27 ธ.ค. 2023 เวลา 22:55 • ข่าว

ยาคุมเดือนละเม็ดจากจีน ซาตานในคราบความหวัง?

ช่วงกลางปีที่ผ่านมา สำนักข่าว The Observer ของอูกันดา อ้างประกาศของ NDA ซึ่งเปรียบเสมือน อย. ของอูกันดา รายงานการแบนด์ยาคุมชนิดหนึ่งซึ่งนำเข้าจากจีน
โดยมีการรายงานผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อผู้ใช้ ทั้งมีเลือดออกรุนแรงขณะมีประจำเดือน รอบประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาการใจสั่น เกิดลิ่มเลือดอุดตัน เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และที่รุนแรงที่สุดคือทำให้เกิดภาวะทารกวิรูป(teratogenic) หลังมีการตั้งครรภ์หลังหยุดใช้ยาดังกล่าวไม่เกิน 1 ปี
7
นอกจากในอูกันดาแล้ว ในเคนยาก็มีการแบนด์ยาคุมดังกล่าวเช่นกัน ส่วนในไทย ยาดังกล่าวยังไม่ถูกขึ้นทะเบียน การขายยาดังกล่าวอาจเข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 72 ว่าด้วยการขายยาไม่มีทะเบียน ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการลอบขายยาดังกล่าวอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ใช้ยาดังกล่าว
5
เท่าที่มีข้อมูล ยาคุมดังกล่าวมี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย Quinestrol (3.0-3.5mg) กับ Norgestrel 12mg (Quin-Ne),Quinestrol (3.0-3.5mg) กับ chlormadinone 15 mg และ Quinestrol (3.0-3.5mg) กับ 16-methylene-chlormadinone 10 mg
แต่ในปัจจุบันสูตรที่นิยมใช้มากที่สุดคือสูตร Quinestrol 3.0mg กับ
Levonorgestrel 6mg (Quin-Lng) โดยวิธีการกินยาคือ กินเม็ดแรกในวันที่ 5 ของการมีประจำเดือน และ เม็ดที่สอง กินหลังจากเม็ดแรก 20 วัน หลังจากนั้น ให้กินยาต่อเนื่องเดือนละ 1 เม็ด
6
จากการศึกษาระบุว่า ระดับ Ethinyl estradiol ในเลือดจะอยู่ในระดับสูงสุด หลังกิน
ยาคุมดังกล่าวในเม็ดแรก ไปแล้ว 4 - 5 ชั่วโมง จากนั้นระดับยาในเลือดจะค่อย ๆ
ลดลงเรื่อยๆจนเหลือ 0.20-0.25 ng/ml ระหว่าง 9-44 วัน ส่วน levonorgestrel ถึงระดับ peak ที่ 37.9 +/- 11.3 ng/ml
2
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่มีการรายงานจากหลายประเทศ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือมีรายงานผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดจากการใช้ยาคุมดังกล่าว ทั้งการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูงถึง 5.8 % อาการตกขาวผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ยังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เลือดออกผิดปกติ
1
และที่น่ากลัวที่สุดคือ ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาที่ยาวนาน ทำให้เมื่อมีการตั้งครรภ์หลังการหยุดใช้ยาดังกล่าวไม่เกิด 1 ปี แม้จะยังไม่มีกลไกที่แน่นอน ที่คาดการณ์ว่ายาที่หลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่รก ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะทารกวิรูป(teratogenic) ทางการจีนจึงมีคำแนะนำซึ่งเป็นเหมือนเงื่อนไขการใช้ยา ว่าเมื่อใช้ยานี้แล้ว ห้ามมิให้มีการตั้งครรภ์หลังจากหยุดยานี้ใน 1 ปีแรก มิเช่นนั้นจะเกิดทารกวิกลรูปได้
3
โดยในปัจจุบัน ยาดังกล่าวไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากชาติใดเลยในตะวันตก ยกเว้นเพียงโดยมินิกัน ส่วนในทวีปแอฟริกา ข้อมูลจากอูกันดาระบว่า ยาคุมชนิดเดือนละเม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดโปรเจนโตเจนที่มี ความแรงสูง และมีเอสโตรเจนชนิดออกฤทธิ์นาน ซึ่งมันไม่ได้แค่ทำหน้าที่ยับยั้งการตกไข่เท่านั้น แต่ยายังคงอยู่ในร่างกายอย่างยาวนาน
4
และแม้ทางการอูกันดาจะห้ามจำหน่ายแล้ว แต่ยังมีผู้หญิงชาวอูกันดายังคงหา ซื้อมาใช้ โดยไม่ใส่ใจผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยานี้ เช่น การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เสียชีวิต รวมทั้งเด็กวิกลรูปในรายที่ยังคงใช้ยานี้อยู่ขณะที่ตนเองกำลังตั้งครรภ์ ส่วนในเคนยาก็มีการแบนยาดังกล่าวมาแล้วมากกว่า 10 ปี
ขณะที่ในไทย ยาดังกล่าวยังไม่ถูกขึ้นทะเบียน แต่มีรายงานการลักลอบขายยาดังกล่าวเป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบชายแดนภาคใต้
3
ถึงแม้ยาดังกล่าวจะยังห่างไกลจากหลักพื้นฐานของยา คือคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย แต่แนวคิดของยาคุมแบบเดือนละเม็ดมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 อาจเป็นไปได้ที่ในอนาคตอันใกล้ เราจะมียาคุมเดือนละเม็ดที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และราคาถูก เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ใช้ยาคุมกำเนิดในไทยและทั่วโลก
6
อ้างอิง
โฆษณา