23 พ.ย. 2023 เวลา 02:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ขี้นก ทองคำขาวล้านล้าน ที่เคยขับเคลื่อน เศรษฐกิจโลก

รู้ไหมว่า “ขี้นก” เป็นเหมือนทองคำขาวเมื่อ 100 ปีที่แล้ว และประเทศเปรู ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้ส่งออกขี้นก
รายใหญ่ของโลก ด้วยมูลค่ากว่า 22 ล้านล้านบาท
1
ขี้นกนี้เอง ทำให้สหรัฐฯ สร้างประเทศตัวเองขึ้นมาได้ และยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญ สร้างอาหารให้ประชากรโลก มาจนถึงทุกวันนี้
2
“ขี้นก” มีมูลค่าล้านล้านบาทได้อย่างไร
แล้วทำไม ถึงเคยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
100 ปีก่อน สาเหตุที่คนทั่วโลกแห่กันไปที่ทวีปอเมริกา ก็เพื่อค้นหาทองคำ จนเราเรียกยุคนั้นกันว่า “ยุคตื่นทอง”
1
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคน ที่จะพบทองคำตามที่หวัง คนบางกลุ่ม ที่ไม่อยากกลับบ้านมือเปล่า จึงขุดขี้นกที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เอาไปขายที่สหรัฐฯ และยุโรป..
2
สาเหตุที่คนไปหาทองคำ แต่พบขี้นกจำนวนมาก ก็เพราะบริเวณนั้น เป็นพื้นที่นกทะเลบินผ่าน เพื่อมากินปลาที่ชุกชุมแถวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
แม้ขี้นกจะดูเหมือนของไร้ค่า แต่กลับนำมาขายได้ในราคาสูง เพราะมีแร่ชื่อว่า “แร่ฟอสเฟต” เรียกได้ว่าเป็นสารอาหารสำคัญในการบำรุงผลผลิตทางการเกษตร
ซึ่งในสมัยนั้น สหรัฐฯ เพิ่งเริ่มก่อตั้งประเทศใหม่ ๆ และต้องการส่งออกฝ้ายไปยุโรปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการปุ๋ยจำนวนมาก เข้ามาใช้ในภาคเกษตรกรรม
3
ส่วนในทวีปยุโรป ประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลให้ภาคเกษตรกรรมต้องเร่งผลิตอาหาร ปุ๋ยจากขี้นกจึงเป็นที่ต้องการไปด้วย
1
สรุปได้ว่า “ขี้นก” ได้กลายมาเป็นทรัพยากรสำคัญ ที่คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ในตอนนั้นเลยทีเดียว..
1
ซึ่งเรื่องนี้ ก็ทำให้ประเทศในทวีปอเมริกาใต้อย่างเปรู สามารถส่งออกขี้นก ที่มีจำนวนมากในประเทศ ไปยังสหรัฐฯ และยุโรปได้อย่างต่อเนื่อง..
โดยมีการคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 1840 ถึง 1870 กินระยะเวลาราว 30 ปี ประเทศเปรู ส่งออกขี้นกมากถึง 12 ล้านตัน
1
คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันมากถึง 22 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว..
ด้วยความต้องการที่มากกว่าที่หาได้ ขี้นกจึงเป็นของหายาก ถึงขนาดที่ว่าสหรัฐฯ ต้องออกกฎหมาย “Guano Islands Act” เพื่ออนุญาตให้คนอเมริกันไปยึดเกาะขี้นก ที่ไม่มีเจ้าของได้ทั่วโลก..
1
ส่วนเปรูและโบลิเวียเองก็ขัดแย้งกับชิลี ถึงขนาดเกิดสงครามแย่งชิงขี้นกระหว่างกัน ยืดเยื้อนานกว่า 5 ปี
2
ในขณะที่อีกฟากหนึ่งของโลก เกาะนาอูรูที่ตั้งอยู่บน
มหาสมุทรแปซิฟิก เยอรมนีก็ได้เข้ามายึดเป็นอาณานิคม เพื่อส่งขี้นกจำนวนมากกลับประเทศอีกด้วย
1
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ขี้นกเป็นสิ่งที่หายาก ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปจึงพยายามหาวิธี คิดค้นปุ๋ยที่ใช้วัตถุดิบอื่น นอกจากขี้นกเพียงอย่างเดียว
จนในที่สุด ในปี 1909 Fritz Haber และ Carl Bosch นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน 2 คน ก็ได้คิดค้นสิ่งที่เราเรียกกันในปัจจุบันว่า “ปุ๋ยเคมี” ได้สำเร็จ
1
วิธีการของเขา ก็คือ
- เอาก๊าซไนโตรเจนที่มีในอากาศจำนวนมาก
- มาทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน
2
ผลที่ได้ก็คือ แอมโมเนีย (NH3) ในปุ๋ยนั่นเอง
โดยในตอนนั้น เยอรมนีไม่เหมือนกับชาติยุโรปอื่นที่นิยมวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ที่เน้นการทดลอง และค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
2
แต่เยอรมนีเน้นการพัฒนาแบบวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือคิดค้นและพัฒนา เพื่อนำไปปรับใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว
1
ซึ่งเมื่องานวิจัยเรื่องปุ๋ยเคมีสำเร็จ บริษัท ​​Badische Anilin- und Sodafabrik หรือ BASF ที่เคยมีผลงานเด่น จากการนำงานวิจัยสีผ้าสังเคราะห์ มาผลิตในสเกลโรงงาน จนสามารถครองตลาดสีสังเคราะห์ได้กว่า 90% ของทั่วโลกในตอนนั้น
2
ก็ได้นำสูตรปุ๋ยเคมีไปปรับใช้ เพื่อผลิตในภาคอุตสาหกรรม และกลายเป็นผู้ผลิตปุ๋ยเคมีรายแรกของโลก
ซึ่งปุ๋ยเคมีที่ผลิตได้ มีราคาถูกกว่าปุ๋ยขี้นกเป็นอย่างมาก ปุ๋ยเคมีจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสร้างรายได้ให้บริษัทได้เป็นกอบเป็นกำ
2
และเรื่องนี้ก็กลายมาเป็นฝันร้ายกับประเทศเปรู..
ที่เคยส่งออกขี้นกได้อย่างมหาศาล ก็ส่งออกขี้นกได้น้อยลง จนปัจจุบันมีการใช้ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว
2
ส่วนนาอูรู ที่เคยอยู่ภายใต้เยอรมนี หลังจากเปลี่ยนเจ้าของอาณานิคมหลายประเทศ จนได้รับเอกราช ก็เปลี่ยนไปส่งออกแร่ฟอสเฟตจากขี้นกแทน
1
แร่ฟอสเฟตจากบุญเก่านี้เอง ทำให้ในปี 1981 นาอูรูสามารถส่งออกแร่ฟอสเฟตได้มากถึง 2 ล้านตันต่อปี เพราะตลาดแร่ฟอสเฟตกลับมาเติบโตอีกครั้ง
รัฐบาลนาอูรู ได้นำเงินบางส่วนที่ได้จากการส่งออกแร่ฟอสเฟต คิดเป็นมูลค่ากว่า 130,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน ไปเป็นกองทุนแร่ฟอสเฟตของประเทศ
1
เรื่องนี้เหมือนจะดี แต่เงินจากกองทุนนี้ ไม่ได้ถูกนำไปสร้างประโยชน์ อย่างการลงทุนในการศึกษา หรือโครงสร้างพื้นฐาน
2
แต่รัฐบาลกลับนำเงินกองทุน ไปเป็นหลักประกันเพื่อกู้ยืมเงินกับธนาคารกลางของประเทศ เพื่ออุดหนุนอุตสาหกรรมการบิน
1
จนกระทั่งการส่งออกแร่ฟอสเฟตซบเซาลง และปริมาณขี้นกในประเทศเริ่มร่อยหรอ หลักประกันกู้ยืมที่เคยมีก็เริ่มหมดลง ส่งผลให้เจ้าหนี้ธนาคารกลางล้มละลาย
1
กลายเป็นว่าคนในประเทศยากจนลง
คนว่างงานมากถึง 90% ของประเทศ
และไม่สามารถทำอาชีพอื่นได้
เพราะรัฐบาลไม่ได้กระจายการลงทุน และพัฒนาไปยังภาคส่วนอื่น ๆ
1
ส่วน BASF ผู้คิดค้นและผลิตปุ๋ยเคมีรายแรกของโลก ที่มาแทนปุ๋ยขี้นก
ปัจจุบัน ได้กลายเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ ใหญ่สุดในโลก ด้วยมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาท..
1
โฆษณา