6 ม.ค. เวลา 06:17 • ข่าวรอบโลก

เมื่อขนส่งมวลชนในสหรัฐอเมริกากำลังพ่ายแพ้

ผู้คนครึ่งประเทศเข้าไม่ถึงบริการ แถมลดลงต่อเนื่อง
การบีบให้ค่าโดยสารถูกเกินกำลังทำลายระบบตัวเอง
เมื่อขนส่งมวลชนในสหรัฐอเมริกากำลังพ่ายแพ้
ผู้คนครึ่งประเทศเข้าไม่ถึงบริการ แถมลดลงต่อเนื่อง
การบีบให้ค่าโดยสารถูกเกินกำลังทำลายระบบตัวเอง
ขนส่งมวลชนสาธารณะ นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าเมือง หรือประเทศนั้นๆ มีการพัฒนาในระดับใด และเป็นสวัสดิการทางสังคมสำหรับประชากรที่ควรเข้าถึงได้ง่าย สะดวก สะอาด ปลอดภัย และราคาสมเหตุสมผล
หลายคนที่เคยเดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างก็ติดภาพของการเดินทางที่สะดวกสบายจากการที่ระบบขนส่งมวลชนมาตรฐานสูงกว่าในประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างๆ ในทวีปยุโรปทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ รวมทั้งประเทศร่ำรวยในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน หรือแม้แต่ประเทศจีน ต่างก็เป็นต้นแบบของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่เป็นมิตรกับพลเมืองทั้งสิ้น
แต่สำหรับประเทศมหาอำนาจในทุกๆ ด้านอันดับ 1 ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา กลับมีสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปจากมหาอำนาจชาติอื่นๆ เพราะระบบขนส่งมวลชนภายในประเทศกำลังพ่ายแพ้ให้กับความต้องการที่ลดลงของชาวอเมริกัน และหลายเมืองในสหรัฐฯ ขนส่งมวลชนใกล้ถึงคราวสูญพันธ์ุ เพราะไม่เป็นที่ต้องการของประชาชน หรือไม่ได้รับเงินสนับสนุนให้ดำเนินกิจการต่อไป
Investment Monitor เว็บไซต์ด้านฐานข้อมูลการลงทุนที่เชื่อมต่อฐานข้อมูลเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านชุดทั้งในสหรัฐฯ​และทั่วโลกได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่ไม่ค่อยสู้ดีของระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในสหรัฐฯ ที่แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยทั่งคั่งที่สุดในโลก แต่ระบบการขนส่งภายในเมืองกลับอยู่อันดับที่ย่ำแย่กว่าประเทศในกลุ่มผู้นําระดับโลกด้วยกัน
American Society of Civil Engineers (ASCE) เผยแพร่การประเมินรายงานประจําปีเกี่ยวกับสถานะของโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งของสหรัฐฯ ในปี 2021 บริษัทให้คะแนนการขนส่งสาธารณะในสหรัฐอเมริกาที่ระดับ D- เท่านั้น ซึ่งสหรัฐฯ ควรจะทําได้ดีกว่านี้
ASCE ตั้งข้อสังเกตว่า 45% ของชาวอเมริกันไม่สามารถเข้าถึงการขนส่งและระบบที่มีอยู่ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเกินไปและอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม อีกทั้งต้นทุนในการลงทุนในการยกเครื่องระบบ ซ่อมบำรุง และพัฒนานั้นจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 1.76 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 6.1 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.7 แสนล้านดอลลาร์ หรือมากเกือบ 10 ล้านล้านบาทภายในปี 2029 คิดเป็นมูลค่าที่มากเกินครึ่งหนึ่งของขนาดเศรษฐกิจประเทศไทยที่ 17 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
2
ดังนั้นสหรัฐฯ จึงมีสภาพระบบขนส่งที่ต่ำกว่ามาตรฐานแบบที่เห็นในปัจจุบันนี้ และเป็นเหตุที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อให้งบประมาณในโครงการลงทุนที่จําเป็นในการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนอนุมัติผ่านสภาคองเกรสสหรัฐฯ ให้ได้เพื่แผ่านร่างกฎหมายโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือสูงถึงราว 41.6 ล้านล้านบาท เพื่อการอัดฉีดเงินทุนนี้จะที่แก้ปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่?
1
🔵 การขนส่งสาธารณะกําลังสําคัญของเศรษฐกิจที่กำลังไม่สำคัญ?
