27 ต.ค. 2023 เวลา 06:11 • สุขภาพ

คันอวัยวะเพศ สัญญาณของโรคอะไรบ้าง

คันอวัยวะเพศ คือ การระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศหญิง ทั้งด้านในและด้านนอก หรือด้านใดด้านหนึ่ง อาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย ก่อให้เกิดความรำคาญ มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เป็นแผลอักเสบจากการเกา เจ็บแสบขณะปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ ได้
สาเหตุของอาการคันอวัยวะเพศ
คันอวัยวะเพศแบบติดเชื้อ จะมีอาการคันทั้งภายใน และภายนอก
- ได้แก่ ติดเชื้อรา
- ติดเชื้อแบคทีเรีย
- ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
คันอวัยวะเพศแบบไม่ติดเชื้อ มักจะมีอาการคันภายนอก ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต
- เช่น การโกนขนบริเวณอวัยวะเพศ
- เครียด
- ใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่รัดเกินไป
- การระคายเคืองจากผ้าอนามัย
คันอวัยวะเพศจากโรค
- เช่น มะเร็งปากช่องคลอด
- สะเก็ดเงิน
- ผิวหนังอักเสบ
ยารักษาอาการคันอวัยวะเพศ
- ยารับประทาน เช่น ยาในกลุ่มเมโทรนิดาโซล และคลินดามัยซิน ใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ยาฟลูโคนา ใช้รักษาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อรา
- ยาทาภายนอก ยาโคลไตรมาโซล ไมโคนาโซล ไทโอโคนาโซล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการคันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อรา
- ยาเหน็บช่องคลอด เมื่อตัวยาละลายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ออกฤทธิ์บริเวณช่องคลอดโดยตรง เช่น ยาโคลไตรมาโซล
ทำอย่างไรเมื่อมีอาการคันอวัยวะเพศ
- พบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจน เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้อง
- ล้างมือให้สะอาดก่อนใช้ยาเหน็บช่องคลอด
- ไม่ควรสวนล้างภายในอวัยวะเพศ ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกด้วยน้ำเปล่าแล้วซับให้แห้ง
- ไม่เกาบริเวณที่มีอาการคัน
- เลือกใช้กางเกงชั้นใน สวมใส่สบาย และทำความสะอาดเป็นประจำด้วยผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำหอม
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะเป็นปกติ
การป้องกันอาการคันอวัยวะเพศ
- ไม่ใส่กางเกง หรือกางเกงชั้นในที่รัดรูปจนเกินไป ควรเลือกวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น
- ควรเล็มขนบริเวณอวัยวะเพศ แทนการโกน หรือแว็กซ์
- ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลัง
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
- ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยครั้งล่ะ 4 ชั่วโมง เมื่อเป็นประจำเดือน
- ก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสะอาด
- หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน
อาการคันอวัยวะเพศสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และเป็นอาการที่สามารถบ่งบอกถึงโรคต่างๆ ดังนั้น ไม่ควรซื้อยามาใช้รักษาด้วยตนเอง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร การรักษาที่ถูกต้อง
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา