8 ต.ค. 2023 เวลา 07:25 • ข่าว

ฮามาสคือใคร บุกอิสราเอลทำไม?

กลายเป็นเหตุการณ์เขย่ากระดานภูมิรัฐศาสตร์โลก เมื่อกลุ่มติดอาวุธฮามาสในปาเลสไตน์ ประกาศปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่เพื่อต่อต้านอิสราเอล ในชื่อปฏิบัติการ ‘พายุอัลอักซอ’ (Al-Aqsa Storm) โดยระดมยิงจรวดมากกว่า 5,000 ลูกถล่มเป้าหมายทั้งสนามบินและเป้าหมายทางทหารในอิสราเอลตั้งแต่ช่วงเช้าวันเสาร์ (7 ตุลาคม) โดยรายงานระบุว่า จรวดชุดแรกถูกยิงเมื่อเวลา 06.30 น. ของวันเสาร์ ตามเวลาท้องถิ่น
4
ทำให้ทั่วโลกหันมาจับตามองความขัดแย้งในตะวันออกกลางอีกครั้ง แต่คราวนี้ด้วยความเป็นห่วงที่มากขึ้น เนื่องจากความขัดแย้งดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องทางอ้อมกับสงครามยูเครน ซึ่งเป็นผลพวงจากความขัดแย้งระดับโลก อาจยกระดับความรุนแรงของความขัดแย้งในตะวันออกกลางครั้งนี้ให้ลุกลามบานปลาย
ฮามาส (حماس) เป็นคำภาษาอาหรับหมายถึง ความกระตือรือรัน ความขยันขันแข็ง
ความเข้มแข็ง ความมุ่งมั่นใฝ่สัมฤทธิ์หรือความปราถนาอย่างมาก คำนี้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อย่อจากพยัญชนะตัวแรกของ "ขบวนการอิสลามเพื่อการต่อต้าน" (ية المقاومة ح) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Islamic Resistance Movement" เรียกสั้น ๆ ว่าฮามาส (Hamas) หรือขบวนการฮามาส
1
ฮามาสก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 โดยเชคอะฮฺมัด ยาซีน ผู้นำทางศาสนา โดย
พัฒนามาจากเครือข่ายการเคลื่อนไหวของขบวนการภราดรภาพมุสลิมของชาวอาหรับปาเลสไตน์ ที่ก่อตั้งขึ้นในอียิปต์เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1928 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ทรงพลังยิ่งในการจุดประกายแนวคิดทางการเมืองแบบอิสลามและกระแสกรฟื้นฟูอิสลาม
โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากนักปราชญ์มุสลิมที่เป็นรากฐานของกลุ่มปฏิรูปอิสลามในปลายศตวรรษที่ 19 เช่น ญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนี่ (Jamaluddin al Afghani) มุฮัมมัด อับดุฮุ (Muhammad Abduh) และรอชีด ริฏอ (Rashid Rida)
1
ฮามาสเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1987 รุ่งขึ้นอีกวันพวกเขาได้นัด พบปะเพื่อการพูดคุยในระดับแกนนำสำคัญของ กลุ่ม คือ เขคอะหมัด ยาซีน อับดุลอาชีช อัลรัน ติซีย์ นักฟิสิกส์ อิบรอฮีม อัลญาซุรี เชคศอและห์ ชะฮาดะฮฺ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยกาซ่า อิซซา อัลซามะ วิศวกร อับดุลฟาตฮัย ดูคอน เจ้าของโรงเรียน ข้อสรุปของ การพูดคุยก็คือการจัดตั้งกลุ่ม (ฮามาส) ขึ้นมาเพื่อเคลื่อนไหวตอบสนองความต้องการของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาชำและเวสต์แบงก์ในการต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล
1
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 หลังสงคราม 6 วัน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1987 นั้น เป็นระยะเวลา 20
ปี ตลอด 20 ปี นโยบายอิสราเอลได้วางเป้าหมายไว้เพื่อการบ่อนทำลายชีวิตการ
เป็นอยู่ของชาวปาเลสไตน์ในแผ่นดินของพวกเขาเอง พร้อมกับดูแลความปลอดภัยของชาวอิสราเอลก่อน แม้ผลกระทบของนโยบายจะเป็นผลร้ายต่อสังคมของชาวปาเลสไตน์ก็ตาม อิสราเอลใช้นโยบายยึดครองแผ่นดินทำกินของชาวอาหรับและประกาศใข้นโยบายเชิงรุกในการสร้างนิคมชาวยิวซึ่งแบ่งดินแดนฝั่งตะวันตก
ของแม่น้ำจอร์แดนและฉนวนกาซ่าออกเป็นสองส่วน
1
นโยบายกำปั้นเหล็ก (Iron fist ) มีผลการใช้ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต ถูกจับกุม คุมขังกักกันในบ้านหรือจำกัดอยู่ในเมือง รื้อถอนทำลายบ้านเรือน เนรเทศผู้คน จับตัวสอบสวน จำกัดการเดินทาง ห้ามการสัญจร (เคอร์ฟิว)ปิดสถานศึกษาและโรงเรียนเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม ภาวะเศรษฐกิจที่ยากลำบาก และอื่น ๆ จึงปรากฏว่าน้อยครั้งมากที่บ้านหลังใดของชาวปาเลสไตน์จะไม่ถูกมาตรการใด ๆ
แม้ว่าฮามาสจะถูกอิสราเอล สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปขึ้นบัญชีดำว่าเป็นกลุ่มก่อการ
ร้าย แต่สำหรับชาวปาเลสไตน์แล้ว ฮามาสคือวีรบุรุษที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งในการต่อสู้กับอิสราเอลนั้น ฮามาสมีจุดยืนที่ขัดเจนตั้งแต่ต้นในการไม่ยอมรับสถานะของรัฐอิสราเอล รวมถึงข้อตกลงต่าง ๆที่รัฐบาลปาเลสไตน์ในสมัยนายยัสเชอร์ อาราฟิต ได้ทำไว้กับประเทศตะวันตก
1
ข้อตกลงเจนีวาหรือข้อตกลงออสโลที่ฮามาสมองว่ามีสภาพเงื่อนไขที่ปาเลสไตน์ตก
เป็นฝ่ายเสียเปรียบอิสราเอล และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการได้ นั่นคือความมั่นคงปลอดภัย เชคอะห์มัด ยาซีนอดีตผู้นำทางด้านจิตวิญญาณของฮามาสได้กล่าวเสมอว่าฮามาสพร้อมที่จะยุติปฏิบัติการหากอิสราเอลยุติการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์และกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนปี ค.ศ. 1947 และหยุดเข่นฆ่าเด็ก สตรี ตลอดจนชาวปาเลสไตน์ผู้บริสุทธิ์
ตัดภาพมาที่สถานการณ์ในปัจจุบัน การโจมตีโดยกลุ่มฮามาสเมื่อ 7 ต.ค. เกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า กลุ่มฮามาสยิงจรวดหลายพันลูกใส่อิสราเอล ขณะที่นักรบกลุ่มฮามาสฝ่าแนวชายแดนและบุกไปโจมตีชุมชนชาวอิสราเอล สังหารพลเรือนหลายสิบคน และจับตัวประกันจำนวนมาก อิสราเอลเปิดการโจมตีทางอากาศกลับทันที โดยระบุว่ากำลังกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ติดอาวุธในฉนวนกาซา เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน
และล่าสุด กองทัพอิสราเอลประกาศเปิด ‘ปฏิบัติการดาบเหล็ก’ (Operation Iron Swords) เพื่อต่อต้านกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ขณะเดียวกันก็เตือนชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ใกล้ฉนวนกาซาว่าให้อยู่แต่ภายในบ้านหรือไปหลบภัยที่ศูนย์พักพิง นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวว่า ประเทศกำลังอยู่ในภาวะสงคราม และอิสราเอล "จะต้องชนะ" ในสงครามนี้
1
ตัวเลขผู้เสียชีวิตของทั้งสองฝั่งล่าสุด (07.00 น. วันที่ 8 ตุลาคม ตามเวลาประเทศไทย) อิสราเอลประมาณการว่า มีผู้เสียชีวิตในอิสราเอลราว 70 คน และมีอีกหลายร้อยคนบาดเจ็บสาหัส CNN รายงานอ้างการเปิดเผยของกระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์ระบุว่า ที่ฉนวนกาซามีผู้เสียชีวิตจากการโจมตีกลับของอิสราเอลแล้วอย่างน้อย 198 คน และบาดเจ็บ 1,610 คน
1
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย เปิดเผยว่า ทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ แจ้งว่า จากการประสานแรงงานไทยในพื้นที่พบว่า อาจมีแรงงานไทยถูกจับไป 2 คน โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กองทัพอากาศเตรียมพร้อมเครื่องบินเพื่อภารกิจอพยพคนไทยในอิสราเอลหากเกิดสถานการณ์ที่จำเป็น โดยในวันนี้ ( 8 ตุลาคม) จะมีการประชุมศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
3
นับเป็นความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งต่อของโลกและของไทยเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ความขัดแย้งโลกสมัยใหม่อย่างแน่นอน ขอให้ความขัดแย้งทั้งหลายจบลงโดยเร็ว โลกของเราเผชิญสงครามใหญ่มาต่อเนื่องกันมากเกือบ 2 ปีแล้ว คงจะไม่เป็นการดีหากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์มีการขยายตัวไปในภูมิภาคต่างๆ เศรษฐกิจโลกยังต้องการการฟื้นตัว เราแทบไม่มีเวลาพักหลังวิกฤตโควิดเลย ขอให้ทุกฝ่ายตัดสินใจโดยคำนึงถึงสันติภาพของประชาคมโลกเป็นสำคัญ
1
ภาพ: Momen Faiz / NurPhoto via Getty Images
อ้างอิง
โฆษณา