Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dime!
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
29 พ.ย. 2023 เวลา 10:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รู้จักหุ้น JPARK บริษัทให้เช่าที่จอดรถ ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย
หากใครเคยไปแถวสยามแล้วสังเกตดี ๆ จะพบว่าที่จอดรถบริเวณนั้นมีป้ายตัวอักษร J สีฟ้าวงกลมอยู่ ซึ่งรู้หรือไม่ว่านั่นคือสัญลักษณ์ของบริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยในชื่อ “JPARK”
คำถามที่น่าคิดต่อคือ ทุกคนคิดว่า JPARK ธุรกิจให้เช่าที่จอดรถสามารถทำเงินได้กี่ล้านบาท และธุรกิจนี้มีทิศทางเป็นอย่างไร ? ถ้าไม่รู้ก็ไม่เป็นไร เพราะ Dime! จะสรุปธุรกิจของ JPARK ให้อ่านกัน
JPARK หรือบริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งโดยคุณสันติพล เจนวัฒนไพศาล ในปี 2541
โดยในช่วงเริ่มต้นบริษัททำธุรกิจให้บริการออกแบบและศึกษาความเป็นไปได้ทางวิศวกรรมในการลงทุนโครงการก่อสร้างสนามบินในพื้นที่ต่างจังหวัดให้แก่กรมท่าอากาศยาน
ต่อมาคุณสันติพลเห็นโอกาสในธุรกิจการให้บริการที่จอดรถแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ ที่มีปัญหาการขาดแคลนที่จอดรถ ปัญหารถหาย ของใช้ส่วนตัวในรถถูกขโมย และการอำนวยความสะดวกในการจอดรถแต่ละแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เขาจึงได้นำเสนอโครงการที่จอดรถทำเลแรกสุดในปี 2545 คือ พื้นที่บริเวณตลาดสดสามย่าน ถนนพญาไท ให้กับเจ้าของสถานที่
โดยบริษัทเสนอตัวเข้ารับบริหารพื้นที่จอดให้แก่พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนที่มาใช้บริการ ซึ่งเจ้าของสถานที่ก็เห็นด้วยกับแนวทางที่บริษัทเสนอ เลยตกลงจับมือกัน
บริษัทได้รับค่าบริการที่จอดรถเป็นค่าตอบแทน ขณะเดียวกันนอกจากเจ้าของสถานที่จะได้รับค่าเช่าที่แล้ว การจอดรถเป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้เจ้าของพึงพอใจมาก ๆ
จากความสำเร็จที่เล่าไป ทำให้คุณสันติพลหันมาการบริหารพื้นที่จอดรถไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยการมองหาทำเลที่มีศักยภาพสำหรับทำเป็นสถานที่ให้บริการรับจอดรถ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานที่หลายแห่ง ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ตอนนี้หลายคนจะรู้แล้วว่า JPARK ทำธุรกิจให้เช่าที่จอดรถ แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วธุรกิจของ JPARK สามารถแบ่งแยกย่อยได้ 3 กลุ่ม
1. ธุรกิจให้บริการที่จอดรถ
บริษัทจะไปเช่าสถานที่ต่าง ๆ โดยนำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้บริการที่จอดรถ ซึ่งรายได้มาจากการเก็บค่าบริการที่จอดรถ จากผู้ที่มาใช้บริการ
ผู้ใช้บริการจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ 1. ผู้ใช้บริการแบบทั่วไป 2. ผู้ใช้บริการแบบรายเดือน
ส่วนของการคิดค่าบริการจะคิดแยกตามสถานที่
- สำหรับสถานที่ราชการ หน่วยงานเจ้าของกรรมสิทธิ์พื้นที่จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าจอดรถ
- สำหรับสถานที่เอกชน บริษัทจะเป็นผู้ร่วมกำหนดอัตราค่าจอดรถกับเจ้าของกรรมสิทธิ์พื้นที่ โดยจะใช้ราคาที่ใกล้เคียงกับที่จอดรถบริเวณรอบข้าง
ในปี 2565 รายได้ 278.61 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61.22% ของรายได้ทั้งหมด
บริษัทมีพื้นที่ให้บริการที่จอดรถ จำนวน 42 แห่ง รวมช่องจอดกว่า 13,500 ช่อง แบ่งเป็นพื้นที่บริเวณกรุงเทพและปริมณฑล 39 แห่ง และพื้นที่ต่างจังหวัด 3 แห่ง
หลัก ๆ บริษัทจะเลือกลงทุนในพื้นที่แถวศูนย์การค้าและตลาด รองลงมาคือโรงพยาบาล และสถานศึกษา
โดยที่จอดรถยนต์มีตามดังนี้
- บริเวณสวนหลวง-สามย่าน 7 แห่ง มี 1,418 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณสยามสแควร์ 4 แห่ง มี 2,276 ช่องจอดรถยนต์
- สยามสแควร์วัน มี 173 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) 3 แห่ง มี 1,004 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณจุฬำลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 แห่ง มี 2,245 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณโรงพยาบาลวชิระ 8 แห่ง มี 2,375 ช่องจอดรถยนต์
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มี 700 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณสภากาชาดไทย 2 แห่ง มี 214 ช่องจอดรถยนต์
- ท่าอากาศยานอุบลราชธานี มี 215 ช่องจอดรถยนต์
- ท่าอากาศยานขอนแก่น มี 500 ช่องจอดรถยนต์
- บริเวณอื่น ๆ มี 1,358 ช่องจอดรถยนต์
อีกอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ค่าเช่า โดย JPARK จะโดนเก็บค่าเช่าแบบคงที่เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากถึงจุดคุ้มทุน ที่เหลือกำไรล้วน ๆ
2. ธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ
เป็นผู้รับจ้างในการบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ สำหรับผู้ว่าจ้างที่ได้มีการลงทุนในอุปกรณ์และระบบในการบริหารที่จอดรถแล้ว
โดยบริษัทจะให้บริการจัดเก็บค่าบริการที่จอดรถให้แก่ผู้ว่าจ้างเท่านั้น และได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนตามที่ได้ตกลง ไม่ขึ้นลงตามจำนวนผู้ใช้บริการ เป็นรายได้ช่องทางหนึ่งที่สร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับบริษัท
ซึ่งพื้นที่ที่บริษัทรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถในปัจจุบัน จะอยู่บริเวณจุดเชื่อมต่อ-จุดเปลี่ยนผ่านกับระบบขนส่งสาธารณะ และอาคารสำนักงาน
อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง, สายสีน้ำเงิน, สายสีเขียวเหนือ และสายสีเขียวใต้ โดยมีช่องจอดรถยนต์จำนวน 11,339 ช่อง ระยะเวลาจ้างตามสัญญาอยู่ที่ 36 เดือน ซึ่งสัญญาล่าสุดหมดตุลาคม 2567
ในปี 2565 รายได้ 79.85 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17.55% ของรายได้ทั้งหมด
3. ธุรกิจให้คำปรึกษาและรับติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ
ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา และติดตั้งอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพื้นที่รถ
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้คือ บางโครงการที่บริษัทให้คำปรึกษา สามารถต่อยอดไปยังบริการรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ หรือพูดง่าย ๆ ว่าสร้างรายได้ 2 ต่อ
โดยที่ผ่านมาทั้งหมดมี 5 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกว่า 160 ล้านบาท ซึ่งมีลูกค้าคือ ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที
จะเห็นได้ว่า ลูกค้าล้วนเป็นบริษัทหรือไม่ก็หน่วยงานรัฐใหญ่ ๆ กันทั้งนั้น
ในปี 2565 รายได้ 69.86 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.35% ของรายได้ทั้งหมด
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า รายได้หลัก ๆ ของ JPARK ก็มาจากธุรกิจให้บริการที่จอดรถ ดังนั้นเราควรจะมาโฟกัสความเสี่ยงของธุรกิจนี้
โดยความเสี่ยงของธุรกิจให้บริการที่จอดรถอย่างแรกคือ พึ่งพิงผู้ให้เช่าพื้นที่จอดรถรายใหญ่
45% ของจำนวนช่องจอดทั้งหมดมาจากผู้ให้เช่าพื้นที่รายเดียว ซึ่งสร้างเงินถึง 55% ของธุรกิจให้บริการที่จอดรถ ดังนั้นหากผู้ให้เช่าไม่ต่อสัญญา รายได้ก็จะหายไปถึง 30% เลยทีเดียว
ความเสี่ยงที่สองคือ เรื่องของราคาที่ไม่สามารถขยับห่างจากรายอื่น ๆ ได้ หรือพูดง่าย ๆ ว่า ไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้า หากที่จอดรถบริเวณรอบข้างนั้นยังว่างอยู่
ส่วนธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถก็มีความเสี่ยงที่คล้าย ๆ กันคือ พึ่งพิงรายได้จากลูกค้ารายใหญ่
โดย 77% - 83% ของรายได้จากธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ มาจากรายเดียว โดยสัญญายาวเพียง 3 ปี แต่ที่ผ่านมาถือว่าเป็นไปได้ดี เพราะถูกจ้างมาต่อเนื่อง 15 ปีแล้ว
คู่แข่งมีใครบ้าง ?
