3 พ.ย. 2023 เวลา 05:45 • ไลฟ์สไตล์

5 วิธี ไม่กล้า "ปฏิเสธคนยืนเงิน" ทำยังไงดี?

ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเจอปัญหาเดียวกันเวลาที่มีคนโทรมาขอยืมเงิน เราก็มักจะอึดอัดใจเพราะที่เรามีอยู่ก็ตึงมือเราอยู่แล้ว แต่จะไม่ให้ก็กลัวจะโดนตัดเพื่อน ตัดญาติ ผมถือว่าเรื่องของการยืนเงินควรเป็นปัญหาระดับชาติเลยนะ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าคนในสังคมเรามีความเปาะบางในเรื่องของการเงินขนาดไหน วันนี้ผมจะมาบอกจากประสบการณ์ว่าผมเอาตัวรอดจากสถานการณ์อึดอัดใจนี้ยังไง แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับ ถ้าจะเอาวิธีที่ผมกำลังจะบอก เพื่อน ๆ ต้องใจแข็งพอ ครั้งแรกมันยากเสมอครับ แต่หลังจากนั้น สบาย ๆ ชิว ๆ เลยละ
1. วิธี "เอ่อ ๆ ๆ ก็ได้ ๆ ๆ แต่เท่านี้นะ"
วิธีนี้คือวิธีของคนใจอ่อนนะครับ ส่วนตัวผมเคยใช้ และ ใช้ดีด้วย นั้นคือ เอ่อให้ยืมได้แต่เราต้องลิมิตเลยว่าเราช่วยเขาได้เท่านี้จริง ๆ และที่สำคัญระบุเวลาคืนเงินให้ชัดเจน เช่น
”ได้นะแกร แต่ช่วงนี้เราก็ตึงมือเหมือนกันเอาไป......บาท ก่อนนะ แล้วค่อยมาคืนตามที่เราคุยกันเอาไว้”
เหตุผลที่ต้องบอกว่าเราก็ลำบากเหมือนกันเพื่อให้เขารู้ว่าเราก็มีไม่เยอะแต่ก็ยังเต็มใจช่วย จะใช้วิธีนี้ต้องลองชั่งน้ำหนักดี ๆ นะครับ ถ้าคิดว่าใช้วิธีนี้แล้วทำให้ตัวเองลำบาก ผมว่าเราไปที่ข้อต่อไปดีกว่า
2. วิธี "อ้าวว...คืนของเก่าก่อนไหม?"
วิธีนี้เริ่มจะเด็ดขาดมากขึ้นและจะเด็ดขาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ในข้อต่อ ๆ ไปครับ เพราะถ้าเจอคนที่มายืมเงินเราเป็นคนเก่าแล้วยังไม่ได้คืนของเก่า ให้ถามไปตรง ๆ เลยว่าของเก่าตะคืนให้ตอนไหน? ถ้าเพื่อนบอกจะคืนให้พร้อมกัน ถ้าเพื่อนกับเราสนิทกันลองเชื่อใจให้อีกครั้ง และถ้ายังเป็นเหมือนเดิม ตัดเพื่อนได้เลยครับ เพราะเขายังไม่เห็นความสำคัญของสัญญาที่มีให้กับเราเลย แสดงว่าเพื่อนคนนั้นก็ไม่ได้แคร์ความรู้สึกเราเท่าไหร่หรอก
หนี้เก่าไม่คืนหนี้ใหม่ทับถม
3. วิธี “ยืมได้แต่ขอค่าขนมหน่อยละกันน๊า~”
วิธีนี้ผมชอบสุดครับ เพราะผมสามารถทำมันเป็นรายได้เสริมอีกทางได้ แต่อาจจะได้ไม่เยอะหรอกครับ เดือนละ 400-1,000 ผมก็พอใจแล้ว แต่สำหรับวิธีนี้ต้องคุยกันเป็นเรื่องเป็นราวว่า จะให้ยืมเท่าไหร่? คืนวันไหน? ดอกเท่าไหร่? โดยปกติผมจะไม่ได้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรอกครับ เช่น
“ได้เว้ย! ให้ยืม 1,000 ได้ แต่ตอนคืนขอค่าน้ำชงน้ำชาหน่อยละกันสักร้อยนึง ตอนคืนก็คืน 1,100 ละกัน”
