9 ต.ค. 2023 เวลา 04:53 • บ้าน & สวน

ถังขยะ แยกประเภท ใช้งานต่างกันอย่างไร

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นถังขยะหลากสี ไม่ว่าจะเป็น ถังขยะสีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน ผ่านตากันมาบ้างแล้วใช่ไหม? ซึ่งถังขยะหลากสีเหล่านี้เรียกว่า ถังขยะ แยกประเภท ที่คอยแยกประเภทขยะแต่ละชนิดออกจากกัน เพื่อช่วยลดการสร้างมลพิษให้กับโลก และทำให้สภาพแวดล้อมน่าอยู่มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่ง ถังขยะ แยกประเภท แต่ละสีนั้นจะมีวิธีการใช้งานอย่างไร ตามเรามาดูในสาระน่ารู้วันนี้ได้เลย
  • ถังขยะ แยกประเภท มีทั้งหมดกี่สี
สำหรับถังขยะ แยกประเภท จะมีทั้งหมดด้วยกัน 4 สี คือ
  • 1.
    สีเขียว คือ ถังขยะอินทรีย์ หรือขยะมูลฝอย
  • 2.
    สีแดง คือ ถังขยะติดเชื้อ
  • 3.
    สีเหลือง คือ ถังขยะรีไซเคิล
  • 4.
    สีน้ำเงิน คือ ถังขยะทั่วไป ทิ้งขยะที่ย่อยสลายไม่ได้
  • การใช้งานของ ถังขยะ แยกประเภท แต่ละสีใช้งานอย่างไร มาดูกัน
อย่างที่บอกไปในข้างต้น ว่าถังขยะแยกประเภทมีด้วยกันทั้งหมด 4 สี 4 ประเภทการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวิธีการใช้งานของถังขยะแต่ละสี มีดังนี้
  • ถังขยะสีเขียว
ถังที่เอาไว้ทิ้งขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง เป็นต้น โดยหากแยกขยะประเภทนี้ได้อย่างถูกต้อง ก็จะสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพใส่ต้นไม้หรือแปลงสวนได้
  • ถังขยะสีแดง
เป็นถังขยะที่ทิ้งเฉพาะขยะอันตราย หรือขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะ เช่น สารพิษ วัตถุติดเชื้อได้ ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วัตถุไวไฟ กระป๋องสเปรย์ เป็นต้น ซึ่งหากมีการคัดแยกอย่างถูกต้อง จะทำให้สามารถนำไปกำจัดได้ถูกวิธี และลดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำหรือชั้นผิวดินได้
  • ถังขยะสีเหลือง
ถังขยะรีไซเคิล ซึ่งขยะที่นำมาทิ้งจะต้องเป็นขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ กระดาษ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีทั้งถังขยะสีเหลืองที่ทิ้งได้ทุกอย่าง และที่แยกตามขยะแต่ละประเภท เช่น ถังที่ให้ทิ้งเฉพาะขวดน้ำ ทำให้สะดวกต่อการนำไปรีไซเคิลมากขึ้น
  • ถังขยะสีน้ำเงิน
ถังขยะที่ใช้สำหรับทิ้งขยะทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล รวมถึงจำเป็นจะต้องกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ภาชนะที่ปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย เป็นต้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันก็ได้มีเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถนำกลับมาเป็นวัสดุใหม่ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
โฆษณา