16 ต.ค. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เช่าบ้านอยู่ หรือ ซื้อบ้านใหม่ ตัดสินใจได้ด้วยกฎ 8.7%

การซื้อบ้าน ถือว่าเป็นการจ่ายเงินครั้งสำคัญของชีวิต ทำให้เราต้องคิดค่อนข้างละเอียด ก่อนจะตัดสินใจซื้อบ้านสักหลัง
1
และเรื่องราคาบ้าน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เราควรให้ความสำคัญ แต่ถึงอย่างนั้น หลาย ๆ คนก็ยังคิดไม่ตก ว่าการเช่าบ้าน หรือซื้อบ้านใหม่ อะไรจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
1
ซึ่งในวันนี้ เราก็มีวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ ระหว่างการเช่าบ้าน และการซื้อบ้าน
นั่นก็คือ “กฎ 8.7%”
แล้ว กฎ 8.7% มีวิธีการใช้งานอย่างไร ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
กฎ 8.7% นั้น พัฒนามาจากกฎ 5% ของคุณ Benjamin Felix ผู้บริหารพอร์ตการลงทุนจาก PWL Capital บริษัทบริหารความมั่งคั่งในประเทศแคนาดา ที่เขาได้เผยแพร่ลงในช่องยูทูบส่วนตัว เมื่อปี 2019
1
โดยตัวเลข 5% นั้น เกิดจากการรวมกันของต้นทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบ้าน ซึ่งแยกได้เป็น
- 1% แรก มาจากอัตราภาษีบ้านเฉลี่ย ของสหรัฐอเมริกา
- 1% ต่อมา มาจากค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาบ้านต่อมูลค่าบ้าน
- 3% สุดท้าย มาจากการถัวเฉลี่ย ของค่าเสียโอกาส ในการนำเงินดาวน์ ไปลงทุนต่อ กับค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ย ที่เราเสียไป
2
แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปัจจุบันนี้ ระดับอัตราดอกเบี้ยได้สูงกว่าเมื่อ 4 ปีก่อนเป็นอย่างมาก
1
อย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา
- เดือนตุลาคม ปี 2019 อยู่ที่ 2% ต่อปี
- ปัจจุบัน ขึ้นมาเป็น 5.5% ต่อปี
5
เช่นเดียวกันกับ อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย
- เดือนตุลาคม ปี 2019 อยู่ที่ 1.5% ต่อปี
- ปัจจุบัน ก็ขึ้นมาเป็น 2.5% ต่อปี
ปัจจุบันนี้ กฎ 5% จึงต้องถูกปรับตัวเลขขึ้น ให้เป็นกฎ 8.7% เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ย ที่สูงขึ้นในปัจจุบัน
1
แล้ววิธีใช้งานกฎ 8.7% คืออะไร ?
วิธีใช้งานกฎ 8.7% ค่อนข้างเข้าใจง่าย นั่นก็คือ
นำตัวเลข 8.7% ไปคูณกับราคาบ้านเป้าหมายของเรา และหารด้วย 12
ก็จะได้เป็นตัวเลขต่อเดือน ที่เป็นต้นทุนของการซื้อบ้าน
1
เมื่อได้ต้นทุนการซื้อบ้านต่อเดือนแล้ว ก็นำไปเปรียบเทียบกับค่าเช่าบ้านต่อเดือน ของบ้านในละแวกใกล้เคียงกัน
ระหว่างต้นทุนการซื้อบ้าน กับค่าเช่าบ้าน ตัวเลขไหนต่ำกว่า ก็คือทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมติว่าเราเล็งบ้านราคา 3 ล้านบาท แถบชานเมืองไว้หลังหนึ่ง แต่เราก็ยังตัดสินใจไม่ได้ ว่าจะซื้อบ้านหรือเช่าบ้านอยู่ดี
ถ้าหากเราใช้กฎ 8.7% ช่วย ก็จะได้ว่า
1
ราคาบ้าน 3 ล้านบาท คูณกับ 8.7% และหารด้วย 12
ก็จะได้ต้นทุนการซื้อบ้าน เท่ากับ 21,750 บาทต่อเดือน
 
เพราะฉะนั้น ถ้าหากในละแวกบ้านที่เราจะซื้อ มีค่าเช่าต่ำกว่า 21,750 บาทต่อเดือน การเช่าบ้าน ก็จะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า
1
แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากค่าเช่าบ้านแถวนั้น สูงกว่า 21,750 บาทต่อเดือน การซื้อบ้าน ก็จะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่านั่นเอง
1
อย่างไรก็ตาม กฎ 8.7% นี้ เป็นการคัดกรองอย่างกว้าง ๆ ซึ่งก็ยังมีสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ข้อ ก็คือ
3
1. อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวน
ในการคำนวณด้วยกฎ 8.7% นั้น เป็นการคำนวณโดยตั้งสมมติฐานว่า อัตราดอกเบี้ยจะคงที่ เหมือนในวันที่เราใช้คำนวณอยู่ตลอด
3
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงทำให้เราต้องตั้งตัวเลขสูงขึ้นอีกสักหน่อย เผื่อในกรณีที่ดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น
1
2. การซื้อบ้านก็มีข้อดีเหมือนกัน
สำหรับการซื้อบ้าน นอกจากคุณค่าทางด้านจิตใจ ที่เราจะได้รับ อย่างการได้มีสินทรัพย์เป็นของตัวเอง หรือมีพื้นที่กว้างขวาง ให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้ชีวิตแล้ว
สำหรับด้านการลงทุน บ้านก็เป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ เพราะบ้านในบางพื้นที่ จะมีราคาสูงขึ้นตามกาลเวลา หรือสามารถนำไปปล่อยเช่าได้
1
อีกทั้งการกู้ซื้อบ้าน ยังทำให้เรามีสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ที่นำไปลดหย่อนให้เราเสียภาษีน้อยลงได้อีกด้วย
3. สถานภาพทางการเงินของเราพร้อมหรือไม่
1
นอกจากตัวเลขต้นทุนการซื้อบ้านที่เราต้องสนใจแล้ว เรื่องสถานภาพทางการเงินของเรา ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะถึงแม้ต้นทุนของบ้าน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว จะถูกกว่าการเช่าบ้าน
1
แต่การจะซื้อบ้าน แน่นอนว่าจะต้องใช้เงินก้อนสำหรับเป็นเงินดาวน์ ซึ่งถ้าเราต้องจ่ายเงินก้อน แล้วทำให้ไม่เหลือเงินเก็บฉุกเฉินในชีวิตเลย หรือการหาเงินก้อนเป็นการสร้างภาระให้ตัวเองเกินไป
1
การลงทุนซื้อบ้าน ก็อาจยังไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก
1
ตัวเลข 8.7% ใช้กับประเทศไทยได้มากน้อยแค่ไหน ?
1
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของไทยนั้น ในประเภทบ้านเดี่ยวหลังหลัก จะอยู่ที่ประมาณ 0.02% ถึง 0.10% เท่านั้น และจะไม่เสียภาษี ถ้าหากมูลค่าบ้านต่ำกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
นั่นจึงทำให้อัตราภาษีสำหรับการมีบ้านของไทย ต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาอยู่มาก รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของไทย ยังต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาอยู่พอสมควรอีกด้วย
เราจึงอาจปรับตัวเลขในสูตรให้ต่ำกว่า 8.7% ได้
หรือจะยังใช้ตัวเลข 8.7% เหมือนเดิม เพื่อให้มีส่วนเผื่อ สำหรับความผันผวนของดอกเบี้ย อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็ได้เช่นกัน
สรุปแล้ว กฎ 8.7% ก็ถือเป็นเครื่องมือ สำหรับช่วยตัดสินใจซื้อบ้านในเบื้องต้น ที่ค่อนข้างใช้งานง่ายเลยทีเดียว
ถึงอย่างนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงถึง ในการซื้อบ้าน หรือเช่าบ้าน ก็ยังมีอีกหลายอย่าง นอกเหนือจากความคุ้มค่าในด้านของตัวเงิน
เพราะทั้งการเช่าบ้าน และซื้อบ้าน ต่างก็มีข้อดี ข้อเสียที่ต่างกัน รวมไปถึงความเหมาะสมที่ต่างกันไป ในแต่ละช่วงจังหวะของชีวิต ตามแต่ละตัวบุคคล
1
ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ การซื้อบ้านที่ตัวเราเองมองว่าแพง ดูคุ้มค่าขึ้นมาก็เป็นได้..
--------------------------
Sponsored by JCB
สัมผัสประสบการณ์ที่มากกว่ากับ บัตรเครดิต JCB
ที่มาพร้อมสิทธิพิเศษดีๆ เพลิดเพลินทั้ง กิน เที่ยว ช้อป ในไทยและต่างประเทศ
พร้อมกับการให้บริการสุดพิถีพิถันทุกรูปแบบ
Facebook : JCB Thailand
LINE: @JCBThailand (https://bit.ly/JCBTHLine)
#JCBThailand #JCBCard
#JCBOwnHappinessOwnStory #อีกขั้นของความสุขในรูปแบบที่เป็นตัวคุณ
โฆษณา