12 ต.ค. 2023 เวลา 03:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

TRIUP Act คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?

TRIUP Act ย่อมาจาก Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act
TRIUP Act คืออะไร?
TRIUP Act หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม มีผลบังคับใช้ครั้งแรกวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เป็น พ.ร.บ. ที่ถูกผลักดันเข้ามาเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น
มีสาระสำคัญดังนี้ :
- ให้ผู้รับทุนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ภาคเอกชนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐได้
- ให้ผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมต้องใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งต้องบริหารจัดการและรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมต่อผู้ให้ทุน
- กำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรมของผู้เป็นเจ้าของผลงานให้แก่บุคคลอื่นและหน้าที่ของผู้รับโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- ให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้ โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เหมาะสม
- ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากทุนของรัฐในกรณีฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤติ
- กำหนดหน่วยงาน วิธีการส่งเสริมและการจัดสรรเงินค่าตอบแทนแก่นักวิจัยเพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง (Appropriate Technology)
TRIUP Act ใครได้ประโยชน์ ?
TRIUP Act ไม่ได้ให้ประโยชน์แก่นักวิจัยเท่านั้น พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีรายละเอียดหรือข้อกำหนดที่ค่อนข้างครอบคลุมส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนเองที่แม้จะได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐแต่ก็จะดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
ในภาคประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน จะสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ง่ายขึ้นจากการวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ซึ่งก็จะทำให้นัวิจัย มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการวิจัยเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้น และสุดท้ายด้วยการที่เกิดการใช้ประโยชน์ของงานวิจัยและนวัตกรรมที่มากขึ้น ก็จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมให้กับประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
การขอรับความเป็นเจ้าของ
TRIUP Act นั้นมีกระบวนการและการพิจารณาที่มีลำดับขั้นตอนอยู่ หลังจากทำสัญญาให้ทุน ดำเนินการวิจัย และ เปิดเผยผลงานวิจัยแล้ว ผู้รับทุนจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯ ซึ่งถ้าหากผู้รับทุนไม่ต้องการเป็นเจ้าของ นักวิจัยจึงจะมีสิทธิ์ในการขอรับความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยลำดับต่อไป
แต่ไม่ว่านักวิจัยหรือผู้รับทุนได้สิทธิ์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมแล้วนั้น ต้องดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์ และบริหารผลงานวิจัยตามกฎหมาย รวมถึงรายงานการใช้ประโยชน์ต่อผู้ให้ทุนเสมอ
ส่วนในกรณีถ้าทั้งผู้รับทุนและ นักวิจัยไม่ต้องการเป็นเจ้าของผลงานวิจัยฯเลย ผลงานนั้นจะตกเป็นของผู้ให้ทุนทันที แต่ผู้ให้ทุนเองก็ดำเนินการนำไปใช้ประโยชน์เช่นกัน
อ่านเกี่ยวกับ TRIUP Act หรือดาวน์โหลดคู่มือเพิ่มเติมได้ที่นี : https://idgthailand.com/triup-act-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88/
โฆษณา