17 พ.ย. 2023 เวลา 02:00 • การศึกษา

ถ้าอยากเก่ง ต้องฝึกฝน 10,000 ชั่วโมงด้วยหรือ?

เคยได้ยินคำกล่าวว่า “Practice makes perfect.” หรือไม่ คำกล่าวนี้มีคนพูดถึงบ่อยมาก ถ้าอยากเป็นคนเก่งเรียน เก่งกีฬา เก่งศิลปะ เก่งดนตรี หรือเก่งอื่น ๆ ต้องฝึกฝน และยิ่งฝึกฝนมาก ๆ นับหมื่นชั่วโมง ก็จะเก่งยิ่งขึ้น เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ต้องฝึกฝนเป็น 10,000 ชั่วโมงด้วยหรือถึงจะเก่งได้
คำตอบของคำถามนี้ คือ ไม่จำเป็นเสมอไป
ดังคำกล่าวของโค้ชอเมริกันฟุตบอลผู้ยิ่งใหญ่ที่กล่าววลีสำคัญไว้ว่า
“Practice does not make perfect. Only perfect practice makes perfect.”
วลีข้างต้น หมายคำว่า การฝึกฝน (ธรรมดา ๆ ดาด ๆ)ไม่ได้ช่วยให้เราเก่งขึ้น แต่การฝึกฝนที่ถูกต้อง ทำให้เราเก่งขึ้นได้
ดังนั้นแล้วไม่ใช่ฝึกไปเรื่อย ๆ แล้วเราจะเก่งขึ้น ต้องฝึกแบบถูกต้องด้วย
แล้วอะไรที่เราเรียกว่า การฝึกฝนที่ถูกต้อง หรือ “perfect practice”
เมื่อวานมีโอกาสฟัง podcast ของ 8 บรรทัดครึ่ง ต้อง กวีวุฒิ นำหนังสือเล่มใหม่ของ Adam Grant ที่มีชื่อว่า Hidden Potentials มาชวนคุย มีคำ ๆ หนึ่งในหนังสือถูกกล่าวถึง และอาจเรียกได้ว่าเป็น perfect practice ได้ คำนี้คือคำว่า “Deliberate Practice” (DP) หรือการฝึกฝนอย่างตั้งใจ
คำว่า DP เป็นทฤษฏีการเรียนรู้ที่ได้รับการเสนอโดย Ericcson, Krampe และ Tesch-Romer เพื่ออธิบายกระบวนการที่ผู้เรียนฝึกฝนทักษาะด้วยวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเพื่มความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยกระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) จากโค้ช ร่วมกับการฝึกฝนซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องโดยผู้เรียน
ดังนั้นการฝึกฝนอย่างตั้งใจหรือ DP จนสามารถทให้คน ๆ หนึ่งเก่งได้ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 อย่างได้แก่
1. Design practice วิธีการฝึกปฏิบัติที่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะโดยผู้เรียน
2. Feedback by coach กระบวนการให้ข้อมูลป้อนกลับโดยโค้ช
3. Practice Practice Practice การฝึกฝนซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องโดยผู้เรียนที่มี motivation
จะเห็นได้ว่า การฝึกฝนซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการพัฒนาทักษะ ยังมีการออกแบบวิธีการฝึกปฏิบัติ ร่วมกับความสามารถของโค้ชในการให้ feedback ด้วย เราจะเห็นว่านักกีฬาที่เก่งระดับโลก ล้วนมีโค้ช มีแนวการฝึก และมีการฝึกฝนอย่างหนักและตั้งใจ หลายครั้งเราเชื่อวาพันธุกรรมมีบทบาทกำหนดความเก่งของคน แต่แท้จริงแล้ว การฝึกฝนอย่างตั้งใจต่างหาก ที่มีบทบาทเหนือไปกว่าพันธุกรรม
ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้ จะทำให้การฝึกฝนอาจไม่ต้องทำนับหมื่นชั่วโมงก็เป็นไปได้ หากมีวิธีการที่ถูกต้องและมีโค้ขที่ดี ดังนั้นแล้วอย่าก้มหน้าก้มตาฝึกเพียงอย่างเดียว ถ้าอย่างเก่งเร็ว ควรหาวิธีการที่ถูก และมีคนคอยช่วย จะยิ่งทำให้เราเก่งยิ่งขึ้น และอาจไม่ต้องฝึกเป็นหมื่นชั่วโมงย่อมเป็นไปได้
อ้างอิง
1. Anders Ericsson, K. (2008), Deliberate Practice and Acquisition of Expert Performance: A General Overview. Academic Emergency Medicine, 15: 988-994. https://doi.org/10.1111/j.1553-2712.2008.00227.x
โฆษณา