25 พ.ย. 2023 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

อัปเดตรายการลดหย่อนภาษี 2566 ปีนี้มีอะไรบ้าง?

📣 เข้าสู่ช่วงปลายปีแล้วอย่าลืมทำสิ่งนี้กันนะ! 👉 วางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีปี 2566 อย่างรอบคอบ
หลายคนอาจคิดว่าอายุน้อยไม่เป็นไร? บอกเลยค่ะว่าไม่เกี่ยวน้า เพราะการเสียภาษีจะขึ้นอยู่กับฐานของเงินได้สุทธิในแต่ละปี นั่นก็คือรายได้ตลอดทั้งปีจะมาจากเงินเดือนที่นายจ้างจ่าย ลบด้วยค่าใช้จ่ายของรายได้จากงานประจำ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ก่อนจะใช้สิทธิ #ลดหย่อนภาษี เพื่อให้หักแล้วเหลือไม่เกิน 150,000 บาท/ปี ก็จะได้การยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากรวมแล้วเกินก็จะต้องเสียภาษีอัตราตามขั้นบันได 5-35% 😱
👀 แล้วการลดหย่อนภาษี คือ การหนีแบบผิดกฎหมายมั้ยนะ?! ตอบเลยว่า ไม่!! เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาล เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนหันมาลงทุนมากขึ้น โดยรายการสำหรับลดหย่อนภาษีในแต่ละปีจะมีความแตกต่างเล็กน้อย ซึ่งบางรายการยังเหมาะสำหรับลงทุนเพื่อการเกษียณด้วย หรือบางรายการลดหย่อนได้สูงสุดถึง 500,000 บาท!! 🤩
💛 เห็นความดีงามของการลดหย่อนแล้ว ก็มาวางแผนพร้อมเช็กกันเลยว่า รายการค่าลดหย่อนภาษีในปี 2566 มีอะไรบ้างที่จะใช้ได้ สามารถดูที่โพสต์นี้เลยน้า 📍
👉 ตรวจสอบสิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วยตัวเองที่ https://www.rd.go.th/272.html
📌 ไม่อยากพลาดเรื่องการเงินที่ควรรู้ กดติดตามทุกช่องทางไว้ได้เลย!😉
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
#กองทุนกรุงศรี #SSF #RMF #กองทุนไหนดี #กองทุนลดหย่อนภาษี
กลุ่มลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
🏥 รายละเอียดเพิ่มเติมของกลุ่มประกัน
- ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้เท่ากับเบี้ยที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ หักลดหย่อนตามจำนวนจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
- หากคู่สมรสไม่มีรายได้ นำเบี้ยมาลดหย่อน และประกันสุขภาพพ่อแม่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
👨‍👨‍👧‍👦 รายละเอียดเพิ่มเติมของกลุ่มลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
- ลดหย่อนส่วนตัว เป็นสิทธิของผู้มีรายได้ทุกคน
- ลดหย่อนคู่สมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
- สามารถลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ตามจริงที่จ่ายทั้งในสถานพยาบาลของรัฐ/เอกชน หากเป็นครรภ์ฝาแฝดจะนับเป็น 1 การตั้งครรภ์
- สำหรับบุตรจะต้องอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุ /21-25 ปี กำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
- ค่าลดหย่อนของพ่อแม่ที่ใช้สิทธิ จะต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ในกรณีมีพี่น้อง บุตรจะสามารถใช้หักได้เพียงคนเดียว นำไปลดหย่อนซ้ำไม่ได้
- ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ผู้นั้นจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี และต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ ประกอบกับหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ สามารถใช้สิทธิได้เพียง 1 คน
กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ และ กลุ่มบริจาค
💰 รายละเอียดเพิ่มเติมกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
- สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยมาลดหย่อนได้ตามจำนวนจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- การช้อปดีมีคืน จะต้องเป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566
*โดยที่ 30,000 บาทแรก ต้องมีใบกำกับภาษีแบบกระดาษและแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-receipt
* 10,000 บาทที่เหลือ ต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ เฉพาะแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
💸 รายละเอียดเพิ่มเติมกลุ่มบริจาค
- เงินบริจาคที่ลดหย่อนได้คือ สถานศึกษา ทั้งรัฐและเอกชน โรงพยาบาลของรัฐ และการบริจาคผ่าน e-donation ผ่านสภากาชาด, กองทุนยุติธรรม, หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย,
กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ การวิจัยตามกฎหมาย/ สาธารณสุข/ พัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง/ พัฒนาเด็กเล็ก/ การจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถานศึกษา/ โครงการฝึกอบรมอาชีพ สถานพักฟื้น บำบัด และฟื้นฟูเด็ก และเงินบริจาคให้คนพิการเพื่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ
*การลดหย่อนผ่านเงินบริจาคจะต้องมีการอัปเดตใหม่จากภาครัฐเสมอ
กลุ่มการลงทุน
🏦 รายละเอียดเพิ่มเติมกลุ่มการลงทุน
- การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF (Super Saving Funds) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้ตามจริง โดยจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ปัจจุบันจะให้สิทธิลดหย่อนได้ 5 ปี คือ ปี 2563-2567
- การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงินที่ลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF (Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้ตามจริง โดยจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
*นอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้วยังเป็นการวางแผนการเกษียณไปในตัวด้วย
3
แนะนำกองทุน SSF/RMF ตัวจึ้ง!
🤩 แนะนำกองทุน SSF/RMF ตัวจึ้งที่ห้ามพลาดลงทุนเลย!
⭐️ สำหรับสายเซฟ เน้นโอกาสเงินโตอย่างยั่งยืน ไม่โยโย่ เลือก 👉 KFAFIXSSF/ KFAFIXRMF
⭐️ สำหรับสายซอฟต์ ที่เล็งโอกาสผลตอบแทนสูงขึ้น แต่ไม่อยากลุยหุ้นเต็มร้อย สามารถลงใจเลือก
กลุ่ม KF1 (Krungsri The One) ถ้าเน้นลงทุนในประเทศ
👉 KF1MILDSSF / KF1MEANSSF / KF1MAXSSF กองทุนรวมเพื่อการออมซึ่งเป็นกองทุนรวมผสม / กองทุนฟีดเดอร์ / กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน
👉 KF1MILDRMF / KF1MEANRMF / KF1MAXRMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งเป็นกองทุนรวมผสม / กองทุนฟีดเดอร์ / กองทุนรวมที่มีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ. เดียวกัน
ถ้าเน้นลงทุนไปไกลได้ทั่วโลก เลือก👉 KFCORESSF/RMF
แต่ถ้าใครมีใจให้หุ้น Defensive ไม่หวือหวา เลือก 👉 KFGBRANSSF/RMF
💵 กำเงินมาเพียง 500 บาทก็เริ่มต้นลงทุนกับ บลจ.กรุงศรี ได้เลย!
👉 ดูรายละเอียดโปรโมชันและกองทุนแนะนำ คลิกที่นี่ https://bit.ly/SSF_RMF_Pro2023
📱 @ccess Mobile แอปรู้ใจสายกองทุน จะลงทุน SSF | RMF กองทุนไหนก็คลิกซื้อได้ง่ายๆ ดาวน์โหลดแอปคลิกที่นี่ https://krungsriasset.onelink.me/RUCv/z1gjyanf
💳 ซื้อกองทุน SSF | RMF ผ่านบัตรเครดิตกรุงศรีที่ร่วมรายการ และแลกคะแนนกรุงศรี พอยต์ และกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ รีวอร์ด เป็นเงินลงทุนกองทุนกรุงศรีได้ ผ่าน @ccess Mobile และ @ccess Online โดยทุก 1,000 พอยต์ = เงินลงทุน 100 บาท (การซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตไม่เข้าร่วมรายการส่งเสริมการขายกับบัตรเครดิต)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี โทร. 026575757 หรือทางเว็บไซต์ https://www.krungsriasset.com
ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | กองทุนกรุงศรี The One SSF/ RMF, KFCORESSF/ RMF และ KFGBRANSSF/RMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไร หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
#กองทุนกรุงศรี #SSF #RMF #กองทุนแนะนำ #กองทุนไหนดี #กองทุนลดหย่อนภาษี #ลดหย่อนภาษีปีนี้ #accessMobile
โฆษณา