22 พ.ย. 2023 เวลา 03:56 • ความคิดเห็น
คำถามนี้ดีมากค่ะ แต่เราอยากจะแยกเป็น 2 ประเด็น เพราะเมื่อคุณนำบริบทของการระดมทุนสาธารณะ หรือ Crowdfunding มาโยงกับ บริบทของงานวิจัยไทย เรื่องมันจะเยอะและใหญ่ขึ้น เพราะต้องไปสางปัญหาที่รากเหง้าก่อนเลยค่ะ
ก่อนนี้เรามีทบวงมหา'ลัย ดูแลมหา'ลัย เดิมใช้งบประมาณภาษี 100% ต่อมาก็ให้ออกจากระบบ เพราะมหา'ลัยต่างก็เลี้ยงตัวเองได้แล้ว Products ของมหา'ลัยก็คือ การผลิตบัณฑิต และการผลิตงานวิจัย คุณอาจเคยได้ยินคำว่า "งานวิจัยขึ้นหิ้ง" และสิ่งนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องยุบทบวงฯ แล้วเอามารวมกับกรมกองด้านงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จนปัจจุบันก็กลายเป็นกระทรวงการอุดมฯ เพื่อปัดฝุ่นงานวิจัยขึ้นหิ้ง เอาลงมาจากหิ้ง แล้วดูว่ามันขายได้หรือไม่ ซึ่งก็หมายถึง "คุณภาพและโอกาสงานวิจัยที่ขายได้" นั่นเอง
สมมติว่าเรามั่นใจแล้วว่า "ขายได้" ต่อมาคือ "ใครจะอยากซื้อ?" ใครที่ว่าก็ต้องมีเงินหนาและมองเห็นโอกาส แต่เพราะมันเป็นของใหม่ยังขายฝันอยู่ ความเสี่ยงจึงสูง กลต.จึงต้องเป็นตัวกลางทำหน้าที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการให้ระดมทุนแบบ Crowdfunding มันจึงมีตัวกลางอย่างกลต. ที่น่าเชื่อถือ มากกว่าจะทำกันเองอยู่แล้วค่ะ
สิ่งสำคัญคือจะมีก็แต่นักลงทุนเจ๋งๆ เท่านั้น
ที่จะมองเห็น"ศักยภาพและโอกาส" ในงานวิจัยหนึ่งๆ
เพราะความเสี่ยงยังสูงมาก ภาษาบ้านๆ คือยังลูกผีลูกคน
ที่สำคัญกว่านั้นคือ "แผนธุรกิจเจ๋งหรือเปล่า"
แม้ว่ามันจะเป็นการขายฝันก็เถอะค่ะ
............................................
ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของเทรนด์มหา'ลัยในยุคนี้
ที่เน้นผลิตบัณฑิตให้มี "entrepreneurship"
1
โฆษณา