31 ต.ค. 2023 เวลา 09:47 • สุขภาพ
Caregiver ที่ไม่จำเป็นต้องจ้างก็มีนะคะ เป็นพวกอสม. ที่สปสช. เขามีค่าจ้างให้เล็กๆน้อย แค่ให้ออกตรวจเยี่ยมผู้เถ้าผู้แก่ในชุมชนที่ต้องการการพึ่งพา อาทิเช่น อาบน้ำแต่งตัว จับพลิกตะแคง วัดความดัน ตรวจเบาหวาน แนะนำสมาชิกเรื่องอาหารการกินสำหรับผู้สูงอายุ พูดคุยสนทนาความเป็นอยู่ทั่วๆไป แต่ครอบครัวเราอยู่ในตัวเมือง และพอจะ afford ในการดูแลคุณแม่ได้ หากไม่จำเป็นก็ไม่อยากให้คนภายนอกพลุกพล่านค่ะ แต่พวกอสม.ก็ต้องการทำหน้าที่ตามที่ท้องถิ่นกำหนด เพื่อนำส่งรายงานเพื่อให้ได้เงินเล็กๆน้อยๆนั่นแหละค่ะ
Caregiver ในความหมายไทยแท้ ก็คือ ผู้ดูแลที่ไม่ได้จบพยาบาลหรือแม้แต่ผู้ช่วย แต่ว่าเคยมีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุ เดิมเราประกาศหาเองตรงๆ กำหนดเงินเดือน 15,000 หยุดทุกวันอาทิตย์ หรือจะเลือกหยุดควบก็ได้ แต่หากลาหยุดนอกเหนือ เราจะหักเงินตามจำนวนวันที่ขอหยุดค่ะ ต่อมาก็มีปัญหาลาออกบ่อยๆ เพราะคุณแม่เรามีภาวะอารมณ์เกรี้ยวกราด เราจึงแก้ปัญหาโดยกำหนดว่าหากทำงานครบ 2 ปี เราจะเพิ่มเงินเดือนให้เป็น 18,000 บาท และจะมีเงินขวัญถุงพิเศษให้ตอนตรุษจีน แต่ก็ยังเอาไม่อยู่ เด็กไม่ไหวก็มักจะขอลาออก
ต่อมาเราตัดสินใจจ้างผ่านศูนย์ เรทอยู่ที่ประมาณ 22,000 - 25,000 บาท ข้อดีของการจ้างผ่านศูนย์ คือหากเด็กลา หรือไม่ไหวออกจากงานกระทันหัน ศูนย์ก็จะต้องรับผิดชอบ รีบส่งคนมาทดแทนในวันดังกล่าว ตามสัญญาเหมางานค่ะ ไมใช่สัญญาจ้างแรงงานนะคะ ซึ่งหากเกิดปัญหา เราสามารถไล่เบี้ยความรับผิดชอบเอากับเจ้าของศูนย์ เพราะศูนย์จะได้ค่าหัวคิวทั้งจากเรา และจากเด็กที่อยากได้งานค่ะ
ปัญหาที่เราเจอบ่อยคือ
เด็กส่วนมากอยากดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง
แล้วก็อยากจะไปเช้าเย็นกลับ ไม่อยากได้งานที่ต้องนอนเฝ้า
เพราะดูแลง่ายกว่า มีเวลานั่งเล่นมือถือ คุยไลน์กับแฟน
แต่คุณแม่เรานั่งวีลแชร์ แล้วแถมคุณนายไม่หลับไม่นอน
....................
แต่ที่เราโมโหสุด คือถ่ายภาพในห้องนอนคุณแม่เรา
เพื่อจะโพสต์ลงเฟซอวดเพื่อนๆ แล้วถ่ายติดคุณแม่เราด้วย
(มีลูกจ้างอีกคนเห็นในเฟซแล้วมาฟ้องเรา)
ให้อย่างไรก็ต้องคอยระวังเรื่องพฤติกรรม
นอกลู่นอกทางด้วยน่ะค่ะ (กลัวเป็นสายให้โจร!)
โฆษณา