18 พ.ย. 2023 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

“รถยนต์ไฟฟ้า” ความท้าทายเศรษฐกิจเยอรมนี

ถ้าถามว่าประเทศไหน ในยุโรป
มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด ?
อันดับ 3 ฝรั่งเศส 99 ล้านล้านบาท
อันดับ 2 สหราชอาณาจักร 110 ล้านล้านบาท
อันดับ 1 เยอรมนี 149 ล้านล้านบาท
แม้ว่าเยอรมนีจะมี GDP มากสุดในยุโรป แต่หากเราลองเจาะไปดูที่การเติบโตของ GDP จะพบว่าประเทศอื่นในยุโรป ต่างก็เริ่มฟื้นตัวกันแล้ว
เหลือแต่เพียงพี่ใหญ่อย่างเยอรมนีที่ไตรมาสล่าสุดที่ GDP ยังคงหดตัว
เรื่องนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคน รวมไปถึงนิตยสาร The Economist ได้ตั้งฉายาให้กับเยอรมนีว่า “ผู้ป่วยของยุโรป”
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น กับเยอรมนี ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในปี 2022 มูลค่า GDP ของเยอรมนี อยู่ที่ 149 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
แต่ปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนี กำลังเจอความท้าทายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม พุ่งสูงขึ้นถึง 5.8%
นอกจากนี้ยังมีภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลง จนในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เยอรมนีขาดดุลการค้าครั้งแรกในรอบ 30 ปี
โดยสาเหตุหลัก มาจากความท้าทายใน “อุตสาหกรรมรถยนต์”
อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นเหมือนหัวใจของเศรษฐกิจเยอรมนี ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาอย่างต่อเนื่อง
โดยเราอาจสังเกตได้จาก การที่เยอรมนีมีแบรนด์รถยนต์ระดับโลกมากมาย เช่น Volkswagen, Mercedes-Benz, BMW
แน่นอนว่าถ้าอุตสาหกรรมรถยนต์มีการชะลอตัว
ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมนีอ่อนแอลง
หากเราย้อนไปดูในปี 2015
เยอรมนี เคยผลิตรถยนต์มากกว่า 6 ล้านคัน
หรือประมาณ 6.6% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในโลก
แต่ที่ผ่านมา จำนวนการผลิตรถยนต์ของเยอรมนี ลดลงอย่างต่อเนื่อง
จนในปี 2022 เหลือเพียง 3.7 ล้านคัน หรือประมาณ 4.4% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในโลก
โดยสาเหตุมาจาก การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น และถูกแย่งส่วนแบ่งไปจากรถยนต์ไฟฟ้า
ไม่ว่าจะจากทางฝั่งสหรัฐอเมริกา ก็จะเป็น Tesla
หรือจากทางฝั่งจีนอย่าง BYD
การผลิตรถยนต์ที่ลดลง ทำให้การส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ จากที่เคยมีสัดส่วนประมาณ 19% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2016 กลับลดลงเหลือไม่ถึง 16% ในปีที่ผ่านมา
2
นอกจากอุตสาหกรรมรถยนต์แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี ไม่ว่าจะเป็น
1
- ราคาพลังงาน ปัญหาเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้เริ่มมาจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานทั่วโลกนั้นเพิ่มขึ้น ทั้งราคาน้ำมันดิบ ราคาแก๊สธรรมชาติ
ซึ่งในกรณีของแก๊สธรรมชาติ เยอรมนีถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้าแก๊สธรรมชาติ รายใหญ่ของโลก เนื่องจากต้องนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง
ราคาแก๊สธรรมชาติที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลมายังเงินเฟ้อของเยอรมนี
ในปีที่แล้วพุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 8.8% ทำให้ราคาสินค้า และต้นทุนค่าครองชีพของชาวเยอรมันสูงขึ้น
ทำให้ปัจจุบันธนาคารกลางยุโรป ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4% สูงสุดในรอบ 24 ปี เพื่อดึงเงินเฟ้อให้ลงมาอยู่ที่ 2% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
แต่ก็แน่นอนว่า อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ภาระทางการเงินของภาคครัวเรือน และต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจ ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกัน
- การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ปัจจุบัน ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเยอรมนีคือ จีน
1
โดยในปี 2022 มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ เท่ากับ 11.4 ล้านล้านบาท
แน่นอนว่าสินค้าหลัก ๆ ที่เยอรมนีส่งออกไปยังประเทศจีน ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องจักร เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หม้อไอน้ำ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
แต่เศรษฐกิจจีนกำลังเจอความท้าทายอย่างหนัก เช่น
- อัตราการว่างงานของคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น
- วิกฤติหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์
- ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง
ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตอนนี้ของเยอรมนี ไม่ได้ถือว่าแย่มากนัก เพราะหากเราลองมาดูตัวเลขทางเศรษฐกิจ ก็จะพบว่า บางส่วนเริ่มมีการฟื้นตัวบ้างแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น ดุลการค้าที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว จนกลับมาเกินดุล ตั้งแต่เดือนมิถุนายน หรืออัตราเงินเฟ้อที่ลดลงมาเหลือ 3.8% จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ที่ระดับ 8.8%
1
โดยเยอรมนีคาดว่า ปีนี้จะเติบโตติดลบ 0.6% สวนทางกับเศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซน ที่คาดว่าจะเติบโตที่ 0.6%
สรุปแล้ว แม้เศรษฐกิจเยอรมนีจะไม่ได้แย่มากนัก เพราะ ราคาพลังงาน อาจเป็นผบกระทบชั่วคราว
1
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ อุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจมาโดยตลอด
เรื่องนี้ ก็น่าจะเป็นความท้าทายครั้งใหญ่
ของเยอรมนี เลยทีเดียว..
โฆษณา