Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sarakadee Lite
•
ติดตาม
23 ต.ค. 2023 เวลา 06:35 • ไลฟ์สไตล์
นิทรรศการ Virtual Tour ย้อนประวัติ 120 ปี ชาตกาล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
24 ตุลาคม 2566 จะตรงกับวันครบรอบ 120 ปีชาตกาล “ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล” อีกบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การศึกษาไทยที่ได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็น “นักการศึกษาดีเด่นของโลก” ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งห้องสมุดเสียงแห่งแรกในไทย เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ และยังเป็นผู้ทำปฎิทินล้านปีในยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณ
Sarakadee Lite ชวนไปรู้จัก “ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล” ผ่านนิทรรศการ Virtual Tour แบบ 360 องศาที่จัดทำข้อมูลได้ละเอียดมาก ทั้งรูป ทั้งผลงาน ไทม์ไลน์ครบ แถมยังออกแบบห้องนิทรรศการไม่ต่างจากการเดินเข้าแกลเลอรีของจริงที่ใส่ดีไซน์จัดเต็ม ออกแบบโดย สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวัง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการถึง 4 สมัย
ผลงานสำคัญ ได้แก่ จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมสหศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย จัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) จัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในด้านนวัตกรรมทางการศึกษา ท่านได้สร้าง “ห้องสมุดเสียง” เป็นที่เก็บแถบบันทึกเสียงที่ใช้บันทึกพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท คำปราศรัยของบุคคลสำคัญ ตัวอย่างเสียงภาษาต่าง ๆ และข้อมูลเสียงอีกหลาย ๆ ประเภท ถือเป็นห้องสมุดเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่เก็บบันทึกประวัติศาสตร์ผ่านเสียง นอกจากนี้ยังได้ออกแบบและประดิษฐ์ “ปฏิทินสุริยคติระบบจูเลียนและเกรกอเรียน” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ปฏิทินล้านปี”
คลิกชมนิทรรศการ Virtual Tour แบบ 360 ได้ที่
https://bit.ly/471kr5G
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย