25 ก.พ. เวลา 09:52 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สวิตเซอร์แลนด์

การปลูกถ่ายอิเล็กโทรดช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสันฟื้นฟูความสามารถในการเดินได้อีกครั้ง

การปลูกถ่ายอิเล็กโทรดเข้ากับไขสันหลังเป็นงานวิจัยที่ Swiss Research ศึกษามาช่วงระยะนึง
1
มันช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน(Parkinson's disease)ฟื้นฟูความสามารถในการเดินได้เป็นครั้งแรก
นักวิจัยชาวสวิสประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความสามารถในการเดินหลังจากฝังอิเล็กโทรดเข้าไปในไขสันหลังของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันระยะลุกลาม
และคาดว่าจะกลับมาทำงานได้อีกครั้งหลังจากนอนรับยามาเป็นเวลานาน
คนที่เป็นโรคพาร์กินสันต้องทนทุกข์ทรมานจากการสูญเสียเซลล์ประสาทที่ผลิตสารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างสมองและไขสันหลัง
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว
ทำให้มีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวช้าลง ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
ซึ่งสาเหตุของโรคพาร์กินสันนั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด และโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
แต่รักษาให้อาการบรรเทาลงหรือไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
ดังนั้น...ผู้ป่วยควรพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ ที่เริ่มมีอาการ
ซึ่งการปลูกถ่ายอิเล็กโทรดเข้ากับไขสันหลังของอุปกรณ์นี้จะใช้ร่วมกับเครื่องกำเนิดพัลส์ไฟฟ้าใต้ผิวหนังบริเวณช่องท้อง
1
เพื่อกระตุ้นไขสันหลังและกระตุ้นกล้ามเนื้อขาให้ผู้ป่วยเดินได้
และยังทำหน้าที่ร่วมกับสมองเพื่อกำหนดเวลาการกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม
ส่งผลให้ การเคลื่อนไหวเป็นไปตามความต้องการของผู้ป่วย
1
โฆษณา