตภัณฑ์ไหนบ้าง และในแง่ประเด็นเกี่ยวข้องกับการตลาดและการทำแคมเปญต่าง ๆ เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนไหนที่มีผลกระทบอาจจะต้องมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนกันใหม่ เช่น แรงจูงใจ (incentive) รางวัลต่าง ๆ จะต้องกลับมาทบทวนใหม่
“เข้าใจว่า ธปท.พยายามดาวน์โทนการก่อหนี้ หรือลดการกระตุ้นพฤติกรรมในส่วนที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งก็คล้าย ๆ ในช่วงทำเรื่อง market conduct ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเราต้องมาศึกษารายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งได้ให้ทีมงานศึกษาอยู่ แต่ยอมรับว่าเบื้องต้นกระทบการหาลูกค้ารายใหม่”
แบงก์ปรับแผนรับมือ
อ่านเพิ่มเติม : https://www.prachachat.net/finance/news-1405226
โฆษณา