7 ม.ค. เวลา 10:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปต้นทุนธนาคาร ทำไมประเทศไทย เงินกู้แพง-เงินฝากถูก

ทุกวันนี้ ประเด็นเรื่อง “เงินกู้แพง-เงินฝากถูก” ยังคงถูกยกมาตั้งคำถามธนาคารพาณิชย์ของไทยอยู่เสมอ
2
ในปี 2024 อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากเฉลี่ยของไทยสูงถึง 7%
ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ กลับมีส่วนต่างเพียง 2%
6
ทำไมถึงต่างกันมากขนาดนี้
และในอนาคต ประเทศไทยควรจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
อัตราส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก (Nominal Spread) ที่เราคุ้นเคยกัน คำนวณมาจาก อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลบด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในไทยจะอยู่ระหว่าง 0.5-2%
แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้กลับเริ่มต้นที่ 7% สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี และอาจสูงถึง 25% หากลูกค้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและผิดนัดชำระหนี้..
4
แล้วทำไมธนาคารจึงตั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบนี้?
เพื่อให้เข้าใจง่าย
ธนาคารเปรียบเสมือน ร้านขายของ
สินเชื่อคือ สินค้า และอัตราดอกเบี้ยก็คือ ราคาสินค้า
2
การกำหนดราคาสินค้ามักขึ้นอยู่กับต้นทุน แปลว่า ถ้าต้นทุนแพง ราคาสินค้าก็แพงตาม
2
ต้นทุนของธนาคารในการปล่อยกู้มาจาก 3 ส่วนหลัก
--------
ส่วนที่ 1 คือ ต้นทุนทางการเงิน
ต้นทุนทางการเงินคิดจาก ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของเงินที่ธนาคารรับมาปล่อยกู้ ซึ่งก็คือการฝากเงินของประชาชน การออกตราสารหนี้ การกู้ยืมเงินจากตลาดเงินและสถาบันการเงินอื่น รวมถึงเงินที่ต้องส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ในอัตราร้อยละ 0.46 และสถาบันคุ้มครองเงินฝากอีกร้อยละ 0.01 ต่อปีของยอดเงินฝาก
ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะพอเข้าใจ ยกเว้น FIDF คืออะไร?
หลายคนยังไม่รู้ว่า ทุกวันนี้ เงินฝากเรามีภาระหนี้ที่ยังต้องชดใช้จากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 มากถึงร้อยละ 0.46 ต่อปีของเงินฝากของเรา
3
ในเวลานั้น หากไม่ได้ FIDF เข้ามาช่วย ค้ำประกัน และบริหารทรัพย์สินของสถาบันการเงินกว่าร้อยแห่งที่กำลังจะล้มละลาย ระบบการเงินของประเทศไทยในวันนี้ก็ไม่รู้ว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
เหตุการณ์นี้ทำให้ FIDF เกิดภาระหนี้สินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท
รัฐบาลจึงอนุญาตให้ FIDF เรียกเงินนำส่งจากสถาบันการเงินในอัตรา 0.46 ของยอดเงินฝากจากประชาชน
ล่าสุดในปี 2566 FIDF มียอดหนี้คงเหลืออยู่ที่ 600,000 ล้านบาท
--------
1
ส่วนที่ 2 ของต้นทุนธนาคารคือ ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ
1
ซึ่งคิดจาก เงินสำรองที่ธนาคารกันไว้ (Provision) ในกรณีที่เกิดหนี้เสีย หารด้วยสินเชื่อทั้งหมด
โดยจำนวน Provision ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับสถิติหนี้เสีย (NPLs) ในช่วงที่ผ่านมา
เช่น การปล่อยกู้ให้ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) อาจทำให้ธนาคารมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงและต้นทุนความเสี่ยงจากหนี้ NPLs มากกว่า การปล่อยกู้ให้ธุรกิจขนาดใหญ่
1
และผู้ขอสินเชื่อในประเทศไทยก็จะมีสัดส่วนเป็น SMEs มากกว่า เมื่อเทียบกับ ธนาคารในสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ที่ลูกค้าส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดใหญ่
1
เรื่องนี้จึงทำให้ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อโดยเฉลี่ยของประเทศไทยสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
--------
1
และส่วนที่ 3 ของต้นทุนธนาคาร ก็คือ ต้นทุนการดำเนินงาน
1
ต้นทุนดำเนินงานของธนาคารก็คือ
ค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงาน สาขา เครือข่าย ATM
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเงินสด
1
เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างเศรษฐกิจไทยประกอบกับต้นทุน 3 ส่วนนี้ เราพอจะได้คำตอบว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงก็มาจากต้นทุนที่สูง ซึ่งต้นทุนของธนาคารไม่ใช่แค่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วย
ดังนั้นการคิดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยแบบ Nominal Spread ที่เอา อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ลบด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก อาจจะเป็นการมองภาพจากเพียงมุมเดียว
แล้วเราควรวัดผลกำไรธนาคารจากอะไร?