1. บริษัท ปาร์คพลัส จำกัด มีรายได้ในปี 2565 ที่ 454.7 ล้านบาท
2. บริษัท นิปปอน พาร์คกิ้ง ดีเวลลอปเมนท์ (ประเทศไทย) จำกัด มีรายได้ในปี 2565 ที่ 240.6 ล้านบาท
แล้วผลประกอบการโดยรวมของ JPARK ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?
ปี 2563 รายได้ 285.73 ล้านบาท กำไร 6.51 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 241.21 ล้านบาท ขาดทุน 10.99 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 452.30 ล้านบาท กำไร 55.05 ล้านบาท
โดยที่ปี 2564 บริษัทให้เหตุผลว่าขาดทุนจากนโยบายปิดเมือง ส่งผลให้คนมาใช้บริการเช่าที่จอดรถน้อยลง
อย่างไรก็ตามในปี 2565 รัฐบาลยกเลิกนโยบายปิดเมือง และบริษัทมีรายได้จากทั้งธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถและธุรกิจให้คำปรึกษาและรับติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทสามารถกลับมาเติบโตอีกครั้ง
โอกาสเติบโตในอนาคตเป็นอย่างไร ?
จุดที่น่าคิดคือ ธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ และธุรกิจให้คำปรึกษาและรับติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ มีอัตราการเติบโต 41% และ 95% ต่อปี (เฉลี่ยปี 2563-2565) ตามลำดับ ถือว่าเติบโตไม่น้อยเลย และอนาคตดูน่าจะมีโอกาสเติบโตต่อไป จากพื้นที่จอดรถยังเป็นที่ต้องการ
โดยดูได้จากจำนวนรถยนต์ในไทยที่เติบโตต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งล่าสุดรถยนต์ที่จดทะเบียนในไทยมีจำนวนถึง 18.88 ล้านคัน
นอกจากจะทำให้รายได้โตเพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพาธุรกิจให้บริการที่จอดรถแล้ว
ยังช่วยให้บริษัททำกำไรได้ดีขึ้นด้วย จากเดิมที่ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทในปี 2563 คิดเป็นสัดส่วนถึง 97% ของรายได้ ปี 2565 สัดส่วนลดเหลือ 85.22% ของรายได้
กำไรขั้นต้นของแต่ละธุรกิจ
- ธุรกิจให้บริการที่จอดรถ GPM 13.24%
- ธุรกิจรับจ้างบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ GPM 36.50%
- ธุรกิจให้คำปรึกษาและรับติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถ GPM 31.69%
จะเห็นได้ว่ากำไรขั้นต้นของ 2 ธุรกิจหลังมาถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับธุรกิจให้บริการที่จอดรถ
ทั้งนี้ธุรกิจให้คำปรึกษาและรับติดตั้งระบบบริหารจัดการพื้นที่จอดรถเพิ่งเริ่มในปี 2562 แต่สามารถสร้างรายได้เป็นสัดส่วนถึง 15% ของรายได้ทั้งหมด ภายในเวลา 3 ปีเท่านั้น
สรุปได้ว่า ถ้าสนใจหุ้น JPARK ก็ไม่ควรที่จะลืมโฟกัสธุรกิจ 2 ส่วนที่เหลือด้วยนอกจากธุรกิจให้บริการที่จอดรถ
และนี่คือข้อมูลที่น่ารู้ของหุ้น JPARK บริษัทให้เช่าที่จอดรถ ที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย หากเพื่อน ๆ ต้องการศึกษาข้อมูลต่อ สามารถหาข้อมูลได้เลยที่
https://www.set.or.th/th/market/product/stock/quote/JPARK/company-profile/information
และ
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=527440&lang=th
และหากสนใจลงทุนหุ้น JPARK ก็สามารถลงทุนผ่านแอป Dime! ได้เลยที่
https://dimekkp.onelink.me/sq7H/pya1dxrd
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นโดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะ ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือซึ่งปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ที่มา Filing ของ JPARK ณ วันที่ 29 ส.ค. 66
════════════════════
#เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน
════════════════════
Dime! เปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องสนุก เพื่อความสุขอย่างเท่าเทียมของทุกคน
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Dime! ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ใบอนุญาตเลขที่ ลก-0007-02
ติดตามเราในช่องทางต่าง ๆ ได้ที่
Facebook -
https://www.facebook.com/dimeinvest
Instagram -
https://www.instagram.com/dime.finance
Twitter -
https://twitter.com/dimefinance
TikTok -
https://www.tiktok.com/@dime.finance
LINE -
https://lin.ee/4W7j4nG
Blockdit -
https://www.blockdit.com/dime.finance
#การเงิน #การลงทุน #หุ้นไทย #JPARK #ธุรกิจให้เช่าที่จอดรถ #ไดม์ #Dime #Dimeออมได้ลงทุนดี
-----
อ้างอิง
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=527440&lang=th
2 บันทึก
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย