5 ธ.ค. 2023 เวลา 03:42 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเงิน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันที่จริงสามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตได้อย่างดี
ไม่ว่าจะอาชีพไหน ไม่เฉพาะแค่เกษตรกร สำคัญต้องยืนบน 3 เสาหลัก นั่นคือ
1.พอประมาณ ต้องประมาณเสียก่อนว่าเท่าไหร่พอ แน่นอน แต่ละคนไม่เท่ากัน วิธีที่จะให้รู้ว่าสำหรับเราเท่าไหร่พอ คือจดบันทึก รายรับ/รายจ่าย
ให้ระวังค่าใช้จ่ายที่มักจะนึกไม่ถึง เช่น ภาษี ดอกเบี้ยบัตรเครดิต หรือประกันชีวิต ประกันรถ เป็นต้น
ในหลวงรัชกาลที่9 ทรงย้ำ”เมื่อจด เมื่อจำ ไม่มีจน” เมื่อเราจดรายจ่าย เราจะรู้ว่าเงินเรารั่วไหลไปกับอะไรบ้าง
2.มีเหตุมีผล สิ่งที่จะซื้อ มีเหตุผลให้ซื้อหรือไม่ ทรงสอนให้ฉลาดซื้อ ซื้อตามความจำเป็นก่อน ซื้อของที่ต้นทุนต่ำต่อหน่วย (มหาเศรษฐีโลกหลายคน หรือที่ปรึกษาการเงินชื่อดังล้วนแล้ว แต่มองหาของที่จำเป็นใช้ ในตอนลดราคาเช่นกัน) พระองค์ทรงสอนให้ฉลาดใช้ของ รู้จักบำรุงรักษาเพื่อใช้งานได้นานและคุ้มค่า และยังทรงสอนให้มีความสุขอย่างพอเพียง ไม่ได้ให้อยู่อย่างไม่มีความสุขเลย แต่ต้อง”ฉลาดใช้ชีวิต”คือต้องไม่ซื้อความสุขระยะสั้นเกินตัว จนนำความทุกข์ระยะยาวมาให้ตัวเอง
3.เสาหลักสุดท้าย คือมีภูมิคุ้มกัน นั่นคือใช้เงินเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องเหลือภูมิคุ้มกันทางการเงินให้ตัวเอง ป่วยไม่มีปัญหาค่ารักษา ฉุกเฉินมีเงินสำรอง แก่ต้องมีเงินดูแลตัวเองได้ เป็นต้น
นี่คือ 3 เสาหลัก ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ทรงสอนให้
ฉลาดหา = เพิ่มรายได้
ลงทุนค้าขาย=ใช้แรงงานบวกแรงเงิน
ลงทุนการศึกษา=แรงงานบวกแรงเงิน (ใช้เงินเรียนรู้เพิ่มความสามารถในการหาเงินอีกที)
ฉลาดซื้อ/ฉลาดใช้=ลดรายจ่าย
ฉลาดใช้ชีวิต=มีความสุขอย่างพอเพียง จะสุขยาวนานหรือยั่งยืน
นี่คือเกร็ดบางส่วน จากหนังสือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาล้ำค่า ที่จะช่วยให้พวกเราหลุดพ้นจากความยากจน ก้าวสู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
โฆษณา