ถึงจุดนี้ถ้าคนที่มีความมั่นใจว่าหามาคืนได้แน่ ๆ ก็จะยอมครับ แต่คนที่ตั้งใจไม่คืนก็มีครับ และบทลงโทษของผมคือ เลิกคบ! ครับ และผมทำจริงถ้าเพื่อนคนนั้นมาบอกว่ากะอีแค่เงิน 1,000 ถึงขั้นตัดเพื่อนเลยหรอ ตอบแบบนิ่ง ๆ หน้าหล่อ ๆ ไปว่า “พันนึงอะเราให้ได้ แต่ความไว้ใจเราให้เพื่อนอย่างเธอไม่ได้แล้ว” แหม่เท่จริง ๆ เลยเรา
4. วิธี “พูดทำว่า "ไม่" ให้ชินปาก”
สำหรับใครที่ไม่อยากมีปัญหา ในชีวิตนี้ชั้นจะไม่ให้ใครยืมแน่นอน ต้องลองวิธีการนี้ครับ “ไม่ให้ยืม” ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่แรงแต่มันเด็ดขาดและเราก็ไม่ต้องมาผิดใจภายหลัง
แต่ ๆ ๆ ถ้ากลัวว่าจะรุนแรงไปด้วยเหตุผลความเป็นเพื่อนกันมานาน ลองพูด “ไม่ให้ยืม” ตามด้วย “ถ้าช่วยเหลือเรื่องอื่นเราพอช่วยได้นะ แต่เรื่องนี้ไม่ได้จริง ๆ เพราะต้องถาม…..(อ้างคนที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเราเข้าไป)…..ก่อนอะ” เป็นอันใช้ได้
และถ้าใครที่ชีวิตนี้ไม่เคยพูดคำว่า “ไม่” เลย ต้องเริ่มได้แล้วครับ แนะนำให้พูดหน้ากระจกเป็นประจำ จะได้ชินเวลาที่เราพูดคำว่า “ไม่” ออกไป วิธีนี้ช่วยได้แน่นอน
ปิดหูปิดตาแล้วพูดว่า "ไม่"
5. วิธี “ตีเนียนว่าจะมาขอยืมเหมือนกัน ฮิ..ฮิ..”
เป็นวิธีที่ผมใช้บ่อยพอ ๆ กัน เวลาที่มีความรู้สึกว่า พอแล้ว! ยืมเงินกันพอแล้ว! หรือถ้าใครจะใช้เป็นประโยคป้องกันตัวเองก็ได้นะครับ นั้นคือการชิงยืมเงินก่อนที่เขาจะมายืม ผมเคยใช้วิธีนี้ตอนที่ญาติคนนึง มาขอยืมเงิน ผมจึงบอกเขาติดตลกไปว่า "ฟังหลานดี ๆ นะ หลานก็หิวข้าว นี่ก็ว่าจะมาขอยืมน้าพอดีเหมือนกันเลย งั้นเอางี้เราสองคนลองไปยืมป้ากันไหม?"
การยืมเงินถึงแม้ว่าจะมีทั้งเรื่องดีและไม่ดี มันอยู่ที่เราพิจารณาให้รอบด้านก่อนที่จะให้ใครยืมเงิน เรื่องการยืมเงินผมถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ เรื่องนี้มันอยู่ที่ตัวเราจริง ๆ ว่าตัวเราเองบริหารเงินเป็นยังไง ทำไมถึงต้องหยิบยืมเงินของคนอื่น ถ้าใครกำลังตกที่นั่งลำบากจนต้องไปยืมเงินคนอื่นลองคิดดูดี ๆ นะครับ เพราะราคาที่คุณต้องจ่ายออกไป มันไม่ได้มีเพียงตัวเงินเท่านั้น
สำหรับใครที่สงสัยว่าการยืมเงินมีเรื่องดีด้วยหรอ? ผมยืนยันว่ามีครับ ผมเคยให้เพื่อนคนนึงยืมไปเปิดร้านกาแฟ สรุปตอนนี้ผมได้สิทธิ์กินกาแฟเขาฟรี ๆ ด้วยในบางครั้ง เพราะถ้าเรายืมเงินไปสร้างประโยชน์อันนี้ผมให้ยืมแต่ถ้ายืมเพราะซื้อของไร้สาระจนเงินหมดอันนี้ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
ภาพปกบทความ โดย Mohamed Hassan จาก Pixabay
ภาพ1 โดย Ulrike Mai จาก Pixabay
ภาพ 2 โดย Alexa จาก Pixabay
โฆษณา