19 ต.ค. 2023 เวลา 12:15 • หุ้น & เศรษฐกิจ

มีงานวิจัยน่าสนใจมาเล่าให้ฟังครับ

อันนี้มีชื่อหัวข้อว่า Did Japan's shopping coupon program increase spending? ซึ่งตีพิมพ์ใน Journal of Public Economics เมื่อปี 2010 โดย Chang-Tai Hsieh, Satoshi Shimizutani, Masahiro Hori
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อเดือนมีนาคม ปี 1999 ตอนที่ญี่ปุ่นกำลังเจอปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่ ต่อเนื่องจากภาวะฟองสบู่แตกและโดน Asian financial crisis ซ้ำเติม ก็มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการแจกคูปอง มูลค่า 20,000
เยน หรือประมาณ เกือบๆหมื่นบาท ให้กับทุกครอบครัวที่มีเด็ก และคนแก่ รวม 31 ล้านใบ หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรญี่ปุ่น
โดยกำหนดให้คูปองนี้ใช้ซื้อของได้เฉพาะในเขตพื้นที่ท้องถิ่นของผู้รับ และคูปองนี้จะหมดอายุถ้าไม่ใช้ภายในหกเดือน
เดี๋ยวๆๆๆ ทำไมมันคุ้นขนาดนี้! ทำแบบนี้ไม่ต้องใช้ blockchain เหรอครับ!!!
ไปอ่านข่าวกันได้ ไม่ได้ make up มาแน่นอน
ประเด็นที่ paper นี้อยากรู้คือการแจกเงินแบบนี้จะมีผลต่อการบริโภคเพิ่มขึ้นเท่าไร (ไม่ใช่ gdp ด้วยนะครับ) ถามว่าคนที่ได้รับคูปองไปจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากที่เขาเคยใช้ตามปกติเท่าไร
คำตอบคือ การใช้จ่ายในสินค้ากึ่งคงทนเพิ่มขึ้นในเดือนแรกที่เริ่มแจกคูปอง และแทบไม่มีผลกับการใช้จ่ายในสินค้าไม่คงทน และการใช้จ่ายในภาคบริการ และพบว่า marginal propensity to consume หรือการใช้จ่ายในสินค้ากึ่งคงทน เพิ่มขึ้นเพียง 0.1-0.2 เท่าของเงินที่ได้รับในเดือนแรกเท่านั้น และลดลงไปเป็น 0 ในเดือนถัดๆไป คือการบริโภคไม่ขึ้นเลย
Paper นี้อธิบายว่าเงื่อนไขที่ต้องใช้ในพื้นที่ หรือต้องใช้ให้หมดในหกเดือนแทบไม่ได้ทำให้คนใช้เงินเยอะขึ้นจากที่ใช้ปกติเลย เพราะจะกระทบเฉพาะคนที่ปกติแล้วใช้จ่ายในพื้นที่ตลอดระยะเวลาหกเดือนน้อยกว่าเงินที่แจก คือตกแล้วเดือนละพันกว่าบาทเท่านั้น ส่วนคนที่ปกติใช้เกินเดือนละพันกว่าบาทก็แค่เอาคูปองที่รับแจกไปใช้แทนเงินตัวเองเท่านั้นเอง
ใครสนใจไปอ่านต่อกันได้ครับ
Takatoshi Ito ก็บอกว่ารอบนั้น expenditure multiplier น่าจะไม่เกิน 0.3x เต็มที่
ที่เล่ามาเป็นประสบการณ์ญี่ปุ่นล้วนๆครับ ไม่เกี่ยวอะไรกับประเทศอื่นใดทั้งสิ้นนะครับ วันหลังจะเล่าประสบการณ์ของไต้หวันที่แจกเงินคล้ายๆกันให้ฟังอีกทีครับ
แต่อย่าลืมว่า #จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ นะครับ
โฆษณา