25 ธ.ค. 2023 เวลา 12:07 • การศึกษา

จัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกสำหรับปี 2024

Times Higher Education ได้เผยแพร่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แห่งสหราชอาณาจักร กลับมายืนหนึ่งอีกครั้ง !
.
ซึ่งเกณฑ์การจัดอันดับ กำหนดตามตัวชี้วัด 5 ประการ ได้แก่ การสอน, สภาพแวดล้อมการวิจัย, คุณภาพงานวิจัย, มุมมองระดับนานาชาติ รายได้และสิทธิบัตร โดยมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเกาะอยู่กลุ่ม 20 อันดับสูงสุด
โดยมีเพียง 3 มหาวิทยาลัยที่แทรกขึ้นมาได้ คือ อันดับที่ 11 สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซือริช (ETH Zürich) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อันดับที่ 12 มหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) กับอันดับ 14 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน และอันดับ 19 คือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)
.
ส่วนประเทศไทย ติดอยู่ในกลุ่มอันดับที่ 601-800 ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และในกลุ่มอันดับที่ 800-1000 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
.
นอกจากนี้ยังมีรายงานผลการวัดระดับในด้านการศึกษาของเยาวชนกลุ่มมัธยมต้นอีกด้วย โดยรายงานจาก PISA (The Programme for International Student Assessment) ซึ่งเป็นโครงการจัดการวัดผลโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD: Organisation for Economic Co-operation and Development) สำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นโครงการประเมินความรู้ความสามารถของเยาวชนอายุ 15 ปี ระดับนานาชาติ ในทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
พบว่าประเทศสิงคโปร์มีประสิทธิภาพด้านการศึกษาอยู่ในอันดับต้นๆ โดยนักเรียนสิงคโปร์มีความเป็นเลิศในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ได้คะแนนสูงถึง 560 คะแนน และยังมีนักเรียนจากสถาบันอื่นๆ ในเอเชียที่ติดอันดับสูงหลายแห่ง เช่น มาเก๊า ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
.
ส่วนนักเรียนจากเอสโตเนีย ได้คะแนนสูงสุดของกลุ่มประเทศในยุโรปในด้านวิทยาศาสตร์ คือ 516 คะแนน ในขณะที่นักเรียนจากไอร์แลนด์ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในการสอบการอ่าน ได้ 516 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 9 และนักเรียนจากแคนาดาได้รับคะแนนสูงสุดของกลุ่มประเทศในอเมริกาเหนือ ขณะที่สหรัฐอเมริกาตามหลังมาในอันดับที่ 18 ด้วยคะแนนรวม 489 คะแนน เป็นต้น
.
นักวิจัยของ OECD กล่าวว่าแม้ว่าช่วงที่ทั่วโลกต้องล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของโควิด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อระบบการศึกษาของนักเรียนทั่วโลก โดยคะแนนรวมเฉลี่ยของการทดสอบคณิตศาสตร์ลดลงประมาณ 15 คะแนนจากปี 2018 ยังมีผลกระทบที่เกิดจากปัญหาเชิงระบบในระยะยาว เช่น การขาดแคลนครูและทรัพยากร ในเวลาเดียวกัน ปริมาณการอ่านลดลงเทียบเท่ากับประมาณครึ่งปี ส่วนคะแนนวิทยาศาสตร์ยังคงเฉลี่ยเท่าเดิม
ซึ่งกลุ่มประเทศที่มีคะแนนต่ำที่สุด ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (353) อุซเบกิสถาน (352) โคโซโว (351) สาธารณรัฐโดมินิกัน (350) และกัมพูชา (337)
.
.
#Humanitas #TVBG #Education #
โฆษณา