13 ต.ค. 2023 เวลา 14:06 • ข่าว

กขป.8 ดันประเด็นความมั่นทางอาหาร สู่ฐานรากทางเศรษฐกิจ

สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.)หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ และแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน
รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2566 เสนอเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร และอาหารปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างสู่ความมั่นคงเศรษฐกิจฐานราก ในเขตสุขภาพที่ 8 @แอ่งสกลนคร
โดยมี นายณรงค์ พลละเอียด ประธาน กขป.8 ดร.ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง กขป. 8 และประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงอาหารและอาหารปลอดภัยฯ และทพ.ญ.วรางคณา อินทโลหิต ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภูและอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นความมั่นคงอาหารและอาหารปลอดภัยฯ ร่วมรายการ
นายณรงค์ พลละเอียด ประธาน กขป.8 กล่าวว่าพื้นที่รับผิดชอบของกขป.8 มี 7 จังหวัด คือ บึงกาฬ ,หนองคาย ,นครพนม ,เลย ,หนองบัวลำภู ,อุดรธานี และสกลนคร มีประชากรกว่า 5 ล้านคน ซึ่งเรียกว่าเป็นแอ่งสกลนคร กขป.8 ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลักคือ วิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม วิถีชาติพันธุ์ แบ่งปันเพิ่มสุข เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ไกลกันดาร ค่ามวลรวมทางเศรษฐกิจต่ำรายได้ประชากรต่อหัวต่ำเป็นลำดับท้ายของประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของอุปสรรคการทำงานในการสร้างเครืองข่ายให้เข้มแข็ง
นายณรงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากปีที่แล้วกขป.8 มุ่งเน้นเรื่องอาหารปลอดภัยเป็นหลัก และประเด็นสุขภาพผู้สูงอายุ ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ โรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง สุขภาวะเด็กและเยาวชน การจัดการขยะ แต่ปี2566ได้ตัดประเด็น โรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง ออกโดยให้สาธารณสุขจังหวัดเข้ามารับผิดชอบ และได้เพิ่มประเด็นพยาธิ์ใบไม้ในตับ มะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบระบาดมากในพื้นที่ภาคอีสาน เข้ามาเพิ่ม
สำหรับการทำงานที่ผ่านมานายณรงค์ ยอมรับว่าการประสานกับหน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการซึ่งหน่วยงานภาครัฐเองก็ยังเข้าไม่ถึงประชาชนเท่าที่ควร
 
ดร.ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง ระบุการทำงานเชิงบูรณาการเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เครือข่ายนำมาสู่การมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับฐานราก ยอมรับที่ผ่านมาการทำงานระบบภาคียังมีปัญหาต่างคนต่างทำตามงบประมาณของตน
ซึ่งอุปสรรคเหล่านี้ต้องใช้สร้างกลไกข้ามพื้นที่ กลไกข้ามกระทรวง
เช่น กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ภายใต้กลไกซอฟเพาวเอร์ และกลไกฮาร์ตเพาเวอร์ ซึ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามา บูรณาการนำไปสู่การขับเคลื่อนสู่สมัชชาสุขภาพภาพจังหวัด
ส่วนทพ.ญ.วรางคณา อินทโลหิต เกริ่นว่าตนทำงานกับสสส.ภาคอีสานมานานทำประเด็นเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 57 ภายใต้กุศโลบาย “ท้องนาสู่พาข้าว” ซึ่งประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาก็ประสบปัญหาเดียวกับผู้ร่วมรายการทั้งสองคน กล่าวคือการทำงานร่วมกับภาครัฐยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ
อันที่จริงผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ทำมานานแล้วแต่กลายเป็นว่าผู้ผลิตกับผู้บริโภคไม่รู้จักกัน คนผลิตไม่มีที่ขายผู้บริโภคไม่รู้แหล่งผลิต เมื่อมีกขป.เข้ามามีบทบาทในการประสานจึงทำให้สภานการณ์ดีขึ้น เสมือนรู้อะไรไม่เท่ารู้จักกัน
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดด้านอาหารปลอดภัยจังหวัดหนองบัวลำภูสู่ระยะ 20 ปี ให้เป็น “เมืองเกษตรสีเขียวคุณภาพ” (AGRI Green CITY) ตนเชื่อว่าถ้าผู้ผลิตกับผู้บริโภครู้จักกกันแล้วใช้ผลผลิตภายในจังหวัดเพียง 50 %ก็สามารถกระเตื้องเศรษฐกิจฐานรากขึ้นได้มากแล้ว
ในขณะที่ดร.ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง กล่าวเสริมว่าการจะเดินไปสู่ยุทธศาสตร์อาการปลอดภัยต้องปลดกฏระเบียบทางราชการที่เป็นปัญหาอุปสรรคออกไปก่อน
โฆษณา