24 ธ.ค. 2023 เวลา 03:18 • ความคิดเห็น
คุณไม่ใช่คนเดียวบนโลกที่ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ลักษณะนี้ค่ะ เพราะทฤษฎีทางศศ. บอกไว้มานานมากแล้วว่า มันคือ "Asymmetric Information" ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า มีข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ฝ่ายที่มีข้อมูลน้อยกว่าเสียเปรียบในการตกลง "ราคาซื้อขาย"
ยกตัวอย่างง่ายๆ หากคุณเคยเจ็บป่วยแล้วต้องไปรักษาตามคลีนิค หรือแม้แต่สถานพยาบาล ไม่ว่าคุณจะได้รับแจ้งราคาค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาล เท่าใดก็ตาม คุณก็คงไม่สามารถต่อรองได้ และคุณก็ไม่อาจมัวเสียเวลาในการเปรียบเทียบราคา ในห้วงเวลาที่จะทำการซื้อขายได้เลย ดังนั้นจงอย่าแปลกใจว่าทำไม "เราควรถือหุ้นรพ."
เราเคยเจอสถานการณ์เดียวกับคุณ ในการซื้อสินค้าอย่างผลไม้ เราใช้หลักการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ต่ำลง ด้วยการซื้อร้านที่เราพบว่าราคาถูก สมมติว่าเราซื้อลองกองร้านแรก 3 กิโล 100 บาท เมื่อซื้อมาแล้ว เราพบว่าอีกร้านขาย 4 กิโล 100 บาท ที่สุดเราจะซื้อร้านที่สองด้วย สรุปจากเดิม เราจ่ายที่กิโลละประมาณ 34 บาท (ปัดเศษ) เมื่อเราซื้อร้านที่สองด้วย ราคาต่อกิโลจะลดลงเหลือเพียง 28 บาทเอง สบายใจขึ้นเยอะ!
ประเด็นสำคัญอยู่ตรง
ลองกองทั้ง 7 kgs. คุณทานไหวหรือไม่
หากไม่ไหวแน่ๆ เอาไปขายต่อให้เพื่อนบ้าน
หรือใส่บาตรพระบิณฑบาต
เรื่องก็จบแบบ Happy ending ได้นะคะ^^
โฆษณา