คำตอบคือ ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หรือ Net Interest Margin (NIM) ซึ่งคำนวณจาก
(รายได้ดอกเบี้ยรวม - ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) / สินทรัพย์ทั้งหมดที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยเฉลี่ย
2
ในปี 2023 NIM ของธนาคารไทยอยู่ที่ 3%
แปลว่า สำหรับธุรกรรมการเงินระหว่างธนาคารและบุคคลที่ก่อให้เกิดรายได้ 100 บาท ธนาคารจะได้กำไร 3 บาท
1
ซึ่งถือว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากช่วงปี 2020-2022 ที่อยู่ในระดับ 2.8 แต่ยังคงอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
อย่างไรก็ตาม การมีส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากที่ระดับ 7% แต่มี NIM เพียง 3% และเมื่อดูภาพรวม ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูง อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนทำธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคต
1
ดังนั้นระบบธนาคารในไทยจึงอาจจำเป็นต้องทำให้ต้นทุนของตัวเองลดต่ำลง
และตัวที่จะมาช่วยให้ต้นทุนลดลง อาจจะเป็นสิ่งที่ภาคธนาคารทราบกันอยู่ และกำลังจะเกิดขึ้น
นั่นก็คือ การมีช่องทาง ”Digital Banking“
ต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนที่ 3 ที่ได้อธิบายในข้างต้น จะลดลงอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการเงินสด สาขา และพนักงาน
และในเวลาต่อมา ต้นทุนส่วนที่ 2 หรือ ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อจะลดลงได้ด้วย เพราะ Big Data จะช่วยลดต้นทุนของธนาคารในระยะยาว จากการปล่อยสินเชื่อแบบ Information-Based Lending
1
พูดง่ายๆ ก็คือ ธนาคารจะสามารถนำข้อมูลการค้าและการชำระเงินของลูกค้าแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์รายได้ พฤติกรรม และประเมินความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อ
1
แปลว่า ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อก็จะลดลง เพราะธนาคารสามารถแยกลูกหนี้ที่ดีออกจากลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระคืนหนี้ได้แม่นยำขึ้น
เมื่อธนาคารเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ก็จะสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มแรงจูงใจในการออมและการลงทุน ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้ต้นทุนทางการเงิน หรือต้นทุนส่วนที่ 1 ลดลงไปด้วย
1
สรุปแล้ว ในอนาคตเทคโนโลยีจะช่วยลดต้นทุนของธนาคาร และน่าจะทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงได้ในที่สุด
ในระหว่างเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้กำกับดูแล ก็ต้องเปิดให้ผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแข่งขันได้ แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าธนาคารหน้าใหม่ ๆ ที่เข้ามาแข่งนั้นจะไม่ล้ม และกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินไทย
ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้มีการเปิดให้ขอรับใบอนุญาต ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา หรือ Virtual Bank โดยจะต้องไม่มีการจัดตั้งสาขา และให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก
2
เรื่องทั้งหมดนี้อาจทำให้เราคิดได้ว่า
ในวันที่เทคโนโลยีมีบทบาทในทุกมุมของชีวิต ช่องทางโอกาสก็เพิ่มขึ้น
แต่ความเปลี่ยนแปลงมักมาพร้อมกับโจทย์ที่ให้เรานำไปปรับปรุงพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
การเรียนรู้เพื่อเข้าใจและปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นในยุคนี้
1
การเข้าใจว่า ธนาคารไทยยังมีต้นทุนส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เป็นต้นทุนที่สูงอยู่ เป็นเรื่องสำคัญ
1
และการลดต้นทุนเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ ก็เป็นเรื่องสำคัญ และจะเป็นจุดที่แก้ปัญหาที่แท้จริง มากกว่าการที่ให้ธนาคารลดดอกเบี้ยเงินกู้ ในขณะที่ต้นทุนต่าง ๆ ของธนาคารยังมีเท่าเดิม
ซึ่งในฐานะที่เราเป็นคนไทย
เราก็หวังว่าจะได้เห็นธนาคารไทยมีต้นทุนที่ต่ำลงได้จากเทคโนโลยี การจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการเปิดให้มีการแข่งขันที่สูงพอจากผู้กำกับดูแล
และเมื่อธนาคารมีต้นทุนที่ลดลง ธนาคารก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำลง มีส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากที่แคบลง เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น กว่าในปัจจุบัน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
หนี้ FIDF มูลค่าประมาณ 6 แสนล้าน ซึ่งเป็นผลจากตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง หากหนี้ก้อนนี้ได้ถูกใช้คืนจนหมด ส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ก็จะลดลงได้ทันที 0.46% ซึ่งน่าจะใช้เวลาเป็นสิบปี
3
โฆษณา