2 ม.ค. เวลา 09:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ผลวิจัยเผยแกนโลกชั้นในของเรานั้นหมุนโดยมีการแกว่งตัวทุก ๆ รอบ 8 ปีครึ่ง

ซึ่งการแกว่งตัวของแกนโลกชั้นในนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการ "กลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก" ที่เกิดขึ้นมาอยู่ตลอดและมีความถี่ในการสลับขั้วเร็วขึ้นเรื่อย ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
1
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์รู้ว่าโลกเรามีส่วนประกอบหลายชั้นไล่ตั้งแต่ชั้นเปลือกโลก ขั้นเนื้อโลก(Mantle) และชั้นแกนโลกซึ่งแบ่งเป็นแกนชั้นนอกกับแกนโลกชั้นใน
แกนโลกชั้นนอกเป็นโลหะเหลวส่วนด้านในเป็นแกนโลหะแข็งที่ร้อนจัด ทั้งแกนชั้นนอกและชั้นในมีส่วนประกอบหลักคือเหล็กและนิเกิล
และเราก็รู้ว่าโลกนั้นหมุนรอบตัวเองโดยในชั้นเนื้อโลกก็จะมีการไหลเวียนของกระแสหินหนืดที่จมลงไปยังแกนโลกและรับความร้อนจากแกนโลกก่อนลอยตัวขึ้นมาสู่บริเวณเปลือกโลก เกิดเป็นกิจกรรมทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลกทั้งการเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ
รวมถึงยังมีกิจกรรมที่เกิดขึ้นข้างในโลกที่สำคัญอีกอย่างก็คือการหมุนของแกนโลกชั้นใน ที่เป็นแกนแข็งซึ่งทำหน้าที่เหมือนไดนาโมปั่นแกนโลกชั้นนอกให้เกิดกระแสการไหลของโลหะเหลวจนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลกที่คอยปกป้องทุกชีวิตบนโลกจากรังสีอวกาศพลังงานสูงมาจนถึงทุกวันนี้
สนามแม่เหล็กโลกอันที่แหล่งกำเนิดจากกิจกรรมภายในโลกของเรา
ปัจจุบันเรายังคงศึกษากันอยู่ว่ากระบวนการและกิจกรรมที่เกิดอยู่ข้างในบริเวณแกนโลกนี้มีรายละเอียดอย่างไร ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลกขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมถึงเกิดการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก
ก่อนหน้านี้เราพบว่าแกนโลกชั้นในนั้นมีความเร็วในการหมุนไม่เท่ากับความเร็วการหมุนรอบตัวเองของโลก โดยพบว่าจะหมุนเร็วกว่าการหมุนรอบตัวเองของเปลือกโลกโดยจะมีการหมุนวนมาจนครบรอบของแกนโลกชั้นในทุก ๆ 400 ปี(น็อครอบการหมุน)
แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีการค้นพบที่น่าทึ่งขึ้นไปอีกว่าแกนโลกชั้นในนั้น บางช่วงกลับมีการหมุนกลับทิศกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของโลก!! (การหมุนกลับทิศในที่นี้คือมีความเร็วการหมุนช้าลงจนดูเหมือนแกนโลกชั้นในหมุนย้อนทางกับชั้นเปลือกโลก)
และล่าสุดได้มีการเปิดเผยผลวิจัยจากทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นในจีนที่พบว่าแกนชั้นในของโลกนั้นมีการแกว่งตัวทุก ๆ รอบ 8 ปีครึ่ง โดยทีมวิจัยได้อาศัยการติดตามและเก็บข้อมูลตำแหน่งของขั้วแม่เหล็กโลก
และเมื่อนำมาประกอบกับข้อมูลระนาบแกนหมุนของเปลือกโลกทำให้ทีมสามารถคำนวนหามุมความต่างของระนาบการหมุนของแกนโลกชั้นในกับระนาบการหมุนของชั้นเนื้อโลก รวมถึงมุมการแกว่งของระนาบการหมุนของแกนโลกชั้นใน
สีฟ้าคือแกนระนาบการหมุนของแกนโลกชั้นใน ส่วนสีเทาคือแกนระนาบการหมุนของชั้นเนื้อโลก ซึ่งต่างกันอยู่ประมาณ 0.17 องศา
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าความแตกต่างระหว่างระนาบการหมุนและความเร็วในการหมุนของแกนชั้นในกับชั้นเนื้อโลกนั้นจะส่งผลให้เกิดกระแสการไหลวนของแกนโลกชั้นนอกที่เป็นโลหะเหลวและก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก
การค้นพบใหม่นี้อาจนำไปสู่การทำความเข้าใจกลไกการเกิดสนามแม่เหล็กโลก รวมถึงกลไกที่ทำให้เกิดการกลับขั้วของขั้วสนามแม่เหล็กโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาหลายพันล้านปีของโลกเรา
แม้แต่โลกที่เราใช้เป็นบ้านอาศัยอยู่นี้ เราก็ยังมีความรู้ความเข้าใจในบ้านของเราที่เรียกได้ว่าน้อยมาก ๆ คงต้องศึกษาและทำความเข้าใจบ้านหลังนี้กันต่อไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา