10 พ.ย. 2023 เวลา 11:00 • ธุรกิจ

Binod Chaudhary เศรษฐีหมื่นล้านของเนปาล สร้างตัวจนร่ำรวยด้วย "ไวไว" จากไทยเมื่อ 39 ปีก่อน

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นับเป็นอาหารที่ถูกปากถูกใจผู้คนทั่วโลกไม่น้อย เพราะด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศที่ผลิตขึ้นมาให้ถูกจริตลิ้นและมีราคาแสนถูกที่เพียงพอจะทำให้อิ่มท้องได้ในหนึ่งมื้อ
สำหรับประเทศไทยนั้นมีแบรนด์บะมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ที่ติดตลาดที่สุกก็เห็นจะมี 3 แบรนด์ได้แก่ “มาม่า” ผลิตโดย บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และจัดจำหน่ายโดย บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
“ยำยำ” ผลิตโดย บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมการอาหาร จำกัด ในเครือของ 'อายิโนะโมะโต๊ะ ประเทศญี่ปุ่น
และ “ไวไว” ผลิตโดย บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด
โดยตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในไทยมีมูลค่าราว 17,000 ล้านบาทในปี 2022 ซึ่งมาม่ายังคงครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดถึง 49% ตามาด้วย ยำยำ 23% และไวไว 21% ที่เหลือเป็นแบรนด์อื่นๆ รวมกัน
อย่างที่เราทราบกันว่าวัฒนธรรมการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในทวีปเอเชีย โดยมีเกาหลีใต้ ครองอันดับ 1 ของโลก แต่ที่น่าประหลาดใจคืออันดับ 2 ของโลกเคยตกเป็นของประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยอย่างเนปาล และที่น่าสนใจคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อไวไว ได้สร้างให้นักธุรกิจชายชาวเนปาลกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศ
1
Binod Chaudhary นักธุรกิจชาวเนปาล เชื้อสายอินเดีย เจ้าของธุรกิจแป้งสาลี และโรงงานผลิตขนมปังกรอบเนปาลในขณะนั้น เดินทางไปและกลับจากต่างประเทศผ่านสนามบินกรุงในกรุงกาฐมาณฑุ เขามักเห็นผู้โดยสารชาวเนปาลหอบหิ้ว ไวไว กลับมาจากประเทศไทยทีละหลายกล่องจนกลายเป็นธรรมเนียม
ด้วยหัวคิดของนักธุรกิจที่มักมองเห็นโอกาสเสมอ เขาได้จึงเริ่มอยากที่จะนำไวไวมาจำหน่ายในเนปาล ให้กับตลาดในประเทศที่ตอนนั้นมีพลเมืองกว่า 20 ล้านคน
2
เขาได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเจรจากับคุณชาญ แต้มคงคา ผู้ก่อตั้งบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด เจ้าของแบรนด์ ไวไวด้วยตัวเองเมื่อปี 1982 เพื่อนำไวไวเข้าไปยังตลาดเนปาล
1
แต่ ณ ขณะนั้นทางคุณชาญยังไม่มีแผนการไปทำตลาดที่เนปาล และไม่มีแผนการลงทุนสร้างโรงงานในต่างประเทศ เพราะต้องการทำตลาดในประเทศเป็นหลัก ทำให้นักธุรกิจชาวเนปาลผู้นี้ ขอซื้อสิทธิ์การใช้ชื่อ สูตรอาหาร และเทคโนโลยีจากไวไว โดยที่้เขายอมลงทุนทุกอย่างเองทั้งหมด และขอให้ทางไวไวถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตให้เท่านั้น
3
หลังจากการเจรจาตกลงกันเรียบร้อย โรงงานไวไวภายใต้การใช้ชื่ออย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ได้เริ่มก่อสร้างในเนปาล โดยทางประเทศไทยได้ส่งทีมงานไปช่วยในการสร้างโรงงานและการพัฒนาสูตรอาหารให้เป็นไปตามาตรฐาน หลังจากนั้นในปี 1984 หรือเมื่อ 39 ปีที่แล้วโรงงานไวไวเนปาลก็เริ่มผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และผลตอบรับคือได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนแทบผลิตไม่ทัน
3
สำหรับไวไวในเนปาลครองส่วนแบ่งตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 65% ไม่เพียงเท่านั้นคนเนปาลที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศทั่วโลกราว 5 ล้านคน ก็เป็นลูกค้ารายสำคัญที่บริโภคไวไวกันเป็นอาหารประจำชาติ
6
ปัจจุบันธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร Chaudhary Group หรือ CG ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปีละ 1.8 พันล้านซอง หลากแบรนด์ และรสชาติ ส่งจำหน่ายราว 30 ประเทศทั่วโลกโดย ไวไว มีสัดส่วน 70% ของยอดผลิตทั้งหมด ทำรายได้ให้กับบริษัทราว 8,500 ล้านบาท ในปี 2022
1
จากข้อมูลของ Forbes ระบุว่า Chaudhary มีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิ 148,900 ล้านรูปี ณ วันที่ 4 กันยายน 2023 หรือราว 40,128 ล้านบาท ปัจจุบันเขาอยู่ในอันดับที่ 1 บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของเนปาล และอันดับที่ 1,647 ในรายชื่อมหาเศรษฐีโลกของ Forbes อีกทั้งบริษัท CG Foods ก็มีการตั้งโรงงานในต่างประเทศในทั้งในอินเดีย เซอร์เบีย บังคลาเทศ และอียิปต์
2
สำหรับชาวเนปาลการบริโภคไวไว กลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไปเป็นที่เรียบร้อย เพราะเมนูอาหารแทบทุกเมนูมักมีความเกี่ยวข้องกับบะหมี่ฯ ไวไว ไม่ว่าจะเป็นอาหารหลัก หรือการนำมาทำเป็นของทานเล่น โดยใน 1 วันชาวเนปาลบริโภคไวไวมากกว่า 4 ล้านซองจากจำนวนประชากรราว 30 ล้านคน จึงทำให้ชาวเนปาลคิดว่า ไวไวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเนปาล
5
ไม่เพียงเท่านั้นไวไวยังกลายเป็นสิ่งที่บำบัดอาการคิดถึงบ้านเกิดของคนเนปาลที่ต้องไปใช้ชีวิตในต่างแดนเป็นเวลานาน โดยชาวเนปาลในตะวันออกลาง มักจะนำของฝากจากบ้านเกิดติดมือกลับมาซึ่งก็คือไวไว
1
เพราะการได้กินบะหมี่ฯ ไวไวในดินแดนอันแสนห่างไกลจากบ้านเกิดทําให้เขารู้สึกใกล้ชิดกับบ้านมากขึ้น เปรียบเสมือเป็นการเฉลิมฉลอง กลิ่น และรสชาติของมัน เหมือนได้พาย้อนกลับไปในวัยเด็กในบ้านเกิดที่เคยเติบโตมา ช่วยปลอบประโลมอาการคิดถึงบ้าน และเชื่อมกับความทรงจําในทันทีพาให้กลับไปยังช่วงเวลาที่ใช้ได้ใช้กับคนที่รักใคร่ในเนปาลนั่นเอง
1
โฆษณา