1
สมาคมการขนส่งสาธารณะอเมริกันประมาณการว่า 87% ของการเดินทางเป็นประโยชน์โดยตรงต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นโดย เงิน 1 ดอลลาร์ที่ลงทุนในระบบขนส่งสาธารณะจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 5 ดอลลาร์ ขณะที่การใช้จ่ายด้านการขนส่งใช้เงินเกือบ 42,000 ล้านดอลลาร์กระจายไปยังภาคเอกชน และประชาชน
แต่สถานะของระบบขนส่งสาธารณะในสหรัฐอเมริกากําลังลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขนส่งทั่วประเทศเผชิญกับวิกฤตการคลัง SEPTA ของฟิลาเดลเฟียคาดการณ์การขาดดุลเกือบ 269 ล้านดอลลาร์ หรือ 9,326 ล้านบาท ภายในปี 2027 ขณะที่ RTA ของชิคาโกคาดการณ์ช่องจะต้องสูญเสียมูลค่าประมาณ 730 ล้านดอลลาร์ หรือ 25,309 ล้านบาท ภายในปี 2026 ในขณะที่การขาดุลงบประมาณของระบบขนส่งในลอสแองเจลิสอย่าง LA Metro คาดว่าจะสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 34,670 ล้านบาทภายในสิ้นปี 2026
Peter Norton ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียกล่าวว่า "เงินของรัฐบาลกลางที่จัดสรรไปใช้กับบริการขนส่งมวลชนส่วนใหญ่หมดไปกับต้นทุนเงินทุน นั่นหมายถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือซื้อยานพาหนะ แต่ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานคือจุดที่บริการขนส่งถูกบีบจริงๆ"
4
ยิ่งไปกว่านั้นตามที่ Nicholas Dagen Bloom ศาสตราจารย์ด้านนโยบายและการวางแผนเมืองที่ Hunter College กล่าวว่า "ค่าครองชีพการดําเนินงานและการก่อสร้างในช่วง 40 - 50 ปีที่ผ่านมานั้นสูงกว่าค่าโดยสารเก็บได้ไปไกลมาก"
🔵 การขาดดุลทางการเงินเหล่านี้นําไปสู่บริการที่แย่ลงโดยตรง
"หากระบบขนส่งมวลชนมีเงินไม่เพียงพอ มันจำเป็นที่จะต้องจํากัดชั่วโมงการให้บริการ และความถี่ในการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันชาวอเมริกันจะต้องรอรถเมล์ รถไฟ หรือรถไฟฟ้าที่ยาวนานขึ้นต่อการใช้บริการ 1 ครั้งโดยเฉลี่ยถึง 17 นาที และนั่นจะเป็นการสร้างผลกระทบอันใหญ่หลวงให้กับผู้คนพึ่งพาขนส่งมวลชน เพราะไม่มีรถยนต์ส่วนตัว"
จํานวนผู้โดยสารลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และชัดเจนอย่างมากในช่วงการระบาดของโควิด-19 ซึ่งจํานวนผู้โดยสารก็ไม่สามารถฟื้นตัวสู่ระดับเดิมได้อีกต่อไป
Yingling Fan ศาสตราจารย์ด้านการวางผังเมืองและภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยมินนิโซตากล่าว "มันเป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างมาก หากการมีผู้ใช้และผู้ขับขี่น้อยลง ก็ยากที่จะพิสูจน์มีการลงทุนของภาครัฐที่สําคัญในระบบ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากขึ้นที่จะมีระบบที่ให้บริการอย่างมีคุณภาพ และเมื่อคุณภาพการให้บริการแย่ลง ผู้คนก็จะไม่อยากใช้บริการ หรือแม้แต่พลขับ พนักงานก็ไม่มีใครอยากให้บริการอีกต่อไป"
1
แม้สหรัฐฯ จะมีโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าที่ให้บริการภายในเมืองที่มีความยาวรวมกันมากถึง 20,000 กิโลเมตร แต่นั่นคิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของระยะทางรถไฟฟ้าเมืองต่างๆ ในประเทศจีน ซึ่งยังตามหลังแคนาดา และญี่ปุ่นด้วยซ้ำ
สาเหตุเป็นเพราะเขตตัวเมืองในสหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นเพื่อรองรับการใช้รถยนต์เป็นหลัก และในอดีตมีการลงทุนน้อยเกินไปในสร้างรถไฟใต้ดินและระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการจราจรสูงมากจากความแออัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสหรัฐ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ค่าเฉลี่ยการเดินทางของผู้คนในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 20 ชั่วโมงต่อปีในปี 1982 เป็น 54 ชั่วโมงภายในปี 2019 ตามดัชนีการเคลื่อนที่ในเมืองที่วิจัยโดยสถาบันการขนส่งเท็กซัส A&M
กฎหมายผังเมืองของสหรัฐที่มีการแบ่งเขตพื้นที่ที่จํากัดประเภทและปริมาณของที่อยู่อาศัยที่สามารถสร้างในและรอบ ๆ ย่านใจกลางเมืองในเมืองส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อประชากรในเมืองขยายตัวสัดส่วนรวมของผู้อยู่อาศัยที่อาศัยอยู่นอกเมืองชั้นในได้เพิ่มขึ้นซึ่งนําไปสู่การจราจรติดขัดมากขึ้น แต่ยังมีความต้องการความจุถนนมากขึ้น
1
แต่แทนที่ผู้คนจะเลือกอยู่ใกล้ตัวเมืองใจกลางย่านเศรษฐกิจ ผู้คนชาวอเมริกันมักเลือกอยู่ชานเมืองเป็นส่สวนใหญ่ เพราะสาธารณูปโภคย่านชานเมือง และการเข้าถึงสถานที่ต่างๆ นั้นไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล มีคุณภาพที่ดีกว่าในตัวเมืองชั้นใน ซึ่งมีการรับรู้ว่าเขตการศึกษาชานเมืองดีกว่าเขตการศึกษาในเมืองชั้นใน ไม่ใช่แค่ว่าผู้คนต้องการบ้านที่มีสวนหลังบ้านขนาดใหญ่และสวนสาธารณะตามถนน แต่พวกเขายังต้องการให้ลูก ๆ ไปโรงเรียนที่ดีกว่าด้วย
ดังนั้นเมืองย่านที่อยู่อาศัยขยายออกไปจากศูนย์กลางของเมือง ระบบขนส่งมวลชนไม่สามารถตามไปได้ทันเทียบเท่ากับอัตราการขยายตัวของเมือง เพราะการลงทุนต่างๆ จะต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอน รวมทั้งใช้งบประมาณมหาศาล สุดท้ายเมื่อระบบขนส่งมวลชนไม่ตอบโจทย์ ผู้คนจึงหันไปใช้รถยนต์ส่วนตัวแทน
เพราะการที่จะเดินทางด้วยขนส่งมวลชนเข้าเมืองในบางเขตนั้นอาจจะต้องขับรถเป็นระยะทางไกลนับร้อยกิโลเมตร เช่นในลอสแองเจลลิส ที่ชาวเมือง LA จะต้องใช้เวลาในการเดินทางเข้าและออกเมืองหลายชั่วโมง ระยะทาง 50 - 120 กิโลเมตรทุกวันบนท้องถนนที่แออัด และการจราจรที่ติดขัดที่สุดในสหรัฐ
🔵อนาคตการขนส่งมวชนในสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร?
1
ร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ที่ผ่านโดยวุฒิสภาสหรัฐฯ ในปี 2021 ให้ความหวังว่าจะสามารถปรับปรุงการขนส่งในเมืองในประเทศได้ แต่จากเงินทุนทั้งหมดมีเพียง 66,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้นที่ได้รับการจัดสรรสําหรับโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟและ 39,000 ล้านดอลลาร์ สําหรับการขนส่งสาธารณะในช่วง 8 ปี ซึ่งหลักเกณฑ์การใช้งบประมาณที่เผยแพร่โดยทําเนียบขาวที่ขณะนี้ผ่านกฎหมายรูปแบบการขนส่งเพียงอย่างเดียวคือ เส้นทางรถประจําทาง ถนน และสะพาน
1
ร่างกฎหมายนี้ยังให้ความสําคัญกับการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งนําไปใช้กับภาคการขนส่ง หมายถึงการให้ความสําคัญกับการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เครือข่าย EV และการขนส่งที่ยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเห็นพ้องกันว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดและพลังงานจะมีบทบาทสําคัญในอนาคตของภาคการขนส่งของสหรัฐฯ
แต่ถึงกระนั้นแม้จะมีเงินทุนจากรัฐบาลกลางมากขึ้น แต่ยุคทองใหม่ของการขนส่งก็ดูไม่น่าเป็นไปได้ในสหรัฐอเมริกา แทนที่จะคาดหวังความล่าช้าในการตัดสินใจลงทุน สู้ขับรถเหมือนเดิมและเดินทางไปไหนมาไหนก็ได้ดีกว่า เพราะสุดท้ายแม้จะเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกที่มีขนาดเศรษฐกิจยิ่งใหญ่และร่ำรวยที่สุด ก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานได้เลย เพราะประชาชนก็ไม่พร้อมเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
1
โฆษณา