13 ต.ค. 2023 เวลา 12:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

แนวความคิดเกี่ยวกับปมบาดแผลทางใจ หรือ ความบอบช้ำทางจิตใจ

มักทำให้เราๆ กลับไปนึกถึงเหตุการณ์ทางภัยพิบัติ เช่น พายุเฮอริเคน การทารุณกรรม การถูกละเลยอย่างรุนแรง และสงคราม สิ่งนี้มีผลกระทบอย่างไม่ทันตั้งตัว แต่อาจจะทำให้เราเข้าสู่การผลักไสบาดแผลให้กับขอบเขตของสิ่งผิดปกติเหล่านี้
และหากเราระบุว่า “ผู้บอบช้ำทางจิตใจ” นั่นหมายความว่าพวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้มีความบอบซ้ำทางจิตใจ อันนี้เราได้พลาดจากความหมายที่แท้จริงไปมากทีเดียว
ความบอบช้ำทางจิตใจแผ่ซ่านไปทั่ววัฒนธรรมของเรา ตั้งแต่การทำงาน ความสัมพันธ์ทางสังคม การเลี้ยงดู การศึกษา วัฒนธรรมยุคสมัยนิยม เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ไม่มีรอยบอบช้ำทางจิตใจน่าจะกลายเป็นคนนอกสังคมของเรา
ฉะนั้นถ้าเราจะเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นก็ต่อเมื่อเราถามว่า เราแต่ละคนอยู่ในอาณาเขตของการบาดเจ็บที่ตรงจุดไหน? จุดด่างพร้อยที่เราแต่ละคนแบกรับมาตลอดชีวิต (หรือส่วนใหญ่)คือ? และมีผลกระทบอะไรบ้าง? และมันจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้างหากเราคุ้นเคยและยึดติดกับบาดแผลนั้นๆ
ความบอบช้ำทางจิตใจคืออะไร?
ขณะที่ผมใช้คำว่า "บาดแผล" (trauma) คือการบาดเจ็บภายใน เป็นความแตกร้าวหรือแตกแยกภายในตนเองอย่างยาวนานอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่มีความยากลำบากหรือเป็นอันตราย ตามคำจำกัดความนี้ ความบอบช้ำทางจิตใจคือ สิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดกับพวกเขา
บาดแผลไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวคุณ ลองนึกถึงอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่มีผู้ถูกกระทบกระเทือน อุบัติเหตุคือสิ่งที่เกิดขึ้น อาการบาดเจ็บคือสิ่งที่คงค้างอยู่ ความบอบช้ำทางจิตใจก็คือการบาดเจ็บทางจิตใจที่ติดอยู่ในระบบประสาท จิตใจ และร่างกายของเรา ซึ่งคงอยู่ยาวนานเกินพ้นไปจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสามารถถูกกระตุ้นได้ทุกเมื่อ
ชะตากรรมแห่งความยากลำบากนี้ ประกอบด้วยบาดแผลและภาระที่หลงเหลือแห่งบาดแผลของเรา และได้กำหนดร่างกายและจิตวิญญาณของเรา อารมณ์ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่มักมาหาเราอยู่เรื่อยๆ ความอลม่านสับสนที่ครอบงำให้เราต้องเผชิญอยู่เรื่อยๆ ละครแห่งชีวิตที่นำบทความโศกเศร้า บทละครที่เกินเลยจากความเป็นจริง หรือบทละครแห่งความวิตกจริตที่เราใช้ชีวิตอย่างไม่รู้ตัวและไม่อาจหยุดยั้งได้ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อร่างกายของเรา
เมื่อบาดแผลไม่หายเอง หนึ่งในสองสิ่งที่จะเกิดขึ้น
อย่างแรก คือ มันอาจจะยังคงเป็นแผลสดอยู่ หรืออย่างสอง คือ แผลนั้นถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อ ให้เห็นเป็นร่องรอยแผลเป็นชั้นหนา
เนื่องจากบาดแผลเปิด มันเป็นต้นตอของความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ๆ เราอาจได้รับบาดเจ็บซ้ำแล้วซ้ำเล่าเมื่อถูกสิ่งเร้ากระตุ้นเพียงเล็กน้อย มันบังคับให้เราระมัดระวังตัวอยู่เสมอ—คอยดูแลบาดแผลสดของเราให้อยู่คงสภาพเหมือนเดิม และทำให้เรามีข้อจำกัดในศักยภาพต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่นและไม่ให้เรากระทำการอย่างมั่นใจ
เพราะว่ามันเกรงว่าเราจะได้รับอันตรายอีกครั้ง ฉะนั้น ”รอยแผลเป็น” จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า เป็นการปกป้องและยึดเนื้อเยื่อเข้าไว้ด้วยกัน แต่มีข้อเสียคือ แน่น แข็ง ไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถเติบโตได้ มีอาการชา การฟื้นคืนของเนื้อเยื่อที่สมบรูณ์จะไม่ถูกสร้างใหม่นั้นเอง
ไม่ว่าจะเป็นแผลสดหรือรอยแผลเป็น หากเป็นบาดแผลที่แก้ไขไม่ได้หรือไม่ได้รับการแก้ไข คือการ “ขมวดตัว หด เกร็ง” ทั้งทางร่างกายและจิตใจ มันจำกัดความสามารถแต่กำเนิดของเราและทำให้เกิดมุมมองที่บิดเบี้ยวของเราต่อโลกและต่อผู้อื่นอย่างยาวนาน บาดแผลทำให้เราติดอยู่กับอดีต ปล้นความรุมรวยในช่วงเวลาปัจจุบันไป และจำกัดสิ่งที่เราจะสามารถเป็นได้ จนกว่าเราจะผ่านการคลี่คลายไปได้
ด้วยกลไกที่คอยผลักดันเราให้ระงับความเจ็บปวดและส่วนที่จิตใจไม่ต้องการ จิตใจได้อยู่อย่างแยกส่วน จนทำให้การมองเห็นและการรับรู้ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง ในหลายคน รวมถึงตัวผมด้วย มันได้บั่นทอนความรู้สึกที่มีคุณค่าของคนๆ หนึ่ง สร้างพิษต่อความสัมพันธ์ และบ่อนทำลายความลึกซึ้งของชีวิต และถ้าเกิดในวัยเด็กก็อาจรบกวนถึงพัฒนาการทางสมองด้วยซ้ำไป
การบาดเจ็บเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนและมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บป่วยทุกชนิดตลอดชีวิต เมื่อนำมารวมกัน ผลกระทบเหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญและเป็นพื้นฐานในการเจริญเติบโตของผู้คนจำนวนมาก คำพูดของปีเตอร์ เลวีน เขากล่าวไว้ว่า “การบาดเจ็บที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ทรมานของมนุษย์อย่างมากมาย ทำให้กลายเป็นคนที่คอยหลบเลี่ยง เพิกเฉย ดูหมิ่น ปฏิเสธ งุนงงสงสัย ตีความอย่างบิดเบี้ยว”
ปมบาดแผล 2 ประเภท
ประการแรกที่แพทย์และครูอย่าง Levine และ van der Kolk มักใช้คำนี้ “บาดแผลเกี่ยวข้องกับการตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติและการปรับเปลี่ยนทางกายภาพและจิตใจให้เข้ากับลักษณะเฉพาะ”
เหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวดและท่วมท้นที่สามารถระบุได้ไม่ว่าจะในวัยเด็กหรือหลังจากนั้น ซึ่งในทางการแพทย์และงานวิจัยแสดงให้เห็นตัวอย่างมากมายว่าสิ่งที่เป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับเด็กหลายคน ตั้งแต่การถูกทารุณกรรมหรือถูกละเลยอย่างรุนแรงในครอบครัวต้นกำเนิด ไปจนถึงความยากจน การเหยียดเชื้อชาติ หรือการกดขี่ ซึ่งเป็นวิถีในชีวิตประจำวันของหลายสังคม”
ผลที่ตามมาอาจร้ายแรงมาก ความบอบช้ำทางจิตใจที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่ทราบกันอย่างทั่วไป ทำให้เกิดอาการที่ซับซ้อนและอาการเรื้อรังหลายอย่าง และในทางการวินิจฉัยเชิงพยาธิวิทยาที่เชื่อมโยงทางกายภาพและจิตใจ เป็นสิ่งที่แทบจะมองไม่เห็นด้วยมุมมองของการแพทย์กระแสหลักและจิตเวช ยกเว้นใน "โรค" ที่เฉพาะเจาะจง เช่น “PTSD” (post-traumatic stress disorder) โรคความเครียดที่กระทบกระเทือนจิตใจ
การบาดเจ็บประเภทนี้เรียกว่า "การบาดเจ็บแบบ Capital-T" มันรองรับสิ่งที่เรียกว่าความเจ็บป่วยทางจิต นอกจากนี้ยังสร้างความโน้มเอียงไปสู่ความเจ็บป่วยทางกายด้วยการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ เพิ่มความเครียดทางสรีรวิทยา และทำให้การทำงานของยีนส์มีสุขภาวะลดลง ท่ามกลางกลไกอื่นๆ อีกมากมาย
“สรุปแล้ว การบาดเจ็บแบบ Capital-T เกิดขึ้นเมื่อสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นกับคนที่เปราะบางที่ไม่ควรเกิดขึ้น เช่น เด็กถูกทารุณกรรม ความรุนแรงในครอบครัว หรือการหย่าร้างอย่างเคียดแค้น หรือการสูญเสีย พ่อแม่ในวัยเยาว์ ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในเกณฑ์วัดสำหรับความทุกข์ในวัยเด็กในการศึกษาประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก (ACE) ที่รู้จักกันดี ขอย้ำอีกครั้งว่า เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจนั้นไม่เหมือนกันกับความบอบช้ำทางจิตใจ เพราะความบอบซ้ำทางจิตใจคือ การบาดเจ็บต่อตนเองซึ่งจะเกิดขึ้นทันทีภายในตัวคนๆนั้น
มีบาดแผลทางจิตใจอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นลักษณะที่เรียกว่าเกือบจะเป็นสากลในวัฒนธรรมของเรา ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “บาดแผลเล็กๆ ” (small-t trauma) ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ที่ยืดเยื้อยาวนานในรูปแบบเหตุการณ์ปกติ สิ่งที่นักวิจัยเรียกอย่างแหลมคมว่า “ความโชคร้ายในวัยเด็กที่ไม่น่าจดจำแต่แสนเจ็บปวด” และแพร่กระจายไปในวงกว้าง บาดแผลแบบนี้ได้ประทับฝังไว้ในจิตใจของเด็กๆ รวมถึงการกลั่นแกล้งจากคนรอบข้าง การกล่าวโทษตำหนิที่รุนแรงด้วยท่าทีเรียบง่าย แต่โดนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากผู้ปกครองที่วางจุดยืนว่าเจตนาที่ดี
โดยเฉพาะเด็กที่อ่อนไหวง่าย อาจได้รับการบาดเจ็บหลายวิธี เช่น ความต้องการทางอารมณ์ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง หรือประสบการณ์ที่ไม่ถูกมองเห็นและได้รับการยอมรับแม้กระทั่งจากพ่อแม่อันเป็นที่รัก การบาดเจ็บประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีความทุกข์หรือความโชคร้ายตามที่กล่าวไปในข้างต้น แต่อาจนำไปสู่ความเจ็บปวดจากการถูกตัดขาดจากตนเอง และเกิดเป็นความติดขัดในพัฒนาการของช่วงวัยเยาว์ คำพูดของ จิตแพทย์ Mark Epstein กล่าวไว้ว่า “ความชอกช้ำในชีวิตประจำวันสามารถทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นเด็กกำพร้าได้อย่างง่ายดาย”
แม้จะมีหลักฐานมาหลายทศวรรษว่า “บาดแผลทางใจแบบรุนแรง” (big-T trauma) แทบจะไม่ปรากฏบนหน้าจอข้อมูลทางการแพทย์ บาดแผลทางใจแบบเล็กๆ (small - t trauma) ก็คงไม่พ้นการระบุว่ามันไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บด้วยซ้ำ
แม้ว่าเราจะแยกความแตกต่างระหว่างบาดแผลทางจิตใจแบบรุนแรงและบาดแผลแบบเล็กๆ ได้ แต่เมื่อพินิจพิเคราะห์จากประสบการณ์ของมนุษย์ที่แล้ว โปรดจำไว้ว่าในชีวิตจริง เส้นวัดนั้นคือความลื่นไหล ไม่สามารถวัดกันได้ง่ายนัก และไม่ควรยึดติดเกณฑ์การมองไว้อย่างตายตัว สิ่งที่ทั้งสองประเภทมีร่วมกันได้รับการสรุปโดยย่อโดย Bessel van der Kolk หมอผู้เขียนหนังสือ “body keep the score” ไว้ว่า “บาดแผลทางใจเกิดขึ้นเมื่อเราไม่เห็นหรือไม่รู้จักมัน”
แม้ว่าจะมีความแตกต่างอย่างมากเกี่ยวกับความบอบช้ำทางจิตใจทั้งสองรูปแบบสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตและการทำงานของสมอง แต่ความมิตืของ big-T (บาดแผลทางใจแบบรุนแรง) นั้นน่าวิตกกว่ามากกว่าบาดแผลแบบเล็กๆ แต่ทั้งสองต่างเป็นตัวแทนของความแตกแยกในตนเองและความสัมพันธ์ของคนรอบตัว “การแตกกระจัดกระจาย”
นั้นคือแก่นแท้ของบาดแผลทางจิตใจ ดังที่ ปีเตอร์ เลวีน เขียนไว้ว่า “ความบอบช้ำทางจิตใจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสูญเสียการเชื่อมโยง ทั้งกับตัวเราเอง ครอบครัวและโลกรอบตัวเรา การสูญเสียนี้เป็นเรื่องยากที่จะจดจำได้ เพราะมันเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป เราปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อยจนบางครั้งเราแทบไม่สังเกตเห็นมันได้เลย”
เมื่อการเชื่อมต่อภายในเราถูกตัดขาด หรือเรียกว่า เราได้ตัดขาดกับตัวเราเอง ไม่รับรู้ ไม่รู้สึกรู้สา (a loss of connection to ourselves) และมันดันถูกฝังอยู่ภายใน สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอมมุมมองของเราต่อความเป็นจริงภายนอก เราเชื่อว่าโลกที่เรามองเห็นผ่านเลนส์ที่แตกร้าวเป็นจริงตามนั้น ในจุดนี้ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้ตระหนักว่าเรายึดถือมุมมองอะไรไว้ และพฤติกรรมที่เรากระทำจนเป็นนิสัย รวมถึง "จุดแข็ง" หลายประการของเรา
จากนิสัยย่อยๆ ไปจนถึงนิสัยด้านหลักๆ ของเรา (นิสัยที่คุ้นชินในชีวิตประจำวัน) มักแลกมาจากความเสียหายของบาดแผลทางใจ มันอาจจะน่าสับสนสำหรับพวกเราหลายคน แต่หากเมื่อเราทบทวนอย่างลึกซึ้ง แม้ว่าเราจะมีความสุขและปรับตัวได้ดีพอสมควร และสิ่งที่เราคิดว่า “เราเป็นคนแบบนี้แบบนั้น นี่แหละฉัน” เราอาจกำลังตกอยู่ในเฉดใดเฉดหนึ่งของสภาวะบอบช้ำทางจิตใจก็เป็นได้ และแม้ว่าจะอยู่ห่างจากแกนของบาดแผลแบบรุนแรง (big-T) ก็ตามที
ไม่มีความจำเป็นและสำคัญว่าเราจะชี้ให้คนอื่นเห็นความบอบช้ำของเราว่าหนักหนาขนาดไหน เพราะไม่มีใครเทียบความทุกข์ได้ และไม่เหมาะสมด้วยที่จะใช้ความบอบช้ำทางจิตใจของเราเองเพื่อวางตัวเองเหนือผู้อื่น เช่น “ฉันเจอมาหนักกว่าเธออีก” , “คุณไม่ได้ทนทุกข์ทรมานเหมือนที่ฉันเจอ” หรือเป็นไปเพื่อหาความชอบธรรมหรือข้อแก้ต่างให้ตนเองหลังจากที่เรากระทำบางอย่างที่ไม่ดีต่อผู้อื่น
“เพราะเราต่างแบกรับปมบาดแผลในหนทางของตนเองเสมอ ไม่มีคุณค่าใดในการนำมาเรื่องปมบาดแผลทางใจมาเปรียบเทียบกับของผู้อื่น”
สิ่งที่ไม่ใช่บาดแผล
พวกเราส่วนใหญ่เคยได้ยินบางคนหรือตัวเราเองพูดประมาณว่า "โอ้พระเจ้า หนังเรื่องเมื่อคืนนี้มันกวนใจฉันมาก”, “ฉันออกจากโรงละครด้วยความซอกช้ำสะเทือนใจมาก” หรือ ข่าวพลาดหัวเกี่ยวกับการประท้วงของกลุ่มนักศึกษา
สิ่งที่ผู้คนพูดถึงในกรณีนี้คือ ความเครียด ทางร่างกาย และ/หรือทางอารมณ์ ดังที่ Peter Levine ชี้ให้เห็นอย่างเข้าทีว่า “แน่นอนว่า เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจทั้งหมดล้วนแต่ทำให้เกิดความเครียด แต่ไม่ใช่ทุกเหตุการณ์ที่ความตึงเครียดจะกลายเป็นบาดแผลทางจิตใจ”
เหตุการณ์หนึ่งๆ ที่กระทบกระเทือนจิตใจหรือเกิดการสะเทือนอารมณ์ อาจทำให้เกิดการย้ำซ้ำเดิมของบาดแผลที่มีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งต่างๆ ในชีวิตรอบตัวเรา งานแสดงศิลปะ , การได้พบปะกับผู้คนในสังคม หรือเรื่องการเมือง อาจจะทำให้เราหงุดหงิด ลำบากใจ
หรือแม้แต่เจ็บปวดสะเทือนใจ แต่ถ้าหากสิ่งเหล่านั้นไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผลขึ้นใหม่ได้ และความตึงเครียดในปัจจุบันก็สามารถกระตุ้น กลไกปฏิกิริยาเดิมที่เราเคยมีต่อบาดแผลของอดีตได้ (ถึงแม้จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันจากเหตุการณ์ที่พบเจอ)
ตัวอย่างเช่น นักเขียนคนหนึ่งกลับมาบ้านจากงานพูดหน้าเวที (ซึ่งคงเป็นงานที่มีความเป็นทางการ คงจะสร้างความตึงเครียด) นั่นไม่เหมือนกับการถูกกระทบช้ำเดิมของบาดแผลทางใจ (retraumatized) เว้นแต่เมื่อเวลาผ่านไปมันจะทำให้เราตีบตันมากกว่าที่เคยเป็นมา
นี่คือรายการไว้ตรวจสอบถึงกระบวนการริดรอนของบาดแผลทางใจ และมันจะไม่ใช่บาดแผลเลยหากสิ่งต่อไปนี้ยังคงเกิดขึ้นได้จริงในระยะยาว:
- มันไม่ได้จำกัดคุณ : ไม่รัดตึงคุณ และคอยลดความสามารถในการรู้สึกหรือนึกคิด รวมถึงความไว้วางใจและการยืนยันตัวเอง เราคงประสบกับความทุกข์โดยไม่ยอมแพ้ต่อความสิ้นหวัง หรือเห็นความทุกข์ด้วยความเมตตา
- มันไม่ได้ขัดขวางคุณจากความเจ็บปวด : ความเศร้า และความกลัว เราคงไม่ถูกครอบงำ และไม่ต้องหลบเลี่ยงหนีไปทำงานจนเคยชิน หรือบังคับควบคุมตัวเอง ปลอบประโลมตน รวมถึง พะเนาพะนอ หรือกระตุ้นตนเองไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม
- คุณไม่ละเลยด้านใดด้านหนึ่งไป จนคุณต้องออกปากโอ้อวดตัวเอง หรือด้อยค่าตัวเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับ หรือพยายามหาข้อพิสูจน์จุดยืนของคุณ
- มันไม่ได้บั่นทอนความสามารถของคุณในการสัมผัสถึงประสบการณ์แห่งความซาบซึ้งต่อความงดงามและความมหัศจรรย์ของชีวิต
ในทางกลับกัน หากคุณตระหนักถึงข้อจำกัดที่เรื้อรังเหล่านี้ในตัวคุณเอง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวแทน “เงาของบาดแผล” ที่อยู่ในจิตใจของคุณ นั้นคือการมีอยู่ของบาดแผลทางอารมณ์ที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาให้หายดี ซึ่งไม่สำคัญว่ามันจะเป็นบาดแผลแบบใหญ่หรือเล็กน้อยก็ตาม
สรุปความโดย ญาดา เอี่ยมทอง
โฆษณา