4 พ.ย. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ประเทศไทย กำลังเจอปัญหา ขึ้นราคาน้ำตาลไม่ได้

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกาศออกมาว่า จะขึ้นราคาน้ำตาลหน้าโรงงาน จากกิโลกรัมละ 19 บาท เป็น 24 บาท
3
หลังจากนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ออกมากำหนดให้ราคาขายน้ำตาลหน้าโรงงาน ยังคงเป็นกิโลกรัมละ 19 บาทเหมือนเดิม
4
แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำตาลในตลาดโลก
แพงสุดในรอบ 11 ปี แต่ราคาน้ำตาลในไทย
ก็ยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาตามตลาดโลก
เกิดอะไรขึ้นกับตลาดน้ำตาลทั่วโลก
แล้วทำไม ไทยถึงขึ้นราคาน้ำตาลได้ยาก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
น้ำตาล นับเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ชา กาแฟ ขนมปัง นม ไปจนถึงอาหารต่าง ๆ
ที่ต้องใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
โดยมีผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของโลก ได้แก่
- บราซิล ครองส่วนแบ่งตลาด 23%
- อินเดีย ครองส่วนแบ่งตลาด 19%
1
จะเห็นได้ว่า บราซิลและอินเดีย ครองส่วนแบ่งมากถึง 42% ของตลาดส่งออกน้ำตาลจากอ้อยทั่วโลก
จึงมีอำนาจควบคุมราคาน้ำตาลโลกสูงมาก
2
ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา 2 ประเทศนี้ เผชิญปัญหาภัยแล้ง และฝนไม่ตกตามฤดูกาล ส่งผลกระทบต่อการผลิตอ้อยโดยตรง เพราะเป็นพืชที่ใช้น้ำค่อนข้างมาก
พอเป็นแบบนี้ ผลผลิตน้ำตาลสู่ตลาดโลกจึงน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น อินเดียยังจำกัดการส่งออกน้ำตาล เพื่อควบคุมราคาน้ำตาลในประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น จึงทำให้ “เอทานอล” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ใช้ผสมในน้ำมัน ได้รับผลกระทบไปด้วย
1
โดยเอทานอล ผลิตมาจากอ้อยได้เช่นกัน ผู้ผลิตน้ำตาลบางส่วน จึงหันไปผลิตเอทานอลแทน ทำให้น้ำตาลถูกส่งออกสู่ตลาดโลกน้อยลงนั่นเอง
ในขณะเดียวกัน การที่จีนเปิดประเทศ ทำให้ความต้องการน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะจีนเป็นหนึ่งในผู้นำเข้าน้ำตาลเป็นหลัก
เมื่อความต้องการบริโภคน้ำตาลสูงขึ้นทั่วโลก ในขณะที่ผลผลิตน้ำตาลออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาน้ำตาลทั่วโลกก็ปรับตัวสูงขึ้น เป็นไปตามกลไกตลาด
จนกระทั่งสูงสุดในรอบ 11 ปีเลยทีเดียว..
กลับมาที่ประเทศไทย เราเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 5 ของโลก โดยในปีที่ผ่านมา มีการส่งออกน้ำตาลมากถึง 108,081 ล้านบาท
1
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตน้ำตาลของไทย ส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 61% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด
โดยที่เหลืออีก 39% ถูกใช้ภายในประเทศ
หากไปดูสถิติการส่งออกน้ำตาล ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า
- ปี 2563 มูลค่าการส่งออก 55,879 ล้านบาท
ปริมาณการส่งออก 5.5 ล้านตัน
- ปี 2564 มูลค่าการส่งออก 49,720 ล้านบาท
ปริมาณการส่งออก 3.7 ล้านตัน
- ปี 2565 มูลค่าการส่งออก 108,081 ล้านบาท
ปริมาณการส่งออก 6.6 ล้านตัน
- 9 เดือนแรกของปี 2566 มูลค่าการส่งออก 102,912 ล้านบาท
ปริมาณการส่งออก 5.8 ล้านตัน
จะเห็นได้ว่า ไทยมีการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุผลหลัก มาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
1
แต่หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกแพงขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำตาลในประเทศไทยยังเท่าเดิม ก็อาจทำให้น้ำตาลในไทย ถูกส่งออกไปยังต่างประเทศมากขึ้น
2
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ปรับขึ้นราคาน้ำตาลในประเทศ เพื่อไม่ให้แตกต่างจากราคาส่งออกมากเกินไป
และปัญหาก็อยู่ตรงนี้ เพราะน้ำตาลกว่า 39% ของน้ำตาลที่ผลิตได้ทั้งหมด ถูกใช้ไปกับ
1
- ภาคครัวเรือน 58%
- ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 42%
1
อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ว่านี้ ก็เช่น น้ำอัดลม นม ชา กาแฟ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ อาหารและเครื่องดื่มในไทย ที่ใช้น้ำตาลนั่นเอง
1
พอเป็นแบบนี้ การขึ้นราคาน้ำตาล จึงอาจส่งผลกระทบกับหลายอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และท้ายที่สุดแล้ว ก็เป็นผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ที่ต้องจ่ายแพงขึ้นด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น หากราคาสินค้าภายในประเทศแพงขึ้น
ก็อาจทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอีกทอดหนึ่งแทน
สรุปแล้ว ปัญหาราคาน้ำตาลในตลาดโลกแพง เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย
เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกรายใหญ่อย่างอินเดียและบราซิล
และกลายเป็นกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามาควบคุมราคา รวมไปถึงการส่งออกน้ำตาล เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับราคาน้ำตาลในประเทศมากนัก
เรื่องนี้ต้องติดตามต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ โรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อย อาจเสียประโยชน์จากราคาน้ำตาลที่แพงขึ้นในรอบ 11 ปีแทน แต่กลับขายได้ ในราคาเท่าเดิม..
3
References
-สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2565
-สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2565
โฆษณา