31 ธ.ค. 2023 เวลา 21:20 • ความคิดเห็น

มาตาลดา ผู้เป็นที่รักของใคร ?

โอเคครับ คำว่า "มาตาลดา" ถ้าหากเราลองแยกคำดูมันก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2 แบบ ซึ่งนั่นก็คือ
1."มาตาล" + "ดา"
2."มาตา" + "ลดา"
ซึ่งถ้าหากลองหาความหมายดูในกรณีที่ 1 จะมีความหมายว่า "ไม่มีอะไรเลย" ในภาษาฟินแลนด์ในรากละติน ซึ่งไม่มีความหมายในภาษาไทย
(ตรงนี้ขอหมายเหตุตัวใหญ่ ๆ ว่า "มโนของผมล้วน ๆ ครับ)
ซึ่งคำอ่านในภาษาไทยก็คงเป็นกรณีที่ 2 ซึ่งอ่านว่า "มาตา" (แม่) + "ลดา" (สาย, เถา, เครือ) ที่หมายถึง ผู้เป็นที่รักของแม่
ถึงจะบอกว่า "แม่" แต่ในความเป็นจริง ถ้าหากเราขยายขอบเขตของคำว่า "แม่" ที่หมายถึง "ผู้ให้กำเนิด"
ในความหมายของการริเริ่ม ดำเนินการ จนเห็นผลลัพธ์ของการดำเนินการ
ถ้าหากในความหมายนี้ใคร ๆ ก็เป็นแม่ได้ใช่ไหมครับ
ทำไมผมถึงพูดเรื่องนี้น่ะเหรอครับ นั่นก็เพราะว่าเมื่อหลายเดือน ผมได้มีโอกาสโดนป้ายยาจากเพื่อนลดา (เพื่อนอันเป็นที่รัก) คนหนึ่ง
ให้ดู TV Drama เรื่อง "มาตาลดา" ครับ
ซึ่งจริง ๆ ผมกะจะทำอะไรสักอย่างนึงให้มันอยู่นะครับ แต่ว่าผมหงุดหงิดที่ช่อง 3 ทำการตลาดไม่ยอมลง youtube กั๊กให้ไปดูที่ 3plus
ซึ่งใครมีตังค์ไปก่อนเลยครับ555
เลยทำให้ผมหมดอารมณ์พูดถึงเลย555 แต่ว่าไหน ๆ ก็เป็นโอกาสปีใหม่ทั้งที ผมอยากพูดเรื่องนี้สักหน่อยครับ
"ผู้เป็นที่รักของแม่หรือครอบครัว"
"มาตาลดา" ที่อาจจะเล่นคำที่หมายถึงแม่ แต่เป็นพ่อก็ได้เหมือนกัน
แต่ถ้าสังเกตเสียหน่อยพฤติกรรมของแต่ละตัวละครถูกหล่อหลอมมาโดนครอบครัวที่รักลูกของตัวเองทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็น
-พ่อของมาตาที่ถูกรักโดยอากง อาม่า
-มาตาที่ถูกรักโดยพ่อแม่และคนที่เป็นเหมือนครอบครัว
-เป็นหนึ่ง ไตรฉัตร อรุณรัศมี
ฯลฯ
ไม่ว่าจะแม่ของเป็นหนึ่งหรือแม่ของไตรฉัตรก็ถูกรักโดยแม่ของพวกเธอเอง รวมไปถึงพวกหมา olive ที่ถูกรักโดยเป็นหนึ่งกับมาตา
แต่ความรักไม่ใช่วิธีการ การมีความรู้สึกแต่ดำเนินการไม่ถูกต้องแต่ดันคิดว่าสิ่งนั้นดี มันออกจะเป็นอะไรที่ฝืนแบบไม่รู้ตัวไปหน่อย
(แต่ถ้ารู้ตัวว่าฝืนและชอบทรมานตัวเองก็อีกเรื่องนะครับ555)
เคยมีความรู้สึกแบบนี้กันบ้างไหมครับ นั่นคือ ความรู้สึกที่ว่าเราเติบโตขึ้นเพื่อกลับไปแก้ปัญหาตอนเด็ก
หรือไม่ก็ความรู้สึกที่ว่า 'ไม่อยากให้ใครมาบอกว่าตัวเองเป็นคนยังไงหรือต้องทำยังไงหรอก" อยู่เหมือนกันใช่ไหมครับ
แม้ว่าสองอย่างจะดูไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ว่าหากลองตั้งข้อสังเกตสักนิดก็คือ ไม่ว่าจะแบบไหนก็เป็นความรู้สึกที่ไม่อยากยอมรับตัวเองใช่ไหมครับ
เช่น หากมีคนมาชมเรา เราก็จะถ่อมตน หรือหากมาหาเรื่องเราและไม่อยากรับฟังเราตั้งแต่แรก เราก็มักจะแรงกลับถูกไหมครับ
มันเป็นธรรมชาติที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไร เราทำได้ถึงจุดไหน จุดที่คนอื่นมองว่าดี มันอาจจะยังไม่ใช่ที่สุดสำหรับเรา
กลับกัน จุดที่คนอื่นมองว่าแย่ มันก็อาจจะไม่ใช่ไม่ดีถูกไหมครับ
ฉะนั้นปัญหาของกรณีอยู่ที่เราและผู้อื่นมองตามความเป็นได้มากน้อยขนาดไหน เราพูดคุยกันเพื่ออะไร หรือก็คือเป็นเรื่องของเจตนาของการสนทนากับสิ่งที่มันเป็นจริง ๆ
โดยเราจะวัดผลและเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
ทำไมผมถึงพูดเรื่องน่ะเหรอครับ? เพราะว่า มีตอนนึงที่พ่อของเป็นหนึ่งพูดถึงเรื่องนี้ครับ ซึ่งผมว่าในส่วนนี้เขานำเสนอน้อยไปหน่อย
ที่เป็นปฏิทรรศน์ของตอนแรกที่บอกว่า คนเรามีกรอบ และมาตอนนี้เป็น พร้อมที่จะออกจากกรอบ แต่ผมก็เข้าใจว่ามันยากที่จะแจกแจงให้ละเอียดได้
โอเคครับ กลับมาที่เราเติบโตขึ้นเพื่อแก้ปัญหาตอนเด็ก ถ้าจะให้พูดก็คือ เรามีภาพในหัวว่า เราจะต้องทำอะไรต่อไปใช่ไหมครับ
และเราก็เดินไปตามทางนั้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเป็นทางที่เราคิดว่าดี
และแน่นอนครับ ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาได้มันก็อาจจะดีจริง ๆ แต่เราก็ต้องไปดูว่ามันอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไรด้วยครับ
ถ้าให้ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด สมมติโจทย์คือ 1+1 = ?
ถ้าโลกของเราอยู่ในระนาบ 1 มิติก็คงจะตอบว่า 2
แต่ถ้าโลกมันเปลี่ยนไปอยู่ในระนาบ 2 มิติก็อาจจะใหม่ได้ว่า square root 2
โลกของมันเปลี่ยนไปอยู่ตลอด แต่ความเคยชินของคนมันเป็นอะไรที่ยากจะเปลี่ยนตาม
พฤติกรรม ทัศนคติ ความคิด หรืออะไรก็ตามที่กลายเป็นนิสัยหรือความเชื่อของเราไปแล้ว มันยากมากที่จะเปลี่ยนไป
ตัวอย่างที่เห็นผลง่ายที่สุดก็คือ การกินอาหาร แม้ว่าเราจะได้กินอาหารที่อร่อยมากแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายเราก็กลับมากินอาหารฝีมือที่คุ้นเคยอยู่ดี
ความคุ้นเคยเป็นเหมือนกับความน่าเบื่อ แบบเดิม
แต่มันก็เป็นอะไรที่พิเศษและฝังลึกลงไปในจิตวิญญาณ
ใช่ครับ วิธีการเลี้ยงดูลูกก็เช่นกัน คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็เลี้ยงดูลูกด้วยความรู้สึกที่ว่าจะต้องทำออกมาให้ดีที่สุด
แต่นั่นมันก็เหมือนกับการใส่ความคิดของตนเอง ที่อาจจะไม่ได้เปลี่ยไปตามยุคสมัย หรือเอาประสบการณ์ของตนเองเป็นที่ตั้ง
ลองพิจารณาจากตัวอย่างนี้ของผมก็ได้ครับ
