9 ม.ค. เวลา 23:00 • สิ่งแวดล้อม

นักวิทย์เร่งพัฒนาเทคโนโลยีแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด รับมือวิกฤตน้ำทั่วโลก

วิวัฒนาการแปลงน้ำเค็มเป็นน้ำจืด เป็นความหวังของมนุษยชาติในการรับมือกับความเสี่ยงวิกฤตขาดแคลนน้ำทั่วโลก
 
การเปลี่ยนน้ำทะเล ที่มีอยู่มากมายมหาศาล ให้เป็นน้ำสะอาด ที่สามารถบริโภคได้ เป็นวิธีการแก้ปัญหาอย่างหนึ่งในการตอบสนองต่อ ความต้องการน้ำ ที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แต่ กระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล ซึ่งเป็นการสกัดเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆ ออกจากน้ำทะเลนั้น เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้พลังงานสูงมาก
3
วอเทอร์ไรซ์ (Waterise) เป็นบริษัทเอกชนสัญชาตินอร์เวย์ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นและจดสิทธิบัตรกระบวนการกรองน้ำด้วยระบบรีเวอร์ส ออสโมซิส (reverse osmosis) หรือ การกรองอย่างละเอียดเป็นชั้น ๆ โดยใช้เยื่อกรองชนิดพิเศษและแรงดันสูง ในแบบที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งต่างจากแบบปกติที่ใช้พลังงานสูงมากและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง
1
โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำของบริษัทวอเทอร์ไรซ์ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทะเล และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 400 เมตร ใช้แรงดันน้ำที่อยู่ด้านบนเพื่อช่วยลดความต้องการใช้พลังงานลงได้อย่างมาก
นีลส์ เพ็ทเทอร์ ไรท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทวอเทอร์ไรซ์ กล่าวว่า จุดที่ตั้งของโรงงานที่ใต้ทะเลและการใช้แรงดันในน้ำ ทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้ 30%-40% และการออกแบบกระบวนการนี้ ยังทำให้เหมือนกับว่า นี่ไม่ใช่การดันน้ำผ่านเยื่อกรองแต่เป็นการดึงน้ำออกมามากกว่า
1
ปัจจุบัน โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำที่มีการทำงานสมรรถนะสูงระดับต้น ๆ ของโลก ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในแถบตะวันออกกลาง ที่ซึ่งพลังงานมีราคาถูกกว่า
1
ผู้บริหารของวอเทอร์ไรซ์เปิดเผยว่า เทคโนโลยีของบริษัทช่วยลดความจำเป็นในการใช้ที่ดินตามชายฝั่งได้มากถึง 90% และลดการใช้พลังงานได้มากถึง 40% ซึ่งส่งผลให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปด้วย ขณะเดียวกันการมีโรงงานใต้ทะเลที่ระดับความลึก 400 เมตรยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลในระดับที่ต่ำกว่าด้วย
1
ในการทำงานของโรงงานที่วอเทอร์ไรซ์ออกแบบมานี้ มีการเชื่อมต่อโมดูลใต้ทะเลกับบนพื้นดินด้วยสายเคเบิลที่ให้พลังงานและใช้ในการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังมีการต่อท่อส่งน้ำจากก้นทะเลมาสู่พื้นดิน ที่โดยปกติแล้วจะสามารถผลิตน้ำจืดได้ถึงวันละ 50 ล้านลิตรเลยทีเดียว
1
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เราคงปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ได้ ที่ว่ามลพิษที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งภาวะแล้งที่รุนแรงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินที่หดตัว คือส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกเราเผชิญกับภาวะล่อแหลมของวิกฤตน้ำในเวลานี้
และเมื่อน้ำคือชีวิต น้ำคือแหล่งกำเนิดของอาหาร เป็นสายเลือดของการทำการเกษตร เมื่อสถานการณ์น้ำเลวร้ายลง ผู้คนในระบบนิเวศและเศรษฐกิจ คือ ฝ่ายที่จะต้องรับภาระและผลกระทบที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น
ข้อมูลล่าสุดจากสถาบันทรัพยากรโลกประมาณการว่า หนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากวิกฤติด้านน้ำในระดับสูงขึ้นภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) การนำน้ำทะเลมาใช้อาจจะเป็นหนึ่งในทางออกและนำโลกผ่านพ้นวิกฤตน้ำไปได้ แต่พัฒนาการของเทคโนโลยียังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและยังมีต้นทุนสูง นวัตกรรมของวอเทอร์ไรซ์กล่าวได้ว่าเป็นความหวัง ทั้งในแง่ของต้นทุนและความต้องการใช้พลังงานที่ลดลง ซึ่งจะทำให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้นนั่นเอง
1
โฆษณา