29 ต.ค. 2023 เวลา 15:23 • ความคิดเห็น

การคิดเชิงวิพากษ์

ถ้าผู้อ่านท่านใดไม่ได้อยู่ในวงการวิชาการ คุณน่าจะรู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์มากกว่าเพราะคุณเองน่าจะได้ใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงานหรือแม้กระทั่งได้พูดคุยกับชาวบ้าน เพราะการคิดเชิงวิเคราะห์มั0tช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ เช่น วางแผนทางการเงินที่เราจะต้องรู้ว่าเพราะอะไร เงินเดือนหมดเร็วเกิน การคิดเชิงวิเคราะห์จะเข้ามาช่วยอธิบายว่า อ๋อก็เราคุมรายจ่ายไม่ได้ จึงต้องมานั่งทำรายรัยร่ายจ่ายทุกวันทุกเดือน
2
ส่วนความคิดเชิงวิพากษ์ แถวบ้านผมเรียกว่านักเถียง ซึ่งสามารจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เถียงไว้ก่อนมักใช้อคติแล้วจบที่หงุดหงิดใส่ถ้าเถียงไม่ชนะ ส่วนอีกกลุ่มเถียงอย่างมีเหตุผลและมีข้อมูลสนับสนุน ส่วนใหญ่จะพบตามบทความหรือความเห็นทางวิชาการ ยกตัวอย่าง บทความวิจัยผมเรื่องภาษีปราบโกง ผมก็เถียงว่า รัฐไม่ต้องเสียเวลาเพิ่มโทษอาญาหรอก ต่อให้ประหาร หรือติดคุกตลอดชีวิตการทุจริตก็ไม่ลด ตราบเท่าที่ต้นทุนการทุจริตยังคงอยู่ต่ำกว่าการแสวงหาประโยชน์โดยชอบ ภาษีเท่านั้นจะทำให้ต้นทุนการทุจริตสูง
1
ไม่เชื่อรัฐลองสิ ง่าย ๆ โทษปรับอาญา 200,000 สินบน 2 ล้าน ก็แค่เอา เงิน 2 แสนจาก 2 ล้าน เหลือ 1 ล้านแปดแสน เอาไปฝากธนาคาร ติดคุกสัก 10-20 ปีออกมา ต้นเงินบวกดอกเบี้ยยังไงก็คุ้ม แล้วก็กลับมาทุจริตใหม่ ง่ายจะตาย
2
ผมเลยเสนอว่า ให้นำภาษีไปประเมิน 2 ล้านหลังศาลบอกผิด เขาต้องจ่ายทั้งค่าปรับทางอาญาและภาษี ผมเลยตั้งคำถามว่า
ขนาดรายได้สุจริตยังต้องเสียภาษี แล้วรายได้ทุจริตไม่เห็นเสีย
ผมเอง
2
ผมก็เถียงโดยมีเหตุผลทางวิชาการประกอบหลักทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรม และงานวิจัยของนักวิชาฮ่องกง และ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ณ มหาลัยแห่งหนึ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผมไม่ได้เถียงเอามัน แต่ผมเถียงิอย่างมีเหตุพร้อมบอกเป็นนัยยะว่า รัฐใหไม่ต้องเสียเวลาคิดกลไกตรวจสอบ-แก้ไขการทุจริต เพียงนำมาตรการที่มีอยู่ (ภาษี) มาใช้พอแล้ว เปลืองงบ
3
โฆษณา