Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
CPD Academy
•
ติดตาม
1 ธ.ค. 2023 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
เงินปันผล บันทึกบัญชียังไง มีประเด็นทางภาษีอะไรบ้าง
เวลาซื้อหุ้น ถือหุ้น ก็ต้องมีผลตอบแทนจากการลงทุนใช่ไหมล่ะ ผลตอบแทนจากการลงทุนนี้เราเรียกมันว่า “เงินปันผล” วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับเงินปันผลให้มากขึ้น ผ่านมุมมองของบัญชี และภาษี ที่หลายคนมักมองข้ามกันค่ะ
เงินปันผลคืออะไร 💸
เงินปันผล คือ ส่วนแบ่งกำไรที่กิจการทำมาหาได้สุทธิแล้ว ซึ่งจะเก็บอยู่ในรูปกำไรสะสมของกิจการ โดยเงินส่วนนี้สามารถนำมาปันผลจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ ตามสัดส่วนการถือครองหุ้น
📌ลักษณะของเงินปันผล ที่หลายคนมักจะไม่รู้!!
1. เป็นส่วนหักลบของกำไรสะสม
2. ต้องมีกำไรสะสม และทุนสำรองตามกฎหมาย ถึงจะจ่ายปันผลได้
3. ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท แต่เป็นเงินได้ของผู้ถือหุ้น
4. หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของมูลค่าเงินปันผลจ่าย
จ่ายปันผลต้องทำยังไง
1. เชิญประชุม+จัดประชุมผู้ถือหุ้น+ประกาศจ่ายปันผล
2. จ่ายเงินปันผลภายใน 30 วัน หลังประกาศจ่าย
3. ยื่น ภ.ง.ด. 2 ภายใน 7 วัน (15 วัน ออนไลน์) นับตั้งแต่สิ้นเดือนที่จ่าย
ประเด็นทางภาษี เงินปันผล
ภาษีนิติบุคคล : ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายบริษัท, เป็นเงินได้ผู้ถือหุ้น (มีข้อยกเว้น 65 ทวิ(10))
ภาษีบุคคลธรรมดา : เป็นเงินได้ / ใช้สิทธิ์ Final Tax ไม่นำมารวมคำนวณเงินได้ประจำปี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ไม่ใช่การขายหรือให้บริการ ไม่มี Vat
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : หัก ณ ที่จ่าย 10% ของมูลค่าเงินปันผล, ใช้เป็นเครดิตภาษี / บุคคลใช้สิทธิ์ Final Tax ได้
เข้าเงื่อนไข BOI : ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย, ผู้ถือหุ้นได้รับยกเว้นภาษี
สรุป
เงินปันผลเปรียบเสมือนผลตอบแทนของนักลงทุน เพราะจะปันผลได้ กิจการก็ต้องมีกำไรก่อน ซึ่งอาจจะบอกได้ว่า บริษัทกำลังอยู่ในทิศทางที่ดี มีผลกำไร นักลงทุนก็แฮปปี้ ได้รับปันผลกันถ้วนหน้า
แต่อีกมุมนึง ก็ไม่ควรจะละเลย เรื่องบัญชี ภาษี เพราะมีเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย สำหรับเงินปันผล หวังว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ค่ะ
อยากเริ่มต้นอบรมเก็บชั่วโมง CPD กับเรา ไม่รู้จะเริ่มยังไง ปรึกษาเราได้ที่นี่
Line: @cpdacademy หรือ
https://lin.ee/36U1ks0Y
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย