4 ม.ค. เวลา 07:06 • ศิลปะ & ออกแบบ

ความปีติยินดีของนักบุญเทเรซา: ความสุขอันศักดิ์สิทธิ์ หรือกามารมณ์?

Ecstasy of Saint Teresa (1647-1652), by Gian Lorenzo Bernini
“ข้าพเจ้าเห็นทูตสวรรค์ถือลูกดอกสีทองอยู่ในมือ เปลวไฟน้อย ๆ ติดอยู่ที่ปลายศรเหล็ก เขาแทงมันเข้าไปในหัวใจของข้าพเจ้าและฝังมันไว้ เมื่อเขาดึงศรออกไปไฟที่ปลายศรก็ลุกท่วมร่างกายของข้าพเจ้า ความเจ็บปวดนั้นรุนแรงท่วมท้นเทียบเท่าความรักอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าจนทำให้ข้าพเจ้าร้องครวญครางออกมา แต่ความทรมานนี้นั้นหวานชื่นจนไม่สามารถหาสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ เป็นความทรมานที่ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาให้มันจบลง และจะไม่พอใจกับสิ่งใดนอกเหนือจากพระเจ้า”
Saint Teresa of Ávila
Book of Life, Chapter 29.
ที่มาภาพ: https://www.learner.org/series/art-through-time-a-global-view/dreams-and-visions/the-ecstasy-of-st-teresa/
ข้อความข้างต้นเป็นบันทึกส่วนหนึ่งจากหนังสือ “book of Life” ของนักบุญเทเรซา เธออ้างว่ามีทูตสวรรค์องค์หนึ่งมาเยี่ยมเยียนเธอขณะหลับ จนบังเกิดนิมิตแห่งความปิติต่อพระผู้เป็นเจ้า และเป็นแรงบันดาลใจให้แบร์นีนีสร้างผลงานประติมากรรมที่ชื่อว่า “ความปีติยินดีของนักบุญเทเรซา”
แบร์นีนีประติมากรยุคบาโรกของอิตาลีสร้างประติมากรรมหินอ่อนนี้โดยการแกะสลักอย่างงดงาม และปราณีต แบร์นีนีเปลี่ยนพื้นที่ของห้องสวดมนต์ให้กลายเป็นโรงละคร เขาจัดวางรูปสลักของนักบุญเทเรซากับทูตสวรรค์บนเสาหินที่ยกขึ้นจากพื้นทำให้ดูราวกับว่างานประติมากรรมนี้ถูกจัดวางไว้บนเวที และมีประติมากรรมหินแกะครึ่งตัวของตระกูล Corner ทำหน้าที่เป็นผู้ชมติดตั้งอยู่ขนาบสองข้าง
Gian Lorenzo Bernini, Ecstasy of Saint Teresa, 1647-1652, Santa Maria della Vittoria, Roma, Italia ที่มาภาพ: https://en.wikipedia.org/wiki/Ecstasy_of_Saint_Teresa#/media/File:Cornaro_chapel_in_Santa_Maria_della_Vittoria_in_Rome_HDR.jpg
Gian Lorenzo Bernini, Ecstasy of Saint Teresa, 1647-1652, view of four members of the Cornaro family, including Cardinal Federico Cornaro, Santa Maria della Vittoria, Rome, Italy. ที่มาภาพ: https://www.dailyartmagazine.com/ecstasy-of-saint-teresa/
ผลงานชิ้นนี้ได้ใช้เทคนิคใหม่นั่นคือการหลอมรวมศาสตร์ของการสร้างฉากแสดงละคร จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมให้กลายเป็นงานศิลปะชิ้นเดียว นักประวัติศาสตร์ศิลปะ Filippo Baldinucci ถึงกับบัญญัติศัพท์คำว่า “bel composto” แปลว่า การผสมผสานที่ลงตัวขึ้นเพื่อยกย่องผลงานของแบร์นีนี
ความสุขอันศักดิ์สิทธิ์ ?
แม้ว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาสนา แต่แบร์นีนีกลับนำเสนอผลงานประติมากรรมที่เต็มไปด้วยอารมณ์ และความเย้ายวนผ่านร่างกาย และใบหน้าของนักบุญเทเรซา ใบบริบทนี้ลูกศรทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของสิ่งกระตุ้นอารมณ์ อีกทั้งรอยยิ้มอันลึกลับของทูตสวรรค์นั้นทำให้นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายคนมองว่าผลงานชิ้นนี้ไม่น่าจะเป็นตัวแทนของความรักอันศักดิ์สิทธิ์ที่เธอมีต่อพระเจ้า
ใบหน้าของนักบุญเทเรซา ที่มาภาพ: https://ar.inspiredpencil.com/pictures-2023/ecstasy-of-saint-teresa-face
นักวิจารณ์บางคนให้ความเห็นว่าจริงๆแล้วศิลปินตั้งใจสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาว่านักบุญเทเรซากำลังประสบกับความสุขทางกายอย่างเข้มข้น และเเน่นอนว่ามีนักวิจารณ์ผู้เคร่งครัดในศาสนาแสดงความไม่พอใจอย่างมากต่อการนำเสนอศิลปะเพื่อศาสนาในแนวทางนี้
บางคนกล่าวว่าผลงานชิ้นนี้ศิลปินตั้งใจทำขึ้นมาเนื่องจากเขาเชื่อว่าการนำเสนอลักษณะท่าทางอีโรติกนี้เป็นไปเพื่อถ่ายทอดลักษณะที่เป็นรูปธรรมของการแสดงความรัก และความปรารถนาของเธอที่จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันทางจิตวิญญาณกับพระเจ้าตามความฝันของนักบุญเทเรซาเท่านั้น
นักเขียนชาวฝรั่งเศสอย่าง Marquis de Sade ได้พิจารณาลักษณะท่าทางของงานประติมากรรมชิ้นนี้แล้ว เขากลับไม่คิดว่าเธอเป็นนักบุญเสียด้วยซ้ำ เขากล่าวว่างานชิ้นนี้ดูซับซ้อน เขาไม่แน่ใจว่ามันสื่อถึงความปีติยินดีทางจิตวิญญาณหรือทางกามารมณ์ และอยากให้ความหมายของผลงานขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ชมว่าจะเชื่ออย่างไร
-ซับศิลป์-
ที่มา
โฆษณา