31 ต.ค. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ

สรุป 6 สิ่งที่นักบัญชีควรรู้เกี่ยวกับ TFRS for NPAEs

1. มาตรฐานการบัญชี กับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต่างกันอย่างไร?
เริ่มต้นทำความเข้าใจจากมาตรฐานสากลกันก่อนค่ะ เดิมทีเรามีมาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS และเมื่อเวลาผ่านไปมาตรฐาน IAS จะถูกแทนที่ด้วย IFRS
IAS = International Accounting Standards
IFRS = International Financial Reporting Standards
ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง IAS และ IFRS ก็คือ IAS เป็นมาตรฐานการบัญชีเวอร์ชันก่อนหน้า ในขณะที่ IFRS เป็นเวอร์ชันที่ทันสมัยกว่าและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก IFRS ให้ข้อกำหนดที่มีรายละเอียดมากขึ้นสำหรับการรายงานทางการเงิน และครอบคลุมประเด็นทางบัญชีในวงกว้างมากกว่า IAS
ดังนั้น สำหรับประเทศไทยเอง ที่เคยใช้ TAS (มาตรฐานการบัญชี) ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนมาใช้ TFRS (มาตรฐานรายงานทางการเงิน) ที่มีความคลอบคลุมสำหรับรายงานทางการเงินมากกว่าค่ะ
แม้ว่า 2 มาตรฐานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างที่อธิบายไป แต่ส่วนใหญ่แล้วนักบัญชีก็มักเรียกกันติดปากว่า มาตรฐานการบัญชี (เพราะไม่ชอบเรียกยาวๆ ว่ามาตรฐานรายงานทางการเงินนั่นเอง)
2. หามาตรฐาน NPAEs ชุดจริงอ่านได้ที่ไหน?
มาตรฐาน TFRS for NPAEs ฉบับปี 2565 ที่เผยแพร่และมีผลบังคับใช้ตามราชกิจจานุเบกษานั้นสามารถไปกดอ่าน และดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซด์ของสภาวิชาชีพบัญชี หรือไปที่ลิงก์นี้เลย https://shorturl.asia/9Ivg7
วิธีสังเกตว่ามาตรฐานที่เราดาวน์โหลดมาเป็นชุดประกาศใช้จริงแล้ว ไม่ใช่ชุดร่าง หรืออยู่ระหว่างการพิจารณานั้น สังเกตที่หน้าแรกของมาตรฐานเลยค่ะ จะมีวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างชัดเจน
3. TFRS for NPAES มีตั้ง 28 บท ควรเริ่มโฟกัสเรื่องใดก่อน?
สำหรับคนที่ไม่มีเวลา ต้องใช้มาตรฐาน TFRS for NPAEs แล้ว ถ้าจะให้อ่านมาตรฐานทั้งหมด 28 บทก็คงจะไม่ทันการ เรามีเทคนิคส่วนตัวที่อยากแนะนำอย่างงี้ค่ะ ว่าลองเช็กว่ากิจการที่เรากำลังทำบัญชีนั้นมีรายการค้าเกี่ยวข้องกับบทไหนบ้าง แล้วลองไปเจาะลึกศึกษาในบทนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของเราค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป น่าจะมีรายการค้าเกี่ยวข้องกับบทเฉพาะเจาะจงดังต่อไปนี้
บท 6 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
บท 7 ลูกหนี้
บท 8 สินค้า
บท 15 ภาษีเงินได้
บท 16 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
บท 18 รายได้
ส่วนบทที่ทุกธุรกิจควรมีความรู้เป็นพื้นฐาน ได้แก่
บท 1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
บท 2 ขอบเขต
บท 3 กรอบแนวคิด
บท 4 การนำเสนองบการเงิน
บท 5 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี
และข้อผิดพลาด
4. TFRS for NPAEs อัปเดตปี 2566 ใครได้รับผลกระทบบ้าง?
สำหรับผลกระทบของการอัปเดต TFRS for NPAEs สรุปสั้นๆ ก็คือว่า แบ่งออกเป็น 3 พวกค่ะ
1.ไม่ได้รับผลกระทบ – เป็นส่วนใหญ่
2.มีผลกระทบเฉพาะกลุ่ม – เฉพาะธุรกิจที่มีธุรกรรมใน 6 บทใหม่
3. มีผลกระทบแน่นอน – น้อยมาก
แต่ในรายละเอียดเราแนะนำอ่านเพิ่มเติมได้ที่เลย: https://shorturl.asia/m8wlQ
5. ถ้าอ่านมาตรฐานไม่เข้าใจ ทำยังไงดี?
ไม่ต้องกังวลใจ สำหรับคนที่อ่านมาตรฐานแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สภาวิชาชีพบัญชี เพราะว่าเค้ามีทั้งตัวอย่างประกอบ สรุปความแตกต่าง รวมไปถึงคลิปให้พวกเราเข้าไปเรียนรู้มากมายเลยค่ะ
6. สรุปแล้ว รู้ TFRS for NPAEs มีประโยชน์ยังไงกับนักบัญชี?
มาตรฐานการบัญชี NPAEs หรือชื่อเป็นทางการที่เราเรียกกันว่ามาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ แม้ว่าชื่อจะยาว และดูซับซ้อนเหลือเกินสำหรับนักบัญชีและเจ้าของธุรกิจ
แต่ถ้าลองอ่านดูดีๆ แล้วมาตรฐานชุดนี้มีประโยชน์มากๆ เพราะ
1. ทำให้นักบัญชีมีหลักคิดในการทำงาน
2. มีประโยชน์สำหรับการสมัครงาน เพราะนี่คือ พื้นฐานความรู้ด้านบัญชีการเงินที่สำคัญมากๆ
3. กิจการส่วนใหญ่ใช้มาตรฐานชุดนี้ เรียกได้ว่ามากกว่า 80% ในประเทศไทยเลยล่ะ
ดังนั้น การศึกษามาตรฐาน TFRS for NPAEs สรุปแล้วมีแต่ข้อดี และมีประโยชน์สำหรับคนทำงานในวิชาชีพบัญชีแน่นอนค่ะ
และสำหรับใครที่อ่านเองไม่เข้าใจ ใช้เวลานานเหลือเกิน แนะนำคอร์สอบรมนี้ไว้ในอ้อมใจด้วยนะคะ: คอร์สอบรม: สรุปประเด็นสำคัญ TFRS for NPAEs (เริ่มใช้ 2566)
อยากเริ่มต้นอบรมเก็บชั่วโมง CPD กับเรา ไม่รู้จะเริ่มยังไง ปรึกษาเราได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม CPD Academy ได้ที่
โฆษณา