6 ต.ค. 2023 เวลา 04:41 • สุขภาพ

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน ส่วนล่าง

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound - Abdomen) คือ การสร้างภาพอวัยวะภายในช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ช่วยในการวินิจฉัยโรค แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) และ การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) คือ การตรวจหาความผิดปกติอวัยวะภายในช่องท้อง ตั้งแต่สะดือขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น ไต ตับ ม้าม ถุงน้ำดี เช่น ตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน
ผู้เข้ารับเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน ต้องงดน้ำ งดอาหาร ที่มีไขมันทุกชนิด แต่ดื่มน้ำเปล่าได้ ก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่างส่วนบน (Ultrasound Lower Abdomen) คือ การตรวจหาความผิดปกติอวัยวะภายในช่องท้องส่วนล่าง ไม่ว่าจะเป็น มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ไส้ติ่ง เช่น ตรวจหาไส้ติ่งอักเสบ หรือเนื้องอกในมดลูก
การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
ผู้เข้ารับเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง มี 2 วิธี ได้แก่
- การตรวจบริเวณหน้าท้องโดยใช้หัวตรวจ ผู้เข้าตรวจต้องกลั้นปัสสาวะไว้ ลมในลำไส้จะบังมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ภาพที่ออกมาจะไม่เห็นอวัยวะภายในชัดเจน น้ำปัสสาวะที่กลั้นไว้ จะช่วยดันลมในลำไส้ออก จะทำให้เห็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่นๆได้
- การตรวจโดยใส่หัวตรวจผ่านทางช่องคลอด ผู้เข้าตรวจกลั้นไม่ต้องปัสสาวะไว้ เช่น การตรวจหาปริมาณ และขนาดไข่ที่สุกในรังไข่ เหมาะสำหรับสตรีที่ต้องการวางแผนมีบุตร
การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน และ การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด จุกเสียด มีปัญหาการขับถ่าย หรือผู้ที่ยังไม่เคยตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา