Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่า-เข้ม-เข้ม
•
ติดตาม
17 พ.ย. 2023 เวลา 12:14 • ประวัติศาสตร์
เรื่องเล่า-กาแฟเข้ม
เด็กยุค 80’s - 90’s น่าจะถูกสอนว่า ‘กาแฟ’ (Coffee) เกือบจะเป็นยาเสพติด เพราะ ‘คาเฟอีน’ มีฤทธิ์ต่อร่างกาย ไม่ควรดื่ม แต่ปัจจุบันความเชื่อเหล่านั้นเปลี่ยนไป ความแพร่หลายของกาแฟถูกเปรียบเทียบราวกับน้ำมัน เพราะสร้างเม็ดเงินมหาศาล ผู้คนทั่วโลกสนใจ คนดื่มเฮฮา คนไม่ดื่มก็เริ่มอยากเข้าร่วม
.
เล่า-เข้ม-เข้ม เลยเอาข้อมูลสนุก ๆ ของกาแฟมาฝาก
เชื่อว่าน่าจะถูกใจสายกาแฟ
.
มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ ‘กาแฟ’ จากหลากหลายที่ แต่ที่เชื่อกันหลัก ๆ มี 2 แห่ง โดยที่แรกว่ากันว่า กาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ในประเทศเอธิโอเปีย กาแฟจึงมีชื่อเรียกตามสถานที่แห่งนี้
ส่วนอีกแหล่งที่มา ก็ว่าหันว่า กาแฟเป็นพืชของ ‘อาบีซีเนีย’ (Abyssinia) มีให้เห็นทั่วไปมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ในประเทศอาราเบีย (Arabia) แต่ก็ไม่มีคนสนใจ
.
จนกระทั่งศตวรรษที่ 9 คนเลี้ยงแพะนาม ‘Kaldi’ ก็รู้สึกว่าเจ้าแพะที่เลี้ยงมีอาการดีดดิ้น คึกคะนองมากกว่าปกติอยู่บ่อยครั้ง เลยลองถามว่า #โดนตัวไหนมา แพะบ้าก็ไม่ตอบ จึงเฝ้าสังเกตและพบว่า เจ้าแพะตะกละไปกินผลไม้สีแดงอันหนึ่ง จึงไปเล่าให้เพื่อนฟัง และนำผลไม้นั้นมาคั่วแล้วต้มดื่ม จากนั้นก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่า จึงกลายเป็นจุดกำเนิดให้ชาวอาราเบียรู้จักการดื่มกาแฟ และในช่วงปี 1554 พ่อค้าอาหรับก็นำกาแฟเข้าตุรกี และ ปี1615 ก็มีนำเข้าไปในอิตาลี และเริ่มแพร่หลายไปทั่วยุโรป
.
โดยตอนแรกนั้นมีการเรียกพืชชนิดนี้ ตามชาวอาราเบียว่า ‘คะวาฮ์’ (Kawah) ซึ่งแปลว่า มีแรง มีพลัง (Strength) มาถึงตุรกีก็เรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) เมื่อแพร่หลายก็ถูกเรียกไปเรื่อยตามสำเนียงพื้นถิ่นที่ต่าง ๆ เรียกว่าเพี้ยนไปเรื่อย แต่ชื่อที่ปังปุริเย่ที่สุดก็คือ ‘คอฟฟี’ (Coffee) ที่เรียกโดยชาวอังกฤษ
.
ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานการนำกาแฟเข้ามาโดยผู้คนที่ไปแสวงบุญที่ เมืองเมกกะ ซาอุดีอาระเบีย แล้วนะเม็ดกาแฟพันธุ์โรบัสตา (Robusta) มาปลูกที่ อำเภอสะบ้าย้อย สงขลา ในปี พ.ศ. 1904 ส่วนพันธุอาราบิกา (Arabica) เข้ามาไทยปี 1950 โดยแต่เดิมจะถูกเรียกว่า ‘โกปี๊’ บ้าง ‘ข้าวแฝ่’ บ้าง และกลายเป็น ‘กาแฟ’ ในที่สุด
#กาแฟเป็นสารเสพติดหรือไม่?
ต้องบอกแบบนี้ ความหมายของสารเสพติด คือ สารใดใดซึ่งเมื่อได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ แล้วจะทำให้บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจของสิ่งนั้น ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งกาแฟไม่ได้ร้ายแรงขนาดนั้น ทำให้ไม่ได้อยู่ในการจำกัดความของยาเสพติด
แล้วทำไมบางคนดื่มกาแฟมานานแล้วพอเลิกดื่ม จะมีอาการปวดหัวจนต้องกลับไปดื่มอีก?
เรื่องนี้ หมอกอล์ฟ เอกภพ หมอกพรม กล่าวไว้ใน The Standard Podcast โดยให้ความเห็นว่า อาการแบบนี้เกิดจากการ ‘ถอนกาแฟ’ โดยปกติร่างกายจะหลังสาร ‘อะดีโนซีน’ (Adenosine) อยู่แล้วซึ่งทำให้เราเพลีย เหงาหงอย แต่พอได้คาเฟอีนจากกาแฟก็ทำให้สดชื่น เมื่อได้บ่อย ๆ ร่างกายก็หลังอะดีโนซีนเยอะขึ้นเพื่อต้านคาเฟอีน
ทีนี้เมื่อเราหักดิบคาเฟอีน ร่างกายที่ปล่อยอะดีโนซีนออกมาเยอะแบบไร้ตัวต้านก็ส่งผลข้างเคียงให้เส้นเลือดที่เข้าสู่สมองขยายใหญ่ขึ้นนั้นเอง แต่อาการนี้จะหายไปในเวลาไม่กี่วัน ดังนั้นถ้าต้องการเลิกกาแฟ ควรจะใช้วิธี ค่อย ๆ ลดจะดีกว่า
#อยากรู้ว่าเราดื่มกาแฟได้กี่แก้วต่อวัน?
หมอกอล์ฟ อธิบายว่า ร่างกายคนเรารับคาเฟอีนได้ประมาณวันละ 400 มิลิกรัม แต่บางคนเซนซิทีฟ แก้วเดียวก็อาจเกิดอาการใจสั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับได้ ซึ่งคนเหล่านี้ควรรับไม่เกิน 200 มิลิกรัมต่อวัน ซึ่งเราก็คำนวณง่าย ๆ โดย
• กาแฟช็อตเดียวจะมีคาเฟอีนประมาณ 60 มก.
• กาแฟสองช็อตแก้วใหญ่จัดเต็ม ประมาณ 100-120 มก.
• เครื่องดื่มโคล่า มีประมาณ 30 มก. ต่อกระป๋อง
• ชา 60 มก. และเครื่องดื่มชูกำลังประมาณ 200 มก. (ถึงได้ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวดไง)
หรือเราสามารถดูได้จากฉลากสินค้าแล้วคำนวณเอาก็ได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่ารับได้มากน้อยเท่าไหร่ และแนะนำให้คนเซนซิทีฟ ดื่มก่อนบ่ายสาม เพราะอาจมีโอกาสวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือไม่มีสมาธิในการทำงานได้ แต่โดยปกติแล้วกาแฟจะถูกขับออกจากร่างกายโดยการปัสสาวะภายใน 12 ชั่วโมง โดยกระบวนการการขับออกเกิดขึ้นที่ตับ ดังนั้นคนที่คิดว่า ดื่มน้ำเยอะ ๆ แล้วคาเฟอีนจะหมดไวนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด
#แล้วดื่มกาแฟลดน้ำหนักได้ไหม?
อันนี้น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนตั้งตารอ คืออยากชิวจิบคาปูชิโน วาร์ปไปสามเดือนแล้วน้ำหนักหายไปอะไรแบบนี้ ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะแม้การดื่มกาแฟจะทำให้ระบบเผาผลาญดีขึ้นแต่ก็เล็กน้อยมาก ประมาณ 3-4 % (นับเป็นแคลฯ ก็อยู่ราว ๆ 80-100 กิโลแคลฯ) และที่สำคัญ พอเรารับกาแฟไปประมาณสักอาทิตย์ ร่างกายก็ปรับตัวแล้วลดการเผาผลาญลงมาให้เท่าเดิม (แบบนี้อ่ะ เก่งจัง)
แต่ที่โฆษณากาแฟลดน้ำหนักนั้น ส่วนใหญ่จะผสมสารชนิดอื่น ๆ เช่น ถั่วขาว ไฟเบอร์ บลา ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายเผาผลาญ ดูดซึม แต่ก็ไม่ได้มีการยืนยันว่าสารเหล่านั้นมีผลจริง ๆ ต่อร่างกาย และที่สำคัญ กาแฟบางตัวแอบผสมสาร ‘ไซบรูทามีน’( Sibutramine) ซึ่งเป็นสารอันตรายและผิดกฎหมาย มีผลทำให้ไม่อยากอาหาร หัวใจเต้นเร็ว มีฤทธิ์คล้ายยาบ้า ทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้
.
.
ก่อนจากกันก็มีเรื่องเล่าสนุก ๆ ทิ้งท้าย เนื่องจากกาแฟเป็นของชาวอาหรับ (ชื่อก็บอกอะนะว่า ‘อาราบิก้า’) เมื่อก่อนอาหรับกับคริสตจักรก็ทำสงครามศาสนากันมาอย่างยาวนาน กาแฟก็เลยโดนชาวคริสต์โจมตีว่าเป็นเครื่องดื่มปีศาจ ถูกตั้งฉายาว่า #สิ่งประดิษฐ์รสขมของซาตาน
ทีนี้ เมื่อกาแฟแพร่หลายในยุโรป มีคนชื่นชอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือ พระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 เมื่อมีคนมาถามบ่อยเข้า และท่านเองก็หลงใหลเจ้าเครื่องดื่มชนิดนี้อยู่เป็นทุนเดิม
โป๊ปเลยประกาศว่า "เครื่องดื่มของซาตานนั้นหอมหวนยิ่งนัก น่าเสียดายหากจะปล่อยให้พวกนอกศาสนาดื่มอยู่ฝ่ายเดียว!" นับจากนั้นชาวคริสต์ก็ดื่มกาแฟกันอย่างบันเทิง และได้รับความนิยมทั้งยุโรปและทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง
.
#เล่าเข้มเข้ม #กาแฟ #Coffee #EU #Pope #Arabica #caffeine #Capuchino #Kawah #อาราบิก้า #ซาตาน #อะดีโนซีน #ไซบรูทามีน
เครื่องดื่ม
กาแฟ
เรื่องเล่า
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย