18 พ.ย. 2023 เวลา 11:00 • ข่าวรอบโลก

ฤๅเศรษฐกิจลาว กำลังวิกฤติเสี่ยงล่มสลาย?

เงินกีบกำลังไร้ค่า หนี้สาธารณะเกิน 100%
ประชาชนอยู่ไม่ไหวหลั่งไหลหนีข้ามโขง
ช่วงนี้คงเห็นข่าวคราวปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในฝั่งของประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดที่สุดอย่างประเทศ สปป.ลาว ที่ส่อเค้าลางจะกลายเป็นวิกฤตที่อาจพาให้ประเทศเดินทางไปสู่การล่มสลายเหมือนกับศรีลังกา เพราะไม่สามารถพึ่งพาตัวเองภายในได้อีกต่อไป
5
ความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นยิ่งตอกย้ำว่าลาวกำลังแย่นั้น ได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากมีข่าวธนาคาร 4 ธนาคารจากประเทศไทยปิดสาขาและเลิกกิจการในประเทศลาว นำมาซึ่งการตั้งข้อสังเกตของทั้งชาวไทยและชาวลาวว่า นี่เป็นสัญญาณอันตรายว่าเศรษฐกิจลาวกำลังจะแย่กว่านี้ และอาจเดินไปสู่การเป็นประเทศที่ผิดนัดชำระหนี้และล้มละลาย
2
แม้ทางธนาคารแห่งชาติลาวจะออกมาบอกว่า ฐานะการเงินของลาวยังคงดีอยู่ และไม่ได้มีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย แต่ถ้ามองในมุมปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อคำแถลงของแบงก์ชาติลาวได้ ยิ่งในระบอบการปกครองที่รัฐบาลแบบคอมมิวนิสต์ที่แทบจะปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จมาตั้งแต่ปี 2518 ยิ่งทำให้เชื่อถือในข้อมูลจากฝั่งรัฐบาลลาวได้ยากยิ่ง
3
มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส วิเคราะห์มุมมองของเศรษฐกิจลาวว่า โอกาสที่ประเทศจะเดินไปสู่การผิดนัดชำระหนี้มีสูงมาก ผลจากการบริหารจัดการของรัฐบาลลาวด้านธรรมาภิบาลที่อ่อนแอ ภาระหนี้สาธารณะที่พอกพูนสูงถึง 110% ในปีนี้
3
โดยเกือบครึ่งของหนี้ทั้งหมดเป็นการค้างชำระหนี้กู้ยืมจากประเทศจีน เพื่อมาลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรถไฟลาว - จีน มูลค่า 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 2 แสนล้านบาท ซึ่งลาวกำลังเผชิญวิกฤตหนี้ระดับ 14,500 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 5.14 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 88% ของ GDP โดยกว่าครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ของโครงการรถไฟลาว - จีน
3
แต่เศรษฐกิจลาวมีขนาดเล็กมากเพียง 6.44 แสนล้าน ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานีรวมกับสมุทรปราการ หรือมีขนาดเพียง 3.8% ของขนาดเศรษฐกิจประเทศไทยที่มี GDP ราว 17 ล้านล้านบาท
6
อีกทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศกลับมีไม่เพียงพอ ที่จะใช้จัดการกับภาระหนี้ได้
2
ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจของลาวค่อนข้างเป็นที่จับตามองของนักลงทุน เพราะมีอัตราการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยของอัตราการเติบโตเกือบถึง 8% ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าในประเทศ จนกระทั่งเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เมื่อปี 2563 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ของลาวอยู่ในระดับติดลบนานระยะหนึ่ง ก่อนกระเตื้องกลับขึ้นมาเป็นตัวเลขบวกอีกครั้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
7
อีกทั้งค่าเงินกีบยิ่งเฟ้อหนักขึ้นทุกเดือนจากที่เคยอยู่ที่ราว 250 กีบ เท่ากับ 1 บาท ล่าสุดเงินกีบเฟ้อขึ้นมาถึง 550 - 700 กีบ ซึ่งทำให้คนลาวยิ่งเผชิญกับปัญหากำลังซื้อลดลงอย่างรุนแรง และนับเป็นเงินเฟ้อที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
3
ผลที่ตามมาคือคนลาวจะซื้อของแพงขึ้น เพราะสินค้าที่จำหน่ายในลาวเกือบ 90% นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งสิ่งนี้จะกัดกร่อน “รายได้ที่แท้จริง” ของชาวลาวต่อไป และอาจส่งผลให้บรรยากาศการค้าชายแดนระหว่างลาวและไทย จะยิ่งซบเซาหนักไปด้วย
