13 ต.ค. 2023 เวลา 03:39 • ข่าวรอบโลก
อิสราเอล

โพสต์พันปี | อิสราเอล - ปาเลสไตน์

ยาวแต่จบ สรุป ข้อเท็จจริง
1
ผมจะเริ่มจากเกริ่นนำโดยย่อ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จุดเริ่มต้น และประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง เหตุการณ์ที่นำมาสู่สถานการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (7 ตุลาคม 2023)
ก่อนจะเริ่มผมอยากขอผู้อ่านทุกคนช่วยกดไลคร์ กดแชร์โพสต์นี้ หากเห็นว่ามีประโยชน์
ผมมีความตั้งใจจะเขียนบทความนี้ด้วยข้อเท็จจริง เนื่องจากขณะนี้มีข้อมูลมากมายซึ่งถูกเติมเสริมแต่ง หรือบิดเบือนด้วยอารมณ์ต่อสถานการณ์ ถ้าพร้อมแล้วเชิญอ่านครับ
สิ่งที่ผมจะเขียนอาจจะไม่ถูกใจหลายคน หากใครเชียร์อิสราเอล หรือปาเลสไตน์ หรือฝักใฝ่ฝ่ายใด
แทบทุกประเด็นในเรื่องนี้จะมีมุมมองทั้งสองฝั่งที่แตกต่างกัน เนื่องจากชาวอิสราเอล และชาวปาเลสไตน์ต่างเล่าประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่เพื่อนๆของผมทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกัน คือ ทั้งสองฝ่ายต้องการความสงบ
การฆ่าฟัน กักขัง จับตัว ข่มขืนล้วนเป็นสิ่งที่ผิด และยอมรับไม่ได้ไม่ว่าจากฝ่ายไหน ด้วยเหตุผลอะไร
ใครเป็นใครในเรื่องนี้
ปาเลสไตน์ เป็นพื้นที่ในตะวันออกกลางที่ถูกครอบครองโดยอาณาจักร และจักรวรรดิ์มากมายตลอด
ประวัติศาสตร์ ทั้งอิยิปต์โบราณ อิสราเอลและศาสนายูดายโบราณ อาณาจักรเปอร์เชีย อเล็กซานเดอร์มหาราช จักรวรรดิ์โรมัน และอื่นๆ อีกมากมาย

จริงๆ แล้วชื่อปาเลสไตน์นั้นไม่ปรากฏจนถึงยุคจักรวรรดิโรมันที่ได้ชื่อ “ปาเลสไตน์” ก่อนหน้านั้นพื้นที่นี้รู้จักกันในนาม เคนาน
ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะรัฐจากสหประชาชาติ แต่มีฐานะเป็น “รัฐสมาชิกสหประชาชาติ (Non-member Observer State)”
เนื่องจากไม่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ หรือเขตแดนอย่างชัดเจน เหตุผลเหล่านี้เองทำให้เกิดประเด็นการรับรองเนื่องจากเหตุผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ 

(อย่างไรก็ตาม 139 ประเทศจาก 193 ประเทศให้การยอมรับปาเลสไตน์ จึงอาจสามารถใช้เป็นข้อโต้แย้งในเรื่องนี้ได้ แต่เมื่อเป็นเรื่องทางกฎหมาย เรื่องนี้จึงยังต้องมีการถกเถียงถึงหลักการและตัดสินกันอีกที)
กาซ่า เป็นพื้นที่ส่วนของปาเลสไตน์ติดกับอิยิปต์ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และอิสราเอล มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน กว้าง 12 กิโลเมตร และยาว 25 กิโลเมตร (เทียบกันแล้วกรุงเทพฯ มีพื้นที่ขนาด 4.36 เท่าของกาซ่า)
1
กาซ่า เป็นพื้นที่หนี่งในสองของดินแดนที่เรียกว่า “ปาเลสไตน์” (อยู่ในอัญประกาศน์พูดเนื่องจากไม่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติอย่างอิสราเอล) ดินแดนอีกส่วนหนึ่งคือเวสต์แบงก์ แต่พื้นที่สองบริเวณนี้ไม่ได้มีส่วนติดกัน ถูกแบ่งโดยอิสราเอล
กาซ่า มีฮามาส อิสราเอล และสหรัฐอเมริกานิยามฮาสาสว่าเป็น องค์กรก่อการร้าย” ขณะที่ “ปาเลสไตน์” นิยามว่าเป็นกลุ่มติดอาวุธ
ฮามาสเป็นหนึ่งในสองฝ่ายการเมืองในกาซ่า กลุ่มฮามาส และกลุ่มฟาตาห์ ฮามาสต่างจากฟาตาร์ในแง่ที่ว่า ฮามาสมีการติดอาวุธและต่อต้านอิสราเอล
อีกเรื่องหนึ่งของฮามาสคือในกฎบัตรปี 1988 ประกาศไว้ว่า ฮามาสเรียกร้องการทำลายล้างอิสราเอล และกวาดล้างชาวยิว ในปี 2017 ฮามาสเผยแพร่กฎบัตรใหม่ซึ่งลบถ้อยคำดังกล่าวไป อย่างไรก็ตามแนวคิดด้านการต่อต้านยิว และอิสราเอลยังคงอยู่ในมุมมองของผู้คน
1
อิสราเอลได้รับการประกาศเป็นรัฐเอกราชโดยสหราชอาณาจักรในปี 1948 ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยหนึ่งเดียวในตะวันออกกลาง
อิสราเอล ได้รับพื้นที่โดยการแบ่งพื้นที่ของ “ปาเลสไตน์”
อิสราเอล ได้ขยายพื้นที่มากขึ้นตามกาลเวลาด้วยการควบกลืนดินแดนของ “ปาเลสไตน์” เช่น สงครามหกวัน (กล่าวถึงต่อไปในบทความ)
อิสราเอล ได้รับการปกป้องโดยกองทัพอิสราเอล ก่อตั้งในปี 1948 เมื่อตั้งประเทศ ประกอบด้วย กองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ
กองทัพอิสราเอลได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก (ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนจากสหรัฐฯปีละกว่าสามพันล้านเหรียญสหรัฐฯ)
อิสราเอลมีโดมเหล็ก (Iron Dome) หรือระบบป้องกันทางอากาศจากการยิงมิสไซล์เพื่อสกัดมิสไซล์ระยะใกล้ (ส่วนสาเหตุที่ทำไมถึงไม่สามารถป้องกันได้เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม จะเล่าต่อครับ)
ทั้งหมดนี้คือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ข้อเท็จจริงหนึ่งที่อยากย้ำไว้ในที่นี้ คือ ความขัดแย้งนี้เป็นเรื่องของ “ดินแดน” ไม่ใช่ “ศาสนา”
ศาสนา “อาจ” เป็นส่วนหนึ่งของข้อขัดแย้งที่ว่าใครมาก่อนใคร ใครเป็นคนพื้นถิ่น ประเทศอิสราเอลก่อตั้งเพื่อใคร ฯลฯ แต่ไม่ใช่ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ปาเลสไตน์ไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐอย่างเป็นทางการ แม้ก่อนการตั้งประเทศอิสราเอล
อิสราเอลได้ขยายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ ถึงตอนนี้ชาวปาเลสไตน์ต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การครอบครองของอิสราเอล และต้องการอิสรภาพ
สำหรับชาวอิสราเอล ชาวยิวต้องการบ้านเกิด ต้องการประเทศ และหลังจากพยายามมานับพันปีที่ถูกขับไล่ ในที่สุดก็ได้มา ดังนั้นจึงต้องปกป้องแผ่นดินไว้ด้วยชีวิต
ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าตนเองคือเจ้าของผู้ถือสิทธิ์ที่แท้จริงจากประวัติศาสตร์ของตัวเอง
ตามประวัติศาสตร์ที่ยอมรับกันปัจจุบัน
ชาวยิวอยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล จนถึงยุคโรมันที่มี ชาวโรมันซึ่งนับถือคริสต์ได้เข้ามา จนถึงการตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีคำว่าปาเลสไตน์
หลังจากนั้นสหราชอาณาจักรเข้ามา และยกดินแดนให้อิสราเอลให้ชาวยิว ทั้งหมดนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ราบรื่นนัก และรุนแรง
ดังนั้นในมุมมองของชาวปาเลสไตน์ อิสราเอลมาแย่งดินแดนของพวกเขาไป ฮามาสเห็นว่าชาวยิวเป็นผู้รุกราน ขณะเดียวกันชาวอิสราเอลก็มองว่าชาวปาเลสไตน์ และฮามาสเป็นผู้รุกรานเช่นกัน
บทความต่างๆที่อ่านกันมักกล่าวว่าความขัดแย้งเริ่มต้นในปี 1948 แต่อย่างที่เล่ามาข้างต้น ความขัดแย้งนี้เริ่มนานก่อนหน้านั้น ตังแต่สมัยก่อนคริสตกาล ปี 1948 เป็นปีที่ทำให้เหตุการณ์รุนแรงขึ้นเนื่องจากการก่อตั้งประเทศอิสราเอล
อย่างที่กล่าวข้างต้น ชาวยิวเชื่อว่าพื้นที่นี้เป็นดินแดนของตัวเองเนื่องจากประวัติศาสตร์ของศาสนายูดาห์ และในที่สุดก็ได้กลับมาแผ่นดินเกิด กล่าวคือชาวปาเลสไตน์มาทีหลัง ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ และชาวมุสลิมก็เชื่อว่าเป็นดินแดนของตนที่อยู่มาเป็นพันๆปี
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่โดยย่อ
1. ช่วงปี 1517 - 1917 พื้นที่ที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และตะวันออกกลางถูกปกครองโดยออตโตมัน เป็นเวลากว่า 4 ศตวรรษ
2. ในช่วงสี่ร้อยปีนี้เป็นช่วงที่ชาวคริสต์ อิสลาม และยิว อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3. กระทั่งปี 1914 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเปิดฉากขึ้น และจบในปี 1918 สภาพตะวันออกกลางได้เปลี่ยนแปลงไป
4. ใน 1917 รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักรได้ออกจดหมายแสดงความตั้งใจถึงการตั้งประเทศสำหรับชาวยิว
5. เมื่อสงครามจบลง อาณาจักรออตโตมันล่มสลาย และสหราชอาณาจักรครอบครองพื้นที่บริเวณซึ่งปัจจุบัน คือ อิสราเอล “ปาเลสไตน์” และจอร์แดน และในปี 1922 สันนิบาตชาติ (The League of Nation) ได้รับรองการความตั้งใจในการตั้งเทศสำหรับชาวยิว ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งอิสราเอลต่อมา แน่นอนว่าชาวอาหรับส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่ต้องการแบ่งพื้นที่ออกไป
6. ในช่วงนี้เองจำนวนชาวยิวในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น และได้เริ่มเก็บสะสม ครอบครองพื้นที่จากชาวอาหรับที่ไม่ใช่ชาวปาเลสไตน์ และเริ่มขับไล่ชาวไร่ชาวนาบนพื้นที่ของตัวเองออกไป (ชาวนาส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์)
7. เพื่อความชัดเจน เจ้าของที่ที่ปล่อยที่ให้ชาวยิว เป็นชาวอาหรับ แต่คนงานที่ทำงานเป็นชาวปาเลสไตน์ ซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
8. เมื่อเจ้าของที่คนใหม่ไล่ผู้เช่าเดิมออก ย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจ นี่เองเป็นอีกหนึ่งเหตุของความไม่ลงรอยกัน
9. ในช่วงปี 1930 ชาวอาหรับปาเลสไตน์ทนไม่ไหว และออกมาต่อสู้กับสหราชอาณาจักร
10. ชาวอังกฤษสู้กลับ ด้วยความช่วยเหลือจากกองกำลังของยิว และปราบปรามชาวอาหรับปาเลสไตน์ลง
11. การปราบปรามเป็นไปอย่างรุนแรง ยิ่งสร้างความร้าวฉาน
12. หลังจากนั้นสหราชอาณาจักรประกาศจำกัดการย้ายเข้ามาของชาวยิว และเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐให้ชาวยิว และชาวปาเลสไตน์อยู่ร่วมกันใน 10 ปี
13. สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น ชาวยิวจำนวนมากหนีจากค่ายกักกันในยุโรปมาบริเวณนี้
14. เมื่อสงครามจบสหราชอาณาจักรตัดสินใจส่งเรื่องนี้ต่อให้สหรประชาชาติ ซึ่งสหประชาชาติเห็นด้วยที่จะให้ตั้งประเทศสำหรับคนสองกลุ่มนี้ในพื้นที่เท่าๆกัน
15. ชาวยิวยินดี และเฉลิมฉลองการก่อตั้งประเทศอิสราเอล ขณะที่ชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจเนื่องจากต้องเสียพื้นที่ไป
16. อิยิปต์ จอร์แดน อิรัก ซีเรีย และเลบานอน ได้บุกอิสราเอล ในสงครามที่เรียกว่าสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1948 หรือที่ชาวปาเลสไตน์เรียกว่า Knocba (แปลว่า Disaster หรือหายนะ)
17. ในที่สุดข้อตกลงสงบศึกเกิดขึ้นในปี 1949 แต่ในเวลานั้นอิสราเอลได้ครอบครองพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีก 1 ใน 3 ของพื้นที่ที่ได้รับการกำหนดไว้จากสหประชาติ พื้นที่ที่ไม่ได้ คือ เวสต์แบงก์ เยรูซาเล็ม และกาซ่า
18. เวสแบงก์ และเยรูซาเล็มครอบครองโดยจอร์แดน และกาซ่าโดยอิยิปต์ในเวลานั้น
19. ภายหลังสงคราม ชาวปาเลสไตน์กว่า 7 แสนคน ต้องระหกระเหินไร้ที่อยู่ และลี้ภัยในประเทศใกล้เคียง และไม่สามารถกลับบ้านได้
20. ดังนั้น Knocba จึงเป็นเหตุการณ์ที่ลืมไม่ลงของชาวปาเลสไตน์ (บางคนถึงกลับกล่าวว่า สงคราม Knocba ไม่เคยจบลง)
21. ต่อมาในปี 1967 สงครามระหว่างอิสราเอล และอาหรับปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดเป็นสงครามที่รู้จักกันในนาม “สงครามหกวัน”
22. หลังจากหกวันผ่านไปอิสราเอลได้ครอบครองพื้นที่เพิ่มรวมถึงเวสต์แบงก์ และกาซ่า นอกจากนี้ชาวปาเลสไตน์กว่า 2 หมื่นคนได้เสียชีวิต ขณะที่ชาวอิสราเอลเสียชีวิตน้อยกว่า 1 พันคน
23. ในปี 1967 สหประชาชาติได้ผ่านมติ 242 พยายามสร้างสันติภาพ รวมถึงให้อิสราเอลถอยจากพื้นที่ที่ได้จากการทำสงครามนี้ และให้ทุกฝ่ายยอมรับซึ่งกันและกัน (สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ชาติอาหรับเห็นตรงกัน และลงมติว่าจะไม่มีสันติ ไม่มีการต่อรอง และไม่มีการยอมรับอิสราเอล)
24. ความขัดแย้งคงอยู่เรื่อยมา จนกระทั่ง 1973 กองทัพอิยิปต์ และซีเรียรวมกำลังโจมตีอิสราเอลในช่วงวันหยุดสำคัญทางศาสนา โดยมีเป้าหมายคือทวงคืนพื้นที่ที่เสียไปในสงครามหกวัน
25. สงครามค่อยๆเบาลง และจบลงด้วยสัญญาหยุดยิงในตุลาคมปีเดียวกัน ปาเลสไตน์พยายามตั้งรัฐของตนเองขึ้น ขณะเดียวกันอิสราเอลก็ได้ลงหลักปักฐานในพื้นที่ที่ได้จากสงครามอาหรับ-อิสราเอลในปี 1948 ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นรวมถึง เวสต์แบงก์ เยรูซาเล็ม และกาซ่า
26. ชาวปาเลสไตน์กล่าวหาว่าพื้นที่นี้ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ขณะที่อิสราเอลโต้ว่าไม่ผิดเนื่องจากปาเลสไตน์ยังไม่ได้รับการจัดตั้งรัฐ และการยอมรับจากนานาชาติ ดังนั้นปาเลสไตน์ไม่มีสิทธิ์ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
1
27. ในช่วงท้ายของยุค 80 ปาเลสไตน์จัดตั้ง “Intifada” หรือแปลว่า กำจัด ซึ่งชาวปาเลสไตน์กล่าวว่าเป็นกระบวนการเรียกร้องเสรีภาพ
28. ช่วงแรกเริ่ม Intifada เป็นการรณรงค์บอยคอตอิสราเอล งดใช้ของอิสราเอล ไม่จ่ายภาษี เป็นต้น
