28 ธ.ค. 2023 เวลา 13:42 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปเทคนิคการจัดการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนเกษียณ

หากวันนี้ คุณคือ มนุษย์เงินเดือนที่ใกล้เกษียณ และมีเงินลงทุนใน “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” อยู่ไม่น้อย !
1
ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องศึกษา และเริ่มวางแผนจัดสรรเงินลงทุนที่ว่านี้ ก่อนถึงวันเกษียณจริง เพื่อไม่ให้เงินที่เราสะสมมาตลอดชีวิตการทํางาน รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่เราควรจะได้รับนั้น สูญหายไปอย่างเปล่าประโยชน์
สำหรับสิ่งที่ต้องรู้และพิจารณา มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็น
ประเด็นที่ 1) เงื่อนไขการรับเงิน และสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ใกล้เกษียณ จะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อที่จะได้ไม่พลาดในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างครบถ้วน
โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ลงทุนนั้นจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุน มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่อง เพื่อให้เงินกองทุนที่ถอนออกมา หรือผลประโยชน์ที่เราได้รับจากการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น เงินสะสมของเราเอง ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบจากนายจ้าง และผลประโยชน์ของเงินสมทบนั้น ได้รับการยกเว้นภาษี
ซึ่งหากบริษัทที่กำหนดอายุเกษียณ 55 ปีขึ้นไป ก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะสามารถถือได้ยาว ๆ จนครบเงื่อนไข
แต่ทั้งนี้ อาจมีบางบริษัทที่กำหนดอายุเกษียณน้อยกว่า 55 ปี รวมถึงบางบุคคลที่อาจเป็นสมาชิกกองทุนไม่ถึง 5 ปี ซึ่งเท่ากับว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
และเมื่อเรานำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ เราก็จะต้องนำเงิน 3 ส่วน ซึ่งได้แก่ ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบจากนายจ้าง และผลประโยชน์ของเงินสมทบนั้น มาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีด้วย
แต่หากเราไม่ต้องการนำเงินส่วนนี้ไปคำนวณภาษีเงินได้ ก็จะมีอยู่ 2 วิธีให้เลือก
1. คงเงินไว้ในกองทุนต่อไป โดยจะมีค่าธรรมเนียบรายปี หรือ
2. โอนเงินลงทุนนี้ไปยังกองทุน RMF for PVD ซึ่งเป็นกองทุนที่รับโอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพโดยเฉพาะ
โดย KTAM ก็มีกองทุน RMF for PVD ออกมาให้เลือกด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความหลากหลาย สามารถเลือกได้ตามนโยบาย และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย หรือ บลจ.กรุงไทย
ซึ่งไม่ว่าเราจะเลือกทางไหน ก็ต้องถือจนกว่าจะครบกําหนดระยะเวลาตามเงื่อนไข แล้วจึงคอยถอนเงินออกมาภายหลัง แต่ก่อนที่เราจะถอนเงินออกมานั้น เมื่อถึงช่วงเวลาใกล้เกษียณอย่างน้อย 1-2 เดือน หรือมากกว่านั้น เราจะต้องกลับมาทบทวน และพิจารณาทางเลือก ในการบริหารจัดการเงินกองทุนที่เราจะได้รับอีกครั้ง ในประเด็นที่ 2
 
ประเด็นที่ 2) วิธีการเลือกรับเงิน
หลังจากที่เราเป็นสมาชิกกองทุน ตามเงื่อนไขที่ว่าไปข้างต้นแล้ว เราจะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนต่อว่า เราจะบริหารจัดการเงินกองทุนนี้อย่างไร
รวมถึงเตรียมตัววางแผนล่วงหน้า และทำความเข้าใจถึงแนวทางในการจัดสรรเงินลงทุน เพื่อที่จะได้รู้ถึงจุดแข็ง ข้อดีและข้อเสียของแต่ละเส้นทางที่เลือก ซึ่งวิธีการรับเงินนั้น มีด้วยกัน 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 : การรับเงินเป็นงวด
สำหรับวิธีนี้ จะคล้ายคลึงกับการรับบำนาญของข้าราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินเพียงบางส่วน และไม่ต้องการถอนเงินออกมาทั้งหมด ซึ่งผู้ลงทุนสามารถแจ้งขอรับเงินเป็นงวด ๆ ได้ เช่น ทุกปี ครึ่งปี หรือรายไตรมาส
โดยเงินส่วนที่เหลือ จะยังคงอยู่ในกองทุน ซึ่งจะถูกนำไปบริหารตามนโยบายที่เราได้เลือกไว้ และทำให้เงินลงทุนมีโอกาสเติบโต
แต่ทั้งนี้ก็อย่าลืมศึกษาเงื่อนไข และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตามที่ข้อบังคับกองทุนกําหนดด้วย เช่น การรับเงินเป็นงวดก็จะมีค่าธรรมเนียมในการรับเงินรายงวด เป็นต้น
ทางเลือกที่ 2 : การถอนเงินออกทั้งหมด
สำหรับวิธีนี้ จะคล้ายคลึงกับการรับบำเหน็จของข้าราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับเงินเพียงก้อนเดียว และสามารถบริหารจัดการเงินกองทุน ที่จะได้รับมาทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการนำเงินออก เพื่อนําไปลงทุนด้วยตัวเอง
แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นอย่างมาก ที่ผู้ลงทุนจะต้องมีความรู้ และความ
เข้าใจในการนําเงินไปลงทุน เพราะหากไม่มีความเข้าใจ หรือขาดการวางแผนการใช้เงิน ก็มีโอกาสที่เงินจะหดหาย จนไม่พอใช้ ประกอบกับการถอน
เงินออกจากกองทุน ในช่วงที่ภาวะตลาดทุนปรับตัวลง หรือมีความผันผวนสูง ก็สามารถทำให้มูลค่าเงินที่เราเก็บมาตลอดชีวิตนั้น ลดลงด้วย
ทางเลือกที่ 3 : ไม่เลือกรับเงินเลย แต่คงเงินไว้ในกองทุน
วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจากกองทุน เนื่องจากอาจมีเงินอยู่แล้ว หรือมีแหล่งรายได้อื่น ๆ ที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจําวัน
ซึ่งข้อดีคือ เงินที่คงไว้ในกองทุน นั้น ก็จะมีการลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายการลงทุนที่เลือกไว้ พร้อมทั้งยังมีโอกาสเติบโตของเงินลงทุนด้วย
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไข และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ตามข้อบังคับของกองทุนที่กําหนดไว้ เช่น การคงเงินไว้จะมีค่าใช้จ่าย อย่างค่าธรรมเนียมรายปี เป็นต้น
📍 และนี่คือ 2 ทางเลือก หลักในการบริหาร และจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับผู้ใกล้เกษียณ ที่จำเป็นต้องศึกษา และเรียนรู้ รวมถึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบต่อเงื่อนไข และวิธีการบริหารจัดการเงินกองทุน เพื่อไม่ให้เงินที่เราตั้งใจสะสมมาตลอดชีวิตการทํางาน รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่เราควรจะได้รับนั้น หายไปอย่างไร้ประโยชน์นั่นเอง
หากผู้ลงทุนท่านใด ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการเงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพเมื่อเกษียณอายุ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipvd.com
🚩 และสำหรับผู้ที่ต้องการโอนย้ายเงินลงทุนไปยังกองทุน RMF for PVD ของ KTAM กรณีที่บริษัทกำหนดอายุเกษียณก่อน 55 ปีนั้น สามารถสอบถามรายละเอียด หรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน : ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Reference:
โฆษณา