17 ธ.ค. 2023 เวลา 16:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

คงไม่ใช่แค่บังเอิญ? เมื่อจีนส่ง "เครื่องบินอวกาศ" ขึ้นทำภารกิจลับก่อนอเมริกาเพียงไม่กี่วัน

และยังคงเพิ่มแรงกดดันในสนามแข่งขันเทคโนโลยีอวกาศระหว่าง 2 ชาติมหาอำนาจด้านอวกาศต่อไป
โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมาจีนได้ทำการปล่อยจรวด Long March 2F ขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิวกวนในทะเลทรายโกบีกับภารกิจนำ Chinese reusable experimental spacecraft(CCSHQ) หรือเครื่องบินอวกาศขึ้นสู่วงโคจรเพื่อทำภารกิจลับเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ปี 2020
ข้อมูลอันน้อยนิดของภารกิจการทดสอบเครื่องบินอวกาศของจีน
โดยเครื่องบินอวกาศของจีนนี้เป็นยานอวกาศแบบไร้คนขับที่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้
แต่ CCSHQ นั้นไม่เหมือนกับกระสวยอวกาศตรงที่ขาขึ้นสู่อวกาศไม่ได้ต้องติดเครื่องยนต์ของยานเพื่อขึ้นสู่วงโคจร แต่จะถูกนำส่งขึ้นไปด้วยจรวดเป็นสัมภาระเหมือนดาวเทียมที่ถูกบรรทุกขึ้นไปปล่อยในวงโคจรที่ต้องการ
ข้อมูลของจรวด Long March 2F ที่ใช้ส่ง CSSHQ ขึ้นสู่วงโคจร
โดย CSSHQ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายนปี 2020 และโคจรอยู่เป็นเวลา 2 วันก่อนกลับมาลงจอดที่ฐานทัพอากาศในลอบนอร์
ก่อนที่จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งในวันที่ 4 สิงหาคม 2022 โดยในรอบนี้ใช้เวลาโคจรอยู่นานกว่า 276 วันก่อนกลับมาลงจอดที่ฐานทัพอากาศในลอบนอร์เหมือนเดิม
สำหรับภารกิจครั้งล่าสุดนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดว่าจะใช้เวลานานเท่าไหร่และมีแผนการกลับลงจอดที่ลอบนอร์เหมือนเดิมหรือไม่ โดยทางจีนได้ออกมาให้ข้อมูลเพียงแค่ว่าเป็นภารกิจเพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเป็นไปเพื่อสันติ
เครื่อง US X37 space plane เครื่องบินอวกาศของกองทัพอากาศสหรัฐฯ สร้างโดย Boeing
ซึ่งก็เป็นข้ออ้างเดียวกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่ก็กำลังทำการทดสอบบินเครื่อง US X37 space plane ยานอวกาศแบบไร้คนขับที่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้เหมือนกับ CSSHQ แต่ก็ไม่ได้มีรายละเอียดว่าบินขึ้นไปทำภารกิจอะไรกันแน่
1
จากข้อมูลการเฝ้าติดตามโดยหน่วยงานเฝ้าระวังอวกาศของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ (US Space Force) เที่ยวบินทดสอบครั้งที่ 2 ของ CSSHQ นี้ทำการบินในวงโคจรที่ระยะ 348 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งเป็นความสูงในระดับวงโคจรระดับต่ำ(LEO)
1
สำหรับทางฝั่งอเมริกาการบินทดสอบเครื่อง X37 ครั้งล่าสุดกินเวลาทำภารกิจในวงโคจรนานกว่า 908 วันก่อนกลับสู่โลกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
จรวด Falcon Heavy ที่ประจำ ณ ฐานปล่อยรอนำ X37B ขึ้นทำภารกิจอีกครั้งกับภารกิจ USSF-52 ซึ่งถูกเลื่อนกำหนดการปล่อยมาแล้ว 2 รอบ
และ X37 ก็มีกำหนดการขึ้นทำภารกิจอีกครั้งในวันที่ 7 ธันวาคมแล้วก็ถูกเลื่อนมาวันที่ 12 ธันวาคมก่อนที่ล่าสุดจะถูกเลื่อนออกไปอีกด้วยเหตุผลในการตรวจสอบระบบเพิ่มเติมจากปัญหาภาคพื้นดิน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีแจ้งกำหนดการปล่อยตัวที่แน่ชัด
ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภารกิจครั้งล่าสุดของ X37B ในครั้งนี้อาจมีการขยับวงโคจรจากเดิมที่เป็นวงโคจรระดับต่ำ(LEO) อาจจะขึ้นไปถึงวงโคจรพ้องคาบโลก(geosynchronous orbit) ที่อยู่สูง 35,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก ทั้งนี้เพราะจรวด Falcon Heavy นั้นมีความสามารถนำส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศน้ำหนักกว่า 25 ตันขึ้นไปยังวงโคจรพ้องคาบโลกได้
1
ก็ไม่รู้ว่าขึ้นไปทำภารกิจอะไรกัน แต่ที่แน่ ๆ เราจะเห็นได้ว่าจีนเริ่มขึ้นมาเป็นคู่แข่งเต็มตัวในการแข่งขันเทคโนโลยีอวกาศกับสหรัฐฯ แบบเต็มตัวและคงจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ
1
โฆษณา