10 ธ.ค. 2023 เวลา 07:59 • ข่าว

ผู้ว่า ธปท. ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า-โตต่ำ แนะลงทุนปฏิรูปโครงสร้าง

“เศรษฐพุฒิ” ผู้ว่าฯแบงก์ชาติเปิดมุมมองเศรษฐกิจไทยปี’67 จีดีพีโต 3.2% ย้ำภาพ “ฟื้นตัว-แต่ช้า” ภาคท่องเที่ยว-การผลิตยังไม่กลับมา ยอมรับศักยภาพเศรษฐกิจไทยโตต่ำ เหตุติดกับดักนโยบายกระตุ้นการบริโภค ขาดนโยบายเชิงโครงสร้าง ไม่ได้เพิ่มศักยภาพการผลิต เติบโตจากอุตสาหกรรมเดิม ๆ ประชากรวัยทำงานหดตัว
5
สะท้อนภาพคนไทย “กรรมเก่า” เยอะจากช่วงโควิด ความมั่งคั่งหดหาย แถมหนี้เพิ่มขึ้น ย้ำเก็บกระสุน-รักษาเงินเฟ้อเป็นสิ่งจำเป็น ยอมรับดอกเบี้ยขาขึ้นทำภาระหนี้คนเพิ่ม ชี้ต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบของ “ภาระหนี้” กับ “ค่าครองชีพ”
3
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 ประเมินอัตราการขยายตัวอยู่ในกรอบ 3.2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้ากรอบ 1-3% คาดการณ์จะอยู่ที่ 2%
โดยภาพรวมเศรษฐกิจยังเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ฟื้นตัวช้า โดยตัวเลขหลายตัวได้กลับมาในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 แต่ไม่ใช่ทุกตัว ซึ่งหากดูในตัวเลขจีดีพีหลังจากที่ดรอปลงไปหนักสุดในช่วงไตรมาสที่ 2/2563 ปัจจุบันทยอยฟื้นตัวกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิดและสูงกว่าที่เคยเป็นอยู่ สะท้อนคำว่า “ฟื้นตัว”
อย่างไรก็ดี ธปท.ไม่ได้ดูเฉพาะตัวเลขจีดีพี แต่หากดูในรายมิติจะเห็นภาพของการฟื้นตัว เช่น ฝั่งอุปสงค์ ทั้งการบริโภคเอกชน และการส่งออก ซึ่งเป็นตัวสำคัญและที่มีน้ำหนัก จะเห็นว่ากลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19 โดยหากเทียบการบริโภคเท่ากับ 100 ปัจจุบันกลับมาอยู่ที่ 115 สะท้อนว่า 15% กลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 หลังจากที่ชะลอลงค่อนข้างแรงในไตรมาสที่ 2/2563 เช่นเดียวกับการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) กลับมาสูงกว่าช่วงโควิด-19
4
ขณะที่ฝั่งอุปทาน ภาคบริการก็กลับมาฟื้นตัวดีกว่าก่อนโควิด ยังมีภาคการผลิต และการท่องเที่ยว ที่ยังไม่กลับมาเท่าช่วงก่อนโควิด ซึ่งปัจจัย 2 ตัวนี้เป็นตัวสำคัญที่สะท้อนเศรษฐกิจ คนดูแบบ “ตาบอดคลำช้าง” คือคนจับตรงนี้บอกว่าดี แต่จับตรงโน้นบอกไม่ใช่
เสมือนว่างงาน 3 ล้านคน
1
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดสิ่งที่แบงก์ชาติเป็นห่วงคือเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคน อย่างเรื่องตัวเลขการจ้างงาน ตอนนี้การจ้างงานนอกภาคเกษตรกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนโควิด-19 โดยภาพรวมอัตราการว่างงานอยู่ที่ประมาณ 1% จากช่วงโควิดอยู่ที่ 2%
แต่ตัวที่สำคัญกว่าคือ ตัวเลข “ผู้เสมือนว่างงาน” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีงานทำ แต่มีงานน้อยกว่าที่ต้องการทำ เพราะสะท้อนถึงการฟื้นตัวไม่เท่ากัน แม้ว่าจะปรับดีขึ้น แต่ยังไม่เท่าก่อนโควิด-19 ซึ่งตัวเลขที่อยู่ราว 2 ล้านคน แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 3 ล้านคน แต่ดีขึ้น
กว่าเมื่อเทียบช่วงโควิด-19 ที่อยู่ประมาณ 6 ล้านคน สะท้อนว่าบางเซ็กเตอร์ยังไม่ได้กลับมา
“ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งหมดอย่างที่บอกเป็นการฟื้น เพราะตัวเลขส่วนใหญ่กลับมาสูงกว่าก่อนโควิดแล้ว แต่การฟื้นช้า อันนี้ไม่เถียง และที่ช้า เนื่องจากเราโดนโควิดหนักกว่าคนอื่น เพราะเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาเรื่องท่องเที่ยวเยอะ แต่ตรงนั้นหายไปนาน แต่ภาพรวมยังเป็นการฟื้นตัว และเป็นการฟื้นตัวที่ค่อนข้างต่อเนื่อง”
กรรมเก่า-ปัญหาสะสม
2
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า เมื่อไปถามคนส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่า “เศรษฐกิจไม่ดี” ซึ่งอธิบายได้ว่ามาจาก 2 เหตุผลด้วย คือ การฟื้นตัวของบางเซ็กเตอร์ที่ยังไม่กลับมา โดยเฉพาะที่ชัดเจนที่สุด คือ ภาคการท่องเที่ยว และภาคการผลิตที่อิงกับการส่งออก เนื่องจากยังเจอปัญหาอุปสงค์จากต่างประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการจ้างงาน รายได้ และหนี้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ของที่สะสมหายไป
1
หรือพูดง่าย ๆ คือ ความมั่งคั่งถูกบั่นทอนลงไปจากปัญหาโควิด-19 ที่ไทยเจอค่อนข้างหนัก ทำให้การฟื้นตัวช้า จึงเป็นเหตุผลให้คนไม่ได้รู้สึกว่ามันดี แม้ว่าตัวเลขจะฟื้นตัวก็ตาม
ซึ่งหากดูตัวเลขนักท่องเที่ยวก่อนโควิด-19 อยู่ที่ราว 40 ล้านคน ซึ่งปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ประมาณ 29-30 ล้านคน แม้ว่าจะฟื้นตัวกลับมาดีกว่าปีก่อนที่อยู่ 10 ล้านคน แต่หากดูช่วงที่มีการปิดประเทศช่วงเดือน เม.ย. 63-ธ.ค. 64 หรือประมาณ 20 เดือน มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพียง 4.3 แสนคน ซึ่งคิดเป็น 1% ของเดิมที่ไทยเคยทำได้
3
ดังนั้น รายได้ของคนหายไปมหาศาล ความมั่งคั่งของคนก็หายไป ซึ่งเป็นของที่สะสมมา แม้ว่าตัวเลขจะทยอยฟื้นตัว แต่เทียบกับ “กรรมเก่า” ปัญหาที่สะสมมาในช่วงโควิดมีเยอะกว่า และหนี้ก็เพิ่มขึ้น โดยช่วงก่อนโควิด-19 ตัวเลขหนี้ครัวเรือนสูงสุด (พีก) อยู่ที่ 95% ต่อจีดีพี แม้ปัจจุบันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนลงมาอยู่ที่ราว 90% ต่อจีดีพี แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูง
โฆษณา