28 พ.ย. 2023 เวลา 09:00 • ธุรกิจ

ชฎาทิพ จูตระกูล Soft Power เป็น New Growth Engine สร้างคุณค่าให้เป็นมูลค่า

ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทสยามพิวรรธน์ และกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กล่าวถึงมุมมองเรื่อง Soft Power โดยยกกรณีตัวอย่างในญี่ปุ่นที่ทำเรื่องซอฟต์พาวเวอร์มายาวนานกว่าใคร มีโครงการ Cool Japan และใช้วัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาพัฒนา Local wisdom ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะแอนิเมชั่นที่ทำรายได้เข้าประเทศได้มากถึง 1.03 ล้านล้านบาท ส่วนปีนี้การสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของญี่ปุ่นจะมีมูลค่าแตะถึง 2.55 ล้านล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 9.5%
ส่วนเกาหลีใต้ได้สร้าง Korea Wave และ The Korea Creative Content Agency (KOCCA) สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศและสร้างงานได้มากกว่า 16,000 ตำแหน่ง จนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกาหลีใต้ถึง 2.3 ล้านล้านวอน ซึ่งเป็นจุดพิสูจน์ว่าเขาทำเป็นรูปธรรม
ความสำเร็จเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ของไทยจริง ๆ ที่เราควรโฟกัส อันดับแรก ทำอย่างไรที่จะนำความแตกต่างทางวัฒนธรรมมาบอกเล่าอย่างรูปธรรม สนับสนุนรัฐบาล และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาสังคม ภาคประชาชน สร้าง partnership พัฒนาสมบัติชาติ และภูมิปัญญาทางความคิดให้เกิดเป็นธุรกิจให้ได้
ที่สำคัญมาก คือจะคิดหรือทำอะไร ถ้าเราไม่มี Communication Platform ที่ใช่และถูกต้อง สามารถสื่อสารไปทั่วโลก เล่าเรื่องราวที่อันดับแรกคนไทยฟังแล้วเลื่อมใสกันเองอยากสนับสนุน อันดับสองพูดไปทั่วโลกแล้วทุกคนได้ใจเข้าใจว่าไทยมีอะไรดี และอยากมาไทยหรืออยากเป็นแบบอย่างเรา
ถามว่าตอนนี้ไทยอยู่ไหนในเวทีโลก เรามีศักยภาพมากมาย แม้เราจะมี GDP เป็นอันดับ 91 ของโลก แต่กรุงเทพฯและประเทศไทยเป็นหนึ่งในใจคนทั้งโลกอยากมาเยี่ยมชมอยู่แล้ว การท่องเที่ยวของเราแข็งแรงมากว่า 60 ปี เรามีต้นทุนที่ดีมากทางวัฒนธรรม
ประเทศไทยจริง ๆ มีคนทำเรื่องเกม เป็นเกมเมอร์และในระบบเกม มากถึง 32 ล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย และใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถามว่าสิ่งนี้ Skill set ของเราจะต่อยอดได้ยังไง นอกเหนือจากที่เรารู้ดีกันอยู่แล้วว่ามี อาหาร มวยไทย สงกรานต์เฟสติวัล ซึ่งส่วนใหญ่คือ ‘แบรนดิ้งของชาติ’ จากการจัดอันดับ Soft Power Nation แล้ว เรายังเป็นอันดับที่ 41 ดังน้ันแปลว่าเรามีโอกาสที่จะช่วยกันถีบตัวเองขึ้นไปให้ไปอยู่ระดับต้นๆได้
มูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย อยู่ที่ 1.358 ล้านล้านบาท เป็นมูลค่าเศรษฐกิจที่โตทุกปี แต่การโตมันเริ่มถดถอย ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์มาเพื่อพัฒนาคน บูรณาการให้สิ่งที่มีอยู่เป็นรูปธรรม
“มุมมองดิชั้นคิดว่า การบูรณาการปั้นซอฟต์​พาวเวอร์ ท้ายสุดต้องสร้างรายได้ให้ 77 จังหวัด ไม่ใช่สนุกกันภาคภูมิใจ แต่ไม่ได้เงิน ดังนั้นซอฟต์พาวเวอร์จะกลายเป็นเงินได้อย่างไร”
สิ่งที่เราควรทำทั้งภาครัฐ เอกชน ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดสามารถมียุทธศาตร์​ซอฟต์พาวเวอร์ของตัวเองได้ว่าแต่ละจังหวัดเรามีอะไรที่ดี จุดแข็งจุดขาย ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือที่คนทำได้ดี มีอะไรบ้างที่เรามี มีงานเฟสติวัลอะไรดี ๆ ที่คนแห่กันมามาก
1
ถ้าเราเริ่มต้นเห็นจังหวัดเหมือนกับหน่ึงบริษัทที่ทุกคน ทั้งภาครัฐ เอกชน สมาคมต่างๆ จะมาช่วยคิดว่ายุทธศาสตร์แต่ละจังหวัดในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร เมื่อได้ยุทธศาสตร์ทำเป็นแผนและกำหนดกลยุทธ์ว่าแต่ละจังหวัดเราจะซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ใครทำอะไรที่ไม่แข่งขันกันจนเกินไป ก่อให้เกิด Action Plan และท้ายสุด คือ เมื่อได้ Plan ถูกต้อง และรัฐบาลเข้ามาช่วย เราจะสามารถลงมือให้แผนนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว”
2
รัฐมีงบประมาณ ส่วนกระบวนการร่วมมือช่วยเหลือกัน สถานศึกษาก็พัฒนาคนในจังหวัดตอบโจทย์ซอฟท์พาวเวอร์คือมีอะไรที่ดีอยู่แล้ว นักศึกษาจะเลือกวิชาชีพธุรกิจอะไรที่จะโฟกัสเรื่องนั้นให้จังหวัดเจริญ ท้ายสุดทำอย่างไรให้ทุกครัวเรือนมีรายได้ ทำให้ Local Hero กลายเป็น Global Hero ให้ได้
ถ้าเราสามารถพัฒนาคนสักประมาณ 30 ล้านคนของประชากรของไทยให้ทำในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่แล้วเก่งอยู่แล้ว แต่ดีขึ้นไปเรื่อยๆ โฟกัสมากขึ้น ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง เอกชน สมาคม รัฐบาล เชื่อว่า ซอฟต์พาวเวอร์จะเป็นตัวไดร์ฟให้เกิดงานเกิดรายได้ เรากำลังจะเปลี่ยนสิ่งซึ่งแต่ก่อนเราคิดว่ามีแค่คุณค่าให้กลายเป็นมูลค่า
“เรามองเห็น Soft Power เป็น New Growth Engine ไม่ใช่เรื่องเก่า เป็นเรื่องเดิมที่เล่าใหม่ คิดใหม่ทำใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้”
สรุปบางตอนจากงานสัมมนาเรื่อง “Connect The Dots For Competitive” ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ คร้ังที่ 41 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 90 ปี หอการค้าไทย
#TODAYBizview
#MakeTomorrowTODAY
โฆษณา