29. แต่เมื่ออิสราเอลเริ่มส่งตำรวจควบคุมการประท้วง ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่การประท้วงต้องมีการควบคุม แต่เหมือนกลับการชุมนุมต่างๆ ที่ตำรวจอาจมีการลงมือ หรือทำเกินกว่าเหตุ ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้น
30. Intifada นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของฮามาส ซึ่งจุดระเบิดในการประท้วงในปี 1993
31. ฮามาส เมื่อเริ่มก่อตั้งนั้นต่างจากฮามาสในปัจจุบัน จริงอยู่ที่ฮามาสทั้งก่อน และตอนนี้ต่างติดอาวุธเหมือนกัน แต่แรกเริ่มนั้นฮามาสมีการสร้างโรงเรียน สร้างมัสยิด สถานีอนามัย ฯลฯ (มุมมองของอิสราเอลต่อเรื่องนี้คือฮามาสใช้สถานที่เหล่านี้ซุกซ่อนระเบิดและอาวุธที่ใช้ในกาซ่า และอิสราเอล)
32. อย่างไรก็ตามฮามาสได้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
33. ขณะเดียวกันปาเลสไตน์ อิสราเอล และบิล คลินตันได้พยายามเจรจาสันติภาพ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
34. ปี 2000 ผู้สมัครนายกของอิสราเอลได้นำกองกำลังกว่า 1 พันคนบุกมัสยิดในเยรูซาเล็ม ซึ่งทั้งอิสราเอล และปาเลสไตน์ต่างถือเป็นเมืองหลวงของตัวเอง และการนำกองกำลังบุกเข้าพื้นที่ศักสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งที่รุนแรง
35. การบุกครั้งนี้นำไปสู่การก่อตั้ง 2nd Intifada ซึ่งรุนแรงกว่ารุ่นแรก ส่งผลให้ ชาวปาเลสไตน์กว่า 3 พันคน และ ชาวอิสราเอลกว่า 1 พันคนเสียชีวิตลง
36. จากนั้นในปี 2002 อิสราเอลได้ตั้งกำแพงขึ้นโดยให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันตัวเอง ขณะที่ชาวปาเลสไตน์กล่าวว่าเป็นการยึดครองดินแดนโดยมิชอบ
37. อย่างไรก็ตามกำแพงนี้สร้างโดยไม่คำนึงถึงชายแดนที่ตกลงในปี 1947 โดยเป็นการสร้างให้บ้านชาวอิสราเอลในเวสแบงค์อยู่ฝั่งของอิสราเอล
2
38. ในปี 2005 ชาวปาเลสไตน์เลือกตั้งครั้งใหม่ และฮามาสได้เสียงข้างมาก ขณะเดียวกันอิสราเอลได้ประกาศให้ชาวอิสราเอลกลับประเทศ และให้กาซ่าปกครองตนเอง และเรียกว่าเป็นการบุกครอบครองกาซ่าของฮามาส
39. อิสราเอลกล่าวว่าต้องปิดกั้นกาซ่าเพื่อป้องกันตัวเองจากฮามาส ทำให้กาซ่าถูกเรียกว่าเป็นคุกเปิด (บริเวณนี้เล็กกว่ากรุงเทพถึงสี่เท่า มีประชากรกว่า 2 ล้านคน และน้ำ ไฟ อาหารที่เข้ามาล้วนแต่ต้องผ่านอิสราเอล)
40. วิกิลีกส์ได้ปล่อยเอกสารว่าอิสราเอลต้องการให้ฮามาสครอบครองพื้นที่ เนื่องจากจะได้ถือว่าฮามาสบุกรุก ยิ่งทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจ (แน่นอนว่าอิสราเอลปฎิเสธข้อกล่าวหานี้ และถือว่าทุกคนในกาซ่าเป็นผู้บุกรุก)
41. จากนั้นเป็นต้นมาอิสราเอลได้ล้อมกรอบกาซ่า และยิงระเบิดสุ่มเข้าไปในกาซ่าอยู่เรื่อยๆ ขณะเดียวกันอิสราเอลก็กล่าวว่ากำแพงนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฮามาสยิงจรวดเข้าสู่พื้นที่ของอิสราเอลได้
42. นอกจากนี้อิสราเอลยังได้ยอมรับว่ายิงระเบิดเข้าไปเพื่อข่มขู่ ให้ฮามาสยกเลิก หรือชะลอการโจมตีใส่อิสราเอล และอิสราเอลไม่เคยมีเจตนาโจมตีใส่ผู้บริสุทธิ์ เจตนาเพียงแค่โจมตีใส่ฮามาส
ข้างต้นนี้คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย
สงครามอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงด้านบน
1. สงครามกาซ่าปี 2008 ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตกว่า 1 พันคน และชาวอิสราเอลเสียชีวิต 13 คน
2. สงครามกาซ่าปี 2014 ระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตกว่า 1 พันคน และชาวอิสราเอลเสียชีวิตประมาณ 20 คน
3. ความขัดแย้งปี 2021 ยุติลงเมื่ออิยิปต์ สหรัฐอเมริกา และการ์ตาร์บรรลุข้อตกลงร่วมกัน
4. และแน่นอนสงครามปัจจุบัน 2023
พักฟังมุมมองของปาเลสไตน์ และอิสราเอลต่อเรื่องเดียวกันนี้กันครับ
อิสราเอล:
ฮามาสเปลี่ยนกาซ่าเป็นคุก
ฮามาสคุกคาม ข่มขู่ชาวบ้าน
ฮามาส ตัดน้ำ ตัดไฟเพื่อควบคมชาวปาเลสไตน์ในกาซ่า
อิสราเอลใช้จรวดป้องกันชาวบ้าน ฮามาสใช้ชาวบ้านป้องกันจรวด
ฮามาสต้องการทำลายล้างอิสราเอล เกลียดชาวยิว
ฮามาสต้องการอำนาจเพื่อตัวเอง แต่กล่าวอ้างเรื่องต่างๆเพื่อหาแนวร่วม
ฮามาสโกหก และล้างสมองชาวบ้านให้เชื่อว่าอิสราเอลเป็นผู้ร้าย ทั้งที่จริงแล้วตัวเองเป็นผู้ร้ายเอง
1
ปาเลสไตน์:
อิสราเอลขังคนในกาซ่า
กองทัพอิสราเอลเข้าไปในกาซ่าและคุกคาม เข่นฆ่า และข่มขืนชาวปาเลสไตน์
อิสราเองควบคุมทุกอย่างในกาซ่า รวมถึงน้ำ ไฟ อาหาร
อิสราเอลไม่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ และระเมิดสิทธิมนุษยชน
อิสราเอลทำลายบ้านเรือน โรงเรียน และมัสยิดในกาซ่าอย่างไร้เหตุผล
อิสราเอลบุกมัสยิดในช่วงพิธีกรรมทางศาสนาอันศักสิทธิ์
มาถึงเหตุการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (7 ตุลาคม 2023)
1. เช้าวันเสาร์ ฮามาสจู่โจมอิสราเอลโดยกองกำลังทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
2. การจู่โจมเกิดขึ้นในช่วงวันหยุดสำคัญทางศาสนาของชาวยิว
3. เวลา 6:30 นาฬิกา ฮามาสยิงจรวดเข้ามาในอิสราเอล
4. เวลา 7:30 นาฬิกา อิสราเอลกล่าวว่ากองกำลังฮามาสข้ามเข้ามาในเขตอิสราเอล โดยการทำลายกำแพงกาซ่า เรือ และกระโดดร่ม
5. เวลา 9:45 นาฬิกา เกิดเสียงระเบิดในกาซ่า (แปลว่าอิสราเอลสู้กลับ)
6. เวลา 10:00 นาฬิกา โฆษกกองทัพอากาศอิสราเอลกล่าวว่าได้ดำเนินการโต้ตอบในกาซ่า และ พื้นที่ 22 แห่งในอิสราเอลถูกบุกรุกโดยฮามาส และเมื่อฮามาสเข้าสู่อิสราเอลแล้ว ฮามาสได้ปล้น ฆ่า ข่มขืนชาวอิสราเอล โดยเหยื่อส่วนมากเป็นเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ โดยมีการไลฟ์สด วิดีโอคอลญาติผู้เสียหายระหว่างกระทำการ
7. เทศกาลดนตรีในอิสราเอลถูกบุก ผู้ร่วมชมถูกกราดยิง และจับตัว
8. มีรายงานว่าทารกชาวอิสราเอลถึง 48 ได้ถูกฆ่า บางคนถูกตัดหัวต่อหน้าพ่อแม่
1
9. อิสราเอลได้ตอบโต้กลับ และกล่าว่าจะไม่มีการให้น้ำ อาหาร ความต้องการพื้นฐานต่อชาวปาเลสไตน์อีก
อย่างไรก็ตามชาวอิสราเอลบางกลุ่มมองว่าการโจมตีครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับความขัดแย้งที่ผ่านมา แต่เป็นการก่อการร้าย ขณะที่ชาวปาเลสไตน์บางกลุ่มเห็นว่าเป็นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และเสรีภาพของชาวปาเลสไตน์ แต่บางกลุ่มประนามความรุนแรงครั้งนี้
คำถามสำคัญคือเหตุการณ์จะจบอย่างไร?
โฆษณา