Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CPD Academy
•
ติดตาม
27 ต.ค. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
ประเด็นทางภาษี รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
นักบัญชีหลายคน คงจะเคยได้ยินกับคำว่า รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง แล้วก็มักจะมีประเด็นทางภาษีตามมาอยู่ตลอด เรียกได้ว่าเป็นประเด็นฮอตฮิตเลยก็ว่าได้ วันนี้ เราจะพามาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งกัน รับรองว่าหายงงแน่นอน
คำว่ารถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง มักจะมาพร้อมกับคำว่า “พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต” ก่อนอื่นเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับพิกัดกรมสรรพสามิตกันก่อน ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่จะช่วยระบุว่า แบบไหนคือรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
พิกัดกรมสรรพสามิตนั้น จะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่หลัก ๆ แล้วสรรพากรจะเพ่งเล็งไปที่ "06.01 และ 06.02 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่ง รถที่ราคาแพงมาก ๆ ก็มักจะเป็นรถของผู้บริหารนั่นเอง
ซึ่งรถประเภทนี้ ไม่สามารถเคลมภาษีซื้อได้ และสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี สำหรับตัวรถได้เพียงแค่ 1 ล้านบาท
ประเด็นทางภาษี
พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัว ซึ่งเป็นรถกระบะ และใช้ในงานของบริษัท สามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้บริษัทมีระเบียบการเบิกค่าน้ำมันรถของพนักงานอย่างชัดเจน มีการทำรายงานการเดินทาง และมีการอนุมัติการเบิกจ่าย
ประเภทรถ : รถยนต์กระบะ
ลักษณะรายการ : รถเป็นของพนักงาน แต่ใช้ในงานของบริษัท ซึ่งพนักงานสามารถเบิกค่าน้ำมันได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ใช้รถกระบะ และใช้ในงานของบริษัทพิสูจน์ได้ ภาษีซื้อค่าน้ำมันไม่ต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : ใช้ในงานของบริษัทสามารถพิสูจน์ได้ ภาษีนิติบุคคลค่าน้ำมันไม่ต้องห้าม
บริษัทเช่ารถยนต์ เพื่อให้พนักงาน ใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่ง และใช้เพื่อกิจการของบริษัท รถประจำตำแหน่งมีลักษณะเป็นรถเก๋ง ไม่เกิน 10 ที่นั่ง
ประเภทรถ : รถยนต์นั่ง ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
ลักษณะรายการ : รถเก๋งที่บริษัทเช่ามา ให้พนักงานใช้ ในงานของบริษัทเท่านั้น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีซื้อของค่าเช่ารถ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
ลักษณะการพิจารณา
ค่าน้ำมันรถกระบะพนักงาน มีระเบียบการเบิกจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีซื้อไม่ต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : ภาษีนิติบุคคลไม่ต้องห้าม
ค่าน้ำมันรถกระบะพนักงาน ไม่มีระเบียบการเบิกจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : รายจ่ายต้องห้าม
ค่าน้ำมันรถเก๋งพนักงาน มีระเบียบการเบิกจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : ภาษีนิติบุคคลไม่ต้องห้าม
ค่าน้ำมันรถเก๋งพนักงาน ไม่มีระเบียบการเบิกจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีนิติบุคคล : รายจ่ายต้องห้าม
สรุป
ก่อนจะไปดูว่า เรื่องภาษีต่าง ๆ อันดับแรกที่สุดเลย ต้องดูก่อนว่าค่าน้ำมันหรือว่าค่าเช่ารถนั้น ใช้จ่ายเพื่อบริษัทจริงหรือเปล่า หากใช้เป็นการส่วนตัวแล้ว ไม่ว่าภาษีซื้อหรือภาษีนิติบุคคลก็ใช้สิทธิ์ไม่ได้ทั้งนั้น
หากใช้รถดังกล่าวในงานของบริษัทแล้ว ต้องมีระเบียบการเบิกจ่ายที่ชัดเจน มีการอนุมัติจ่าย การรายงานการเดินทางที่ชัดเจน กรณีนี้ถึงจะไปดูต่อว่าใช้รถอะไร ถ้าเป็นรถเก๋ง เข้าข่ายภาษีซื้อต้องห้าม แต่ยังสามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายของภาษีนิติบุคคลได้
อ้างอิง
กฎกระทรวง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565
ข้อหารือเลขที่ กค 0811/พ.02340, กค 0811(กม.04)/02
อยากเริ่มต้นอบรมเก็บชั่วโมง CPD กับเรา ไม่รู้จะเริ่มยังไง ปรึกษาเราได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ
https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม CPD Academy ได้ที่
Website:
https://www.cpdacademy.co/
Facebook:
https://www.facebook.com/cpdacademyTH/
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย