8 ธ.ค. 2023 เวลา 04:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

หลักการลงทุน หุ้น 10 เด้ง ของนายก ThaiVI คนปัจจุบัน

ตลอดเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา มีนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าท่านหนึ่ง ที่สามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนแบบทบต้น ได้มากกว่า 30% ต่อปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก
3
คิดง่าย ๆ ว่า ด้วยผลตอบแทนและระยะเวลาในการลงทุนเท่านี้ สามารถเปลี่ยนจากเงิน 1 ล้านบาท ให้กลายเป็นเงินสูงถึง 190 ล้านบาทได้เลย
1
นักลงทุนท่านนั้น ก็คือ คุณเฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
หรือ พี่เชาว์ นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ ThaiVI คนปัจจุบัน นั่นเอง
แล้วพี่เชาว์มีหลักการลงทุนอย่างไร ถึงสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงต่อเนื่อง แบบนี้ได้ ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
3
หลักการลงทุนของพี่เชาว์ สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
1. ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองรู้จัก และเข้าใจเป็นอย่างดี
การลงทุนคือการคาดการณ์อนาคตของสิ่งที่เราจะลงทุนให้ถูกต้อง ถ้าเราสามารถคาดการณ์อนาคตได้ถูกต้อง เราก็จะได้กำไร
ในการจะคาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำนั้น เราจะต้องรู้จักและเข้าใจในธุรกิจของบริษัทที่เราจะลงทุน อย่างละเอียด
เช่น รู้ว่าบริษัททำธุรกิจอะไร และมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
หากเราเข้าใจธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างดี เราก็จะสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทได้แม่นยำขึ้น
สำหรับโลกของการลงทุนแล้ว ความเสี่ยงที่สุด ก็คือความไม่รู้
ถ้าเราลงทุนในสิ่งที่เราไม่รู้จักและไม่เข้าใจ นั่นนับเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด และมีโอกาสสูงมาก ที่จะทำให้เราขาดทุนได้
สำหรับวิธีที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้เราเข้าใจบริษัทอย่างละเอียด ก็คือ การทำ Scuttlebutt
การทำ Scuttlebutt คือการตรวจสอบคุณภาพของบริษัทในเชิงลึก ในทุก ๆ ด้าน
เช่น การตรวจสอบว่าลูกค้า, คู่แข่ง, ซัปพลายเออร์, พนักงาน และผู้จัดจำหน่าย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทที่เราสนใจจะลงทุนอย่างไร
นอกจากนี้ การทำ Scuttlebutt ยังรวมไปถึงการตรวจสอบบุคลิกและพฤติกรรมของผู้บริหารด้วย เพื่อวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารเป็นคนมีธรรมาภิบาลและน่าเชื่อถือหรือไม่
ยิ่งเราสามารถ Scuttlebutt บริษัทได้ละเอียดเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้เราเข้าใจบริษัทได้ดีขึ้น
1
2. ลงทุนในธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
ในโลกของธุรกิจ มีความไม่แน่นอนอยู่สูงมาก เพราะอย่างที่เราได้เห็นกันมาตลอดว่า บริษัทที่เคยโด่งดังมากในอดีต มาวันนี้ ก็อาจมีบางบริษัทล้มหายตายจากกันไปบ้าง
แต่ที่ผ่านมา ก็มีบางบริษัทที่ยังอยู่รอด ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติเศรษฐกิจมาได้เสมอ และกิจการของบริษัท ก็ยังสามารถเติบโตขึ้นมาได้ ตลอดหลายปี
1
บริษัทแบบนี้คือบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ส่วนประกอบสำคัญ ที่ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- บริษัทมีแบรนด์ของสินค้าที่โดดเด่น
- บริษัทมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและซัปพลายเออร์สูง
- บริษัทมีต้นทุนในการทำธุรกิจที่ต่ำกว่าคู่แข่ง
1
หากบริษัทมีสิ่งเหล่านี้ ก็เปรียบเสมือนมีป้อมปราการที่จะช่วยปกป้อง ให้บริษัทสามารถทำธุรกิจเติบโตต่อไปในอนาคต ได้อย่างยาวนาน
และทำให้มีโอกาสน้อย ที่จะโดนคู่แข่งแย่งชิงส่วนแบ่งทางธุรกิจไปได้ ในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
ดังนั้น บริษัทแบบนี้จึงมักเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง มีรายได้, กำไร, เงินปันผล และกระแสเงินสด เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
บริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน มักจะเป็นบริษัทที่มีความแน่นอนสูง ทำให้เรายังพอสามารถคาดการณ์อนาคตของบริษัทได้ไม่ยากนัก
3. ใช้ “หลักการดันโด” วิเคราะห์ความเสี่ยง
หลักการลงทุนแบบดันโด นั้นมาจากคุณ Mohnish Pabrai นักลงทุนผู้ถอดแบบสไตล์การลงทุน และการบริหารกองทุนมาจากคุณ Warren Buffett
1
ใจความหลักของหลักการลงทุนดังกล่าวก็คือ การพยายามสร้างความมั่งคั่งให้มากที่สุด โดยให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด
ดังนั้น หลักการนี้จะสามารถช่วยเราในการประเมินระหว่างผลตอบแทน และความเสี่ยงจากการลงทุนได้
ผ่านการวิเคราะห์ว่า หากเราคาดการณ์อนาคตได้ถูก เราจะได้ผลตอบแทนเท่าไร และถ้าเราคาดการณ์ผิด เราจะขาดทุนเท่าไร
หากเรานำหลักการดันโดไปใช้ในการลงทุนได้ถูกต้อง
เวลาเราวิเคราะห์ถูก เราก็จะได้กำไรเยอะ
และเมื่อเวลาเราวิเคราะห์ผิด เราก็จะขาดทุนน้อย
4. ลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม
หลักการลงทุนของพี่เชาว์นั้น แค่เลือกหุ้นดีที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างเดียว ยังไม่พอ
แต่จะต้องเลือกลงทุนในช่วงที่มีโอกาสเหมาะสมด้วย คือตอนที่ราคาหุ้นยังถูกอยู่
1
เพราะหากเราซื้อหุ้นมาในราคาที่แพงเกินไป โอกาสที่เราจะได้กำไรสูง ๆ ก็จะมีน้อย แถมยังมีโอกาสในการขาดทุนที่สูงด้วย
ทางที่ดี เราก็ควรจะประเมินมูลค่าของบริษัทให้เป็น และเลือกลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้น อยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
1
แน่นอนว่า บางครั้ง เราอาจจะมีการวิเคราะห์ผิดไป และทำให้เกิดการขาดทุนขึ้นบ้าง
แต่ถ้าเราประยุกต์​ใช้เข้ากับหลักการดันโด เมื่อเราเลือกลงทุนในหุ้นได้ถูกตัว เราก็จะได้กำไรกลับมามากมายมหาศาล
และในที่สุด พอร์ตการลงทุนของเราก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเอง
5. กระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม
นอกจากเราจะต้องหาหุ้นดี มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง และการประเมินมูลค่าอย่างละเอียดแล้ว เรายังต้องมีการกระจายความเสี่ยง ด้วยการถือหุ้นในจำนวนที่เหมาะสมด้วย
สำหรับพี่เชาว์นั้น จำนวนหุ้นที่เหมาะสมในพอร์ต คืออยู่ระหว่าง 5 ถึง 10 ตัว
เพราะถ้าถือมากเกินกว่า 10 ตัว เราก็จะเริ่มติดตามบริษัทเหล่านั้น ไม่ค่อยไหว
แต่ถ้าถือหุ้นน้อยตัวเกินไป ก็เหมือนว่ายังจัดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยงได้ไม่ดีพอ
ที่สำคัญ นอกจากการถือหุ้น 5 ถึง 10 ตัวแล้ว เรายังต้องจัดสัดส่วนด้วยว่า เราควรจะถือหุ้นแต่ละตัว เป็นสัดส่วนเท่าไรของพอร์ตการลงทุน
2
สำหรับหุ้นที่พี่เชาว์มีความมั่นใจในคุณภาพและการเติบโตของกิจการมาก ก็อาจจะถือมากถึง 30% ของพอร์ต
1
แต่ถ้าหุ้นตัวไหนที่ยังไม่มั่นใจในคุณภาพของบริษัทมากนัก พี่เชาว์ก็อาจจะถือเป็นสัดส่วนที่ยังไม่มากนัก
โดยที่หุ้นบางตัว พี่เชาว์เองก็ถือมานานกว่า 10 ปี สาเหตุเพราะว่าบริษัทยังคงมีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และผลประกอบการของบริษัทก็ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอยู่
อ่านมาถึงตรงนี้ หลักการลงทุนของพี่เชาว์นั้น หากจะสรุปเป็นใจความสั้น ๆ ก็คงไม่ต่างกับหนึ่งในคำแนะนำอันโด่งดังของคุณ Warren Buffett นักลงทุนระดับตำนาน ที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า
“หลักการรวบยอดของการลงทุนก็คือ เลือกหุ้นที่ดี ในเวลาที่ดี และถือมันไว้ ตราบเท่าที่มันยังเป็นกิจการที่ดี..”
References
- หนังสือ วิถีแห่ง VI (2023) บท “ลงทุนยังไง ให้ได้หุ้น 10 เด้ง” โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
- หนังสือ ดรีมทีม วีไอ ไทยแลนด์ พอร์ตหมื่นล้าน (2013) โดย ชาลินี กุลแพทย์
- หนังสือ Common Stocks and Uncommon Profits and Other Writings (1957) โดย Philip Fisher
- หนังสือ Warren Buffett Speaks: Wit and Wisdom from the World's Greatest Investor (1997) โดย Janet Lowe
1
โฆษณา