24 พ.ย. 2023 เวลา 15:48 • ธุรกิจ
บะหว้า

ทักษะการเงินชุมชน ควรยกระดับใช้ประโยชน์ด้านธุรกิจ

เรื่องบัญชีการเงินกับชาวบ้านแล้ว ถือเป็นมารร้ายเข้าถึงยากและมีคำสาปแตกแยก จากการลงพื้นที่หลายชุมชนผมมั่นใจว่าทุกคนได้รับการเพิ่มทักษะทำบัญชีครัวเรือนมามากแล้ว ดังนั้นผมจะไม่แนะนำการลงบัญชีรายวัน จะบอกกับชุมชนว่า "เคยทำแบบไหนให้ทำแบบนั้นก่อน หลักการเดียวกัน บวกรายรับ ลบรายจ่าย" เดียวผมจะมาเพิ่มรายละเอียดที่หลัง
7
คุณวิเชียร หรือยายตุ้ม เทพธิดานางฟ้าแห่งชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบ้านบะหว้า ทางกลุ่มได้มอบตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งธุรการและบริหาร ได้แสดงศาสตร์เผยตำราการทำบัญชีกลุ่มที่ชุมชนให้การยอมรับ ปรับมาใช้กับอาชีพเห็ด คุณยายจัดทำบัญชีแยกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ บัญชีรายรับ บัญชีแรงงาน บัญชีรายจ่าย
ตัวอย่างการทำบัญชีโดยภูมิชาวบ้าน
ผมคุยกับคุณยายว่า ถ้าอาชีพเพาะเห็ดเราน่าจะเพิ่มการบันทึกปริมาณที่เห็ดเกิดดอกในแต่ละวัน ก่อนจะนำไปจำหน่ายหรือแบ่งสมาชิกบริโภค คุณยายตุ้มบอกกับผมว่าสบายมาก ผ่านไปไม่นานคุณยายได้ยอดสรุป เห็ดนางฟ้าโรงเรือนนี้มี 3,500 ก้อน เปิดดอก 20 วัน เกิดดอกแล้ว 110 ก.ก มียอดขายมากกว่า 9,000 บาท แบ่งกินอีกจำนวนหนึ่ง
ได้แลกเปลี่ยนไอเดียกันต่อ ตัวเลขสถิติรายวันเหล่านี้เรียกว่า "ข้อมูลเชิงปริมาณ" เรานำผลสรุปไปใช้ประโยชน์ และสามารถวิเคราะห์ให้ทำนายหรือคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตได้ ถ้ามีโอกาสเข้าพบหน่วยงานพัฒนาหรือนักธุรกิจ/พ่อค้า จะเป็นข้อมูลช่วยพูดคุยการค้าเพื่อขยายการผลิตได้ เช่น "ถ้าลงทุนหรือสนับสนุนเราจะเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมเท่าไหร่"
ผมได้เล่าเส้นทางการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยมีจุดเริ่มต้นสำคัญมาจาก "การลงบันทึกบัญชีรายวัน" คุณยายตุ้มได้พูดขึ้นมาว่า "ยายทำบัญชีรายวันแบบชาวบ้าน เพื่อความโปร่งใส่สมาชิกกลุ่มรู้สึกมั่นใจ ยังวิเคราะห์แบบนั้นไม่เป็น" ผมจึงบอกกับคุณยายว่า "ชุมชนทำได้ขนาดนี้สุดยอดมากแล้วครับ การวิเคราะห์ที่ผมพูดถึงเป็นโปรแกรมจะเรียก AI ก็ได้ จะแสดงผลตามที่เราต้องการ เพียงแค่เรานำข้อมูลที่คุณยายมีอยู่เข้าไป" คุณยายได้ตอบว่า "ขอบคุณนะคะที่ช่วยชี้ช่องทางให้ชุมชนก้าวเดินขึ้นไปอีกขั้น"
ผมไม่แน่ใจว่าคุณยายจะสื่ออะไร แต่ผมบอกว่า "ที่เราคุยกันนี้เป็นศาสตร์ของชุมชน ผมกำลังศึกษาว่าปัจจุบันมันเป็นยังไง จะเพิ่มเติมยังไง" แต่ผมคิดว่าคุณยายคงเกิดไอเดียอะไรสักอย่าง เรื่องราวแลกเปลี่ยนพูดคุยวันนี้มันทำให้ผมมันใจว่า "App ตามปลูกตามเก็บ" ที่กำลังพัฒนาจะตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยเหลือกลุ่มชุมชนเห็ดเศรษฐกิจได้อย่างมาก
และที่สำคัญกระบวนการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ซึ่งผมเชื่อว่าปัจจุบันองค์ความรู้แต่ละชุมชนแต่ละคนมีอยู่แล้วและแตกต่างกัน อยู่ที่ว่านักพัฒนาจะเข้าถึงเพื่อจุดพลังเติมวิชาเหล่านั้นได้อย่างไร "แนวคิดวิธีการนี้" เกิดจากที่ผมสังเกตุชุมชนจะมีสมุดโน๊ตแยก ก่อนจะมาลงบัญชีที่โครงการทำขึ้น คำถามว่า "ทำไม" จึงเกิดขึ้นกับผม จึงนำมาสู่การหาคำตอบ พื้นที่ตัวอย่างการบัญชีของบ้านบะหว้าในครั้งนี้ เป็นคำตอบหนึ่ง "ทักษะการเงินบัญชีชุมชน ควรยกระดับใช้ประโยชน์ด้านธุรกิจได้แล้ว"
  • VDO ลงทุนเห็ดเอาพอได้ เหลือทุนไว้ต่อยอดคือเป้าเริ่มครั้งแรก
โฆษณา