แม้ตัวผมจะไม่มีลูกจริง ๆ ก็ตาม แต่ก็มีตัวละครในเกมที่ชอบอยู่ครับหรือที่เราเรียกกันว่า "ลูกรัก" ไม่ว่าใครต่างก็อยากเล่นตัวลูกรักใช่ไหม ก็เลยตั้งใจปั้นให้เก่ง ให้เอาไปสู้คนอื่นได้ ให้ได้เชยชมกัน
แต่ว่าแค่ความตั้งใจอย่างเดียวไม่พอ เราต้องเข้าใจว่ามันต้องเล่นยังไง ไปกับทีมแบบไหน แพ้ทาง ชนะทางอะไร มันมีรายละเอียดยิบย่อยเต็มไปหมด
ไม่ใช่แค่ตัวที่เรารัก แต่เมต้า (ตัวละครที่เก่ง ได้เปรียบตั้งแต่สกิลตัสละครแต่แรก ซึ่งก็คือ train) ก็เป็นอะไรที่ต้องดูด้วยเช่นกัน แค่ปั้นตัวละครไปทางที่คิดว่าดี ผลลัพธ์ตอนเวลาเล่นจริงมันก็อาจจะเป็นตามที่เราคิดถูกไหมครับ
การเลี้ยงดูลูก ผมว่าก็ไม่ต่างกันที่เราดูปัจจัยอะไรที่มากกว่าแค่เราคิดว่าดี งั้นปัญหาไม่ได้อยู่ดีหรือไม่ เพราะเป็นที่คำที่กำกวม มันจึงอยู่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ไหนมากกว่า ซึ่งวันเวลานั้นสร้างเมต้าแบบใหม่ ๆ มาเสมอ
ผมไม่ได้อยากจะบอกว่าประสบการณ์อาบน้ำร้อนมาก่อนไม่มีความหมายหรือเป็นเรื่องที่ผิดนะครับ
แต่ … แม้แต่คนเป็นพ่อเป็นแม่เองก็ไม่อยากให้ใครมาพร่ำบอกว่าตัวเองต้องทำยังไงเหมือนกันใช่ไหมครับ
เหมือนกันครับ คนเป็นลูกเองก็ไม่อยากให้ใครมาพร่ำบอกว่าตัวเองต้องทำยังไงเหมือนกันครับ
เช่น กรณีที่ว่าพ่อแม่เคยทำแบบนี้แล้วมันไม่ work แต่การพูดคุยไม่เพียงพอให้ลูกเข้าใจว่ามันไม่ work ยังไงหรือเข้าใจแต่เงื่อนไขในครั้งนี้มันต่างกับที่พ่อแม่เคยเจอ และคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ไม่เข้าใจ
เป็นความจริงที่ว่าเราอยากให้โลกนี้ดูสวยงามราวกับโลกในอุดมคติ แต่ก็มีบางครั้งใช่ไหมครับที่เมื่อเห็นอะไรสวยงามมากจนเกินไป เราก็มักจะคิดในใจว่า อยากให้รับรู้ว่าโลกมันโหดร้ายแค่ไหน
เปรียบเทียบง่าย ๆ ก็คือไม่ต่างอะไรกับการคำนวณฟิสิกส์ในอุดมคติที่เลขและทุกอย่างดูเรียบง่าย แต่ในความเป็นจริงมันมีตัวแปรที่เราต้องจัดการมากจนเกินไป
ทางที่ดีที่จะทำให้เรียนรู้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ "ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง"
ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือแย่ แม้ว่าลูกจะกระโดดลงเหวหรือบินขึ้นฟ้า การที่ได้หาคำตอบด้วยตัวเองจะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุด
ใช่ครับ ในความหมายของผมก็คือ ไม่ spoil ลูกแต่ก็ไม่ใช่การผลักลูกตกหน้าผาเช่นกันครับ
ผมเชื่อว่าทุกคนรู้ตัวว่าตัวกำลังทำอะไรอยู่ จะโดดลงเหวโดยไม่มีอะไรเลย หรืออยากจะบินขึ้นฟ้าโดยที่ไม่สร้างอะไรเลย ก็คงเป็นความคิดที่เพ้อฝันไปหน่อยใช่ไหมครับ
ใช่ครับ ดังนั้นเราจะโดดลงเหวหรือบินขึ้นฟ้า เราก็คงไม่ได้ไม่ไตร่ตรองเลยถูกไหมครับ และระหว่างทางที่จะไปถึงจุดหมายนั่นคือสิ่งที่จะได้เรียนรู้ครับ
แต่ถ้าสมมติคิดจะโดดลงเหวแบบโง่ ๆ ขึ้นมาจริง ๆ ไม่ใช่ผมจะบอกว่า ห้ามไม่ให้ยุ่งนะครับ แบบนั้นก็เห็น ๆ อยู่ว่า ตายแน่ ๆ ครับ555
เพราะแบบนั้นการพูดคุยจึงเป็นสิ่งสำคัญครับ เช่นเดียวกับในละคร "มาตาลดา"
แม้แต่ละบ้านจะมีปัญหาการเลี้ยงดูลูกเป็นของตัวเอง แต่จุดร่วมก็คือ "การขาดการพูดคุยและรับฟังกันมากพอ"
พ่อแม่ที่คิดอยากจะให้ลูกมีชีวิตที่ดีแต่ก็คอยคิดแต่ว่าอยากให้ดีกว่าตัวเองจนสุดท้ายก็ลูกก็มีความทุกข์ใจแบบตนเองอยู่ดีหรือไม่ก็เกิดความทุกข์ใจใหม่ขึ้นแทน
และสุดท้ายถ้าหากพวกเขามีลูกและมีปมในใจก็อาจจะเกิด death loop กับลูกของพวกเขาอีกที
ครอบครัวของมาตาลดาและตอนสุดท้ายของเรื่องแสดงให้เห็นได้เลยว่า ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปขอแค่ยอมรับ ตั้งใจ เปิดใจที่จะพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา
มาพูดมันเหมือนง่าย เพราะ ในความเป็นจริง หากเราคิดมาถึงจุดนี้แล้วอยากจะแก้ไข ปัญหาก็จะเกิดเหมือนกับที่อากง พ่อของเป็นหนึ่งเป็น
แต่สุดท้ายผมเชื่อว่าทุกอย่างจะลู่เข้าสู่ค่าเฉลี่ยและสักวันหนึ่งก่อนชีวิตจะหาไม่ จะเข้าใจกันในที่สุดครับ
ส่วนตัวผมไม่ได้จะหาเรื่องมาพูดว่า เรื่องนี้มันดียังไงหรือรีวิวอะไรให้ฟังขนาดนั้นครับ
(แต่ถ้าอยากฟังลอง request มานะครับ555 เผื่ออยู่ ๆ ผมจะมีอารมณ์ทำมันขึ้นมา555)
สำหรับในโพสต์นี้ผมมองว่าเรื่องรี้ เป็นกรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ถ้าหากเราพร้อมที่จะพูดคุยกัน การพูดคุยมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ
ซึ่งแค่คิดมันก็อาจจะคิดได้ แต่จากสถานการณ์ตรงหน้าเราจะตระหนักได้ถึงความคิดนี้รึเปล่า มันก็ไม่ใช่อะไรที่ทำได้ง่าย ๆ เลยครับ
ถ้าให้ยกตัวอย่างก็เช่น ตัวละครแพง พ่อของเป็นหนึ่งหรือแม่ของไตรฉัตรก็ตาม ที่ไม่ได้ตระหนักเลยว่าที่ตัวเองกำลังทำอยู่ก็ทำในสิ่งที่ตนไม่ชอบ
หรือแม้อย่างตัวผมเองที่เคยพูดว่า "ไม่สมควรมีใครได้รับอิทธิพลจากปิตาธิปไตย" แต่ผมตอนม.ต้นก็เป็นคนทำมันซ่ะเอง
โดยที่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่านั่นคือปิตาธิปไตย ปล่อยตัวให้ไหลไปตามความรู้สึก
ดังนั้นหากผ่านมาเห็นโพสต์นี้ของผมก็อยากฝากให้นึกถึงการตระหนักว่าตัวเองกำลังทำอยู่ด้วยนะครับ
มันอาจจะเปลืองพลังงานมากไปหน่อย แต่ว่ามันก็เป็นจุดเริ่มต้นของอะไรหลาย ๆ อย่างที่จะตามมาแน่นอนครับ
หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยนะครับ แล้วก็ขอขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ
โฆษณา