30 ต.ค. 2023 เวลา 10:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Efficient Market Hypothesis : บางครั้งตลาดก็ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นโอกาสในการทำกำไร

เริ่มต้นด้วยการพูดถึง Efficient Market Hypothesis ซึ่งต่อไปจะใช้เป็นตัวย่อ (EMH) แสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นสะท้อนถึงข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น
สมมติว่าโบรกเกอร์เห็นแนวโน้มหุ้น A เป็นขาขึ้นจึงสรุปว่าหุ้น A ในสัปดาห์หน้าราคาจะขึ้นจึงตัดสินใจซื้อหุ้น A วันนี้เพื่อสัปดาห์หน้าจะได้ขายทำกำไร ดังนั้นในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นจะไม่ขึ้นเพราะตามที่คาดหวังไว้เพราะ ราคาหุ้นในวันนี้ได้ผนวกราคาหุ้นในสัปดาห์หน้าเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
สิ่งนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกับแนวคิดที่ว่าการเคลื่อนที่แบบ บราวเนียน Brownian Motion สะท้อนการเคลื่อนที่แบบสุ่มของโมเลกุลที่ชนกับอนุภาค
https://simple.wikipedia.org/wiki/Brownian_motion
ความเป็นมาของสมมติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพผู้ที่ที่นำเสนอแนวคิดนี้คือ นักเศรษฐศาสตร์คณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน จอห์น มูธ John Muth 1930-2005 แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยเอกสารสู่สาธารณะมากนัก ต่อมานักเศรษฐศาสตร์นาม ยูจีน ฟามา Eugene Fama 1939 นำมาต่อยอดโดยเรียกชื่อว่าสมมติฐานตลาดมีประสิทธิภาพ (EMH)
EUGENE F. FAMA, MBA '64, PHD '64
ตามสมมติฐานกล่าวว่า ราคาทุกอย่างในตลาดการเงินสะท้อนข้อมูลทั้งหมดที่คนเข้าถึงได้อยู่แล้ว เมื่อข้อมูลทุกอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับราคาหุ้นแล้ว นักลงทุนทุกคนก็ได้ใช้โอกาสจากการทำกำไรไปจนหมดแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง เพราะความหมายก็คือคุณไม่สามารถที่จะคาดคะเนความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดจากปัจจัยแบบสุ่มที่ไม่อาจคาดเดาได้
มีผู้เล่นจำนวนมากในตลาดและพวกเขาสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้เหมือนๆ กันพวกเขาเฉลียวฉลาด,ไม่มีอคติ, มีความมุ่งมั่น และขยัน ความพยายามโดยรวมของผู้เล่นเหล่านี้ ได้ทำให้ข้อมูลถูกสะท้อนอยู่ในราคาตลาดของสินทรัพย์แต่ละประเภทอย่างเต็มที่ทันที
ราคาตลาดจะสะท้อนการประมาณการมูลค่าที่เหมาะสมของสินทรัพย์อย่างถูกต้อง และไม่มีผู้เล่นคนไหนสามารถแสวงหากำไรจากราคาที่ผิดพลาดได้อย่างต่อเนื่อง
จะเห็นได้ว่าตามสมมติฐาน เราไม่สามารถเอาชนะตลาดได้เลย
Howard Marks
แต่ในสมมติฐานก็ยังมีข้อผิดพลาดที่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง
นักเศรษฐศาสตร์มักจะกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆคงที่เพื่อที่จะเข้าใจการเคลื่อนที่ของโมเดลเช่น กำหนดให้ปัจจัยที่กำลังศึกษาเป็นปัจจัยผันแปรตาม
แต่ในความเป็นจริงนั้นมนุษย์ไม่ใช้เครื่องจักรที่ไม่มีความรู้สึก มนุษย์ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนด้วยความโลภ ความกลัว และอารมณ์อื่นๆ การไร้ซึ่งความอคิจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ถ้าข้อสมมติฐานข้อใดมีความอ่อนแอ ตลาดจะมีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์หรือไม่?
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ (Hamburgur Crisis)
เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกที่เกิดจากการล่มสลายของตลาดที่อยู่อาศัยและการล่มสลายของระบบการเงิน เหตุการณ์นี้ท้าทายแนวคิดเรื่องประสิทธิภาพของตลาด เนื่องจากสถาบันการเงินหลายแห่งมีส่วนร่วมในการให้กู้ยืมและส่งผลให้เกิดความเสี่ยงซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงราคาหุ้นอย่างเต็มที่
ดังนั้น ตลาดใช่ว่าจะมีมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และบางครั้งก็ไม่มีประสิทธิภาพ
ในช่วงที่ตลาดมีประสิทธิภาพ การทำกำไรให้ชนะตลาด หรือได้รับความเสียหายจากหุ้นราคาตกน้อยกว่าตลาดในช่วงนี้จึงเป็นไปไม่ได้หรือพูดง่ายๆก็คือ คุณก็คือค่าเฉลี่ยของตลาด
แต่ในช่วงที่ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ จุดนี้มักจะเป็นโอกาสแต่ใช่ว่าเป็นโอกาสเสมอไปเพราะ ช่วงนี้ราคาหุ้นอาจจะแพงมากจนเกินไปเพราะความบ้าคลั่งของฝูงชน
Reference : Kishtainy, N. (2560). A Little History of Economics. Publisher. Marks, H. (2013). The Most Important Thing Illuminated. Publisher.
โฆษณา