25 ต.ค. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

อิสราเอล เคยเกือบสิ้นชาติ เพราะเงินเฟ้อ

ประเทศอิสราเอล ต้องเผชิญกับภัยคุกคาม จากประเทศรอบข้าง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ จวบจนถึงปัจจุบัน
4
แต่ถึงอย่างนั้น หนึ่งในภัยคุกคามครั้งใหญ่ ที่อิสราเอลเคยเผชิญนั้น ไม่ได้มาจากประเทศไหน แต่มาจากปัจจัยภายในอย่างเงินเฟ้อ ที่พุ่งสูงถึง 445% ในช่วงปี 1984
1
อย่างไรก็ตาม อิสราเอล กลับสามารถปราบเงินเฟ้อที่สูงขนาดนี้ และนำประเทศกลับสู่ภาวะปกติได้ ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
5
แล้วอิสราเอล มีมาตรการอย่างไร ถึงสามารถแก้ไขวิกฤติเงินเฟ้อดังกล่าว ได้รวดเร็วขนาดนี้ ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
1
ในช่วงแรก ๆ หลังจากการก่อตั้งประเทศ อิสราเอล เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วมาก โดย GDP ของอิสราเอล ในช่วงปี 1948 จนถึงปี 1973 เติบโตเฉลี่ย สูงถึง 10% ต่อปี
เนื่องจากในตอนนั้น รัฐบาลอิสราเอล มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก เพื่อสร้างประเทศ
1
อีกทั้งการที่อิสราเอลถูกรายล้อมไปด้วยประเทศที่ไม่ได้เป็นมิตร จึงมีการลงทุนในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อย่างหนักเช่นกัน
1
บวกกับการที่ชาวยิวจากทั่วสารทิศ พากันอพยพเข้ามาอยู่ในอิสราเอล ก็ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การบริโภคที่เพิ่มขึ้น และดันให้เศรษฐกิจของอิสราเอล ยิ่งเติบโตขึ้นไปอีก
แต่เศรษฐกิจของอิสราเอล ก็ต้องสะดุดลง หลังจาก “สงครามยมคิปปูร์” ที่เกิดขึ้นในปี 1973
2
เพราะประเทศอิสราเอล ต้องเผชิญกับการ “ขาดดุลแฝด” ซึ่งก็คือ ขาดดุลทั้งในด้านการคลัง เนื่องจากใช้เงินมหาศาลไปกับการทำสงคราม
แถมยัง ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะต้องนำเข้าน้ำมันที่ราคาแพงขึ้นด้วย
โดยราคาน้ำมันในช่วงนั้นพุ่งสูงขึ้นเป็น 2 เท่า จากการที่ชาติอาหรับในกลุ่ม OPEC พากันลดกำลังการผลิต เพื่อตอบโต้ประเทศตะวันตก ที่ออกหน้าสนับสนุนอิสราเอล
สถานการณ์นี้เอง ส่งผลให้อิสราเอลต้องก่อหนี้จากต่างประเทศ เพื่ออุดรอยรั่วทางการคลัง อีกทั้งค่าเงินเชเกลของอิสราเอล ก็ยังอ่อนลงเป็นอย่างมาก
1
แต่สิ่งที่เติมเชื้อไฟ ให้เงินเฟ้อของอิสราเอลรุนแรงขึ้นไปอีกก็คือ นโยบายของรัฐที่ถูกวางไว้ว่า จะมีการปรับขึ้นเงินเดือน และเงินฝากต่าง ๆ ของชาวอิสราเอล เพื่อให้ล้อไปกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
นโยบายนี้ก็คงจะดูดี ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อค่อย ๆ สูงขึ้นทีละน้อย แต่เมื่ออัตราเงินเฟ้อพุ่งพรวดไป 30% ถึง 40% นโยบายที่จะปรับเงินเดือนขึ้นตาม ก็มีแต่จะเร่งให้เงินเฟ้อสูงขึ้นไปอีก
จนมาถึงปี 1984 สถานการณ์วิกฤติของอิสราเอล ก็ถึงคราวสุกงอม เพราะในตอนนั้น อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็มากถึง 271%
1
ความพยายามที่จะตรึงค่าเงินเชเกลไว้กับดอลลาร์สหรัฐ ก็ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศของอิสราเอล แทบจะไม่เหลือเพียงพอที่จะชำระหนี้ต่างประเทศระยะสั้นแล้ว
1
พร้อมทั้งอัตราเงินเฟ้อของอิสราเอล ยังไต่ระดับขึ้นมาถึง 445% และคาดว่าจะทะลุไปถึง 1,000% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
 
ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ประเทศอิสราเอล ก็คงถึงคราวล่มสลาย ด้วยภัยจากเศรษฐกิจ อย่างแน่นอน..
แล้วอิสราเอล กลับมาจากปากเหว ได้อย่างไร ?
รัฐบาลอิสราเอล ได้จัดทำ “แผนรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ” ขึ้นในปี 1985 เพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อในครั้งนี้ ซึ่งในแผนประกอบไปด้วย
- ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ
เพื่อลดการขาดดุลทางการคลัง และไม่ก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม รัฐบาลอิสราเอลได้ลดการใช้จ่ายของภาครัฐลง อย่างเช่น งบประมาณป้องกันประเทศ และค่าใช้จ่ายในการอุดหนุนสินค้าจำเป็น
นอกจากนี้ ยังมีการโอนรัฐวิสาหกิจบางส่วน ไปเป็นของเอกชน เพื่อที่รัฐจะได้ไม่ต้องนำเงินงบประมาณ ไปอุ้มการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น
1
- ลดค่าเงินอย่างรวดเร็ว
1
การที่อิสราเอล ตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเชเกลไว้กับดอลลาร์สหรัฐ ทำให้อันที่จริงแล้ว ค่าเงินเชเกล กำลังแข็งเกินกว่าความเป็นจริง จนทำให้สินค้าส่งออก ไม่สามารถแข่งขันได้
รัฐบาลจึงต้องลดค่าเงิน เพื่อให้อิสราเอล สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น จะได้มีเงินตราต่างประเทศ เติมเข้ามาในเงินสำรองระหว่างประเทศ พร้อมกับลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปในตัว
นอกจากนี้ อิสราเอล ยังได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม จากสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงไปอีก
- หยุดการขึ้นค่าแรง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การขึ้นค่าแรงตามเงินเฟ้อ ในช่วงเงินเฟ้อสูง คือการเหยียบคันเร่ง ให้เงินเฟ้อพุ่งทะยานขึ้นไปอีก
คุณ Shimon Peres รัฐมนตรีอิสราเอลในขณะนั้น จึงต้องเจรจากับสหภาพแรงงาน เพื่อหยุดการขึ้นค่าแรงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มไปมากกว่านี้
และโชคดีที่เขาสามารถเจรจากับทางสหภาพแรงงานได้
1
ทั้ง 3 สิ่งนี้เอง เป็นเหมือนกับเบรกที่ช่วยหยุดเงินเฟ้อ จนลดลงไปเหลือเพียงแค่ประมาณ 20% ในปี 1986 หรือแค่ 2 ปี หลังจากประสบกับวิกฤติเงินเฟ้อเท่านั้น
และทำให้อิสราเอล สามารถรอดพ้นการสิ้นชาติจากภัยเศรษฐกิจมาได้ ก่อนที่จะกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยอีกแห่งหนึ่งของโลกได้ อย่างเช่นทุกวันนี้..
1
โฆษณา