จากการวิเคราะห์ของธนาคารกรุงศรี ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจลาวจะถูกกดดันโดยปัจจัยความเสี่ยงหลายประการทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
🔵 1. ความเสี่ยงภายนอกประเทศ เช่น
🔹 หนี้ต่างประเทศที่สูง คิดเป็นถึง 68% ของ GDP
🔹 เงินสำรองระหว่างประเทศที่ต่ำ ซึ่งอยู่ที่เพียง 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าของประเทศได้เพียง 2 เดือน ทำให้รับแรงกระแทกจากวิกฤตในอนาคตได้ต่ำ
🔹 ความสามารถในการเจาะเข้าไปขายสินค้าหรือทำธุรกิจในตลาดอื่นที่จำกัด
🔹 การขาดความสามารถในการกระจายความเสี่ยง
ดีมานด์สินค้าที่ลดลงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน
2
🔵 2. ความเสี่ยงในภาครัฐ เช่น
🔹 หนี้สาธารณะที่สูง คิดเป็นถึง 110% ของ GDP
🔹 ปัจจัยพื้นฐานด้านการพัฒนาที่ต่ำ ทำให้มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือกู้หนี้ต่างประเทศเพิ่มน้อย และอ่อนแอต่อปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
6
🔵 3. ความเสี่ยงด้านการเงินของประเทศ เช่น
🔹 รายได้และเงินทุนของธนาคารประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ
🔹 ค่าเงินที่มีแนวโน้มอ่อนลงเรื่อยๆ โดยในปัจจุบันเงินกีบของลาวเป็นสกุลเงินที่ราคาถูกที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และมีมูลค่าแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 19,647 กีบต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (วันที่ 1 กันยายน)
🔹 เงินเฟ้อที่สูง โดยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เงินเฟ้อของลาวที่ยังสูงจนยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอยู่
2
และด้วยปัจจัยเหล่านี้เอง ลาวจึงยังไม่สามารถฟื้นตัวไปสู่ระดับก่อนโควิดได้อย่างมั่นคง เพราะไม่มีปัจจัยด้านใดเลยที่จะมาช่วยดันให้เศรษฐกิจลาวพัฒนาหรือฟื้นตัวอย่างเต็มที่ได้ นอกจากนี้ ความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายไป เพราะทั่วโลกในตอนนี้มีการปรับลดการลงทุนในต่างประเทศและลดการบริโภคลง ซึ่งจะซ้ำเติมสถานะทางการเงินที่กำลังง่อนแง่นของลาวเข้าไปอีก เพราะหนี้สูงอยู่แล้ว แถมยังไม่สามารถหารายได้มาจ่ายหนี้ได้เพียงพออีก
2
หลายคนคงมีคำถามว่า แล้วเงินเดือนของคนลาวโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่…ถ้าเป็นเงินเดือนในกลุ่มบุคคลที่จบระดับปริญญาตรี และทำงานในนครหลวงเวียงจันทร์ เฉลี่ยราว 3,000 - 5,000 บาท แต่ถ้าในต่างจังหวัดอาจจะต่ำกว่าอัตรานี้
6
ซึ่งนับว่าน้อยมาเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่ใกล้เคียงกับเมืองใหญ่ในประเทศไทย ที่ราคาค่าอาหารเริ่มต้นที่ 50 บาท เนื่องจากปัจจัยการผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น
3
ด้วยรายได้ที่น้อยขนาดนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนลาวจำนวนมากเลือกที่จะหลั่งไหลเข้ามาหางานทำในประเทศเพื่อนบ้านแทน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีการจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่าหลายเท่า แม้จะทำงานที่อาจไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงานที่สูงมากก็ตาม
5
สิ่งเหล่านี้กำลังเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่สำหรับ สปป.ลาว เพราะการจะพยุงประเทศให้เดินหน้าต่อไปด้วยตัวเองในเวลานี้นับว่ายากลำบากอย่างยิ่ง และการที่คนไทยอย่างเรานั่งมองดูประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน มีความใกล้ชิดกันทั้งในเรื่องของภาษา วัฒนธรรม หรือต้นกำเนิด กำลังเดินไปสู่เส้นทางของการล่มสลายก็คงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีนัก เพราะสุดท้ายแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นจะกระเด็นมาโดนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
5
โฆษณา