14 ม.ค. เวลา 08:00 • ข่าวรอบโลก

รัฐบาลญี่ปุ่นถอนตัวโครงการรถไฟความเร็วสูง

เชื่อมมาเลเซีย - สิงคโปร์ หลังรัฐบาลมาลายาลอยแพ
แม้อยากฟื้นโครงการ แต่ผลักภาระเอกชนลงทุนเอง
โครงการรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซียที่เปิดให้บริการมาแล้ว 4 เดือนเส้นทางระหว่างกรุงจาการ์ตา - บันดุง กับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 สายแรกในไทยคือ กรุงเทพฯ - นครราชสีมา และกรุงเทพ - สนามบินอู่ตะเภา - ระยอง อยู่ในความสนใจของประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอยู่เสมอ เพราะเป็นโครงการที่คืบหน้าอย่างต่อเนื่องทำให้โฟกัสจับจ้องมาที่ทั้งสองประเทศ ที่มีการดำเนินโครงการอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด
1
โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้อย่างมาเลเซียแลสิงคโปร์ ที่เคยมีแนวคิดร่วมกันในการสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย - สิงคโปร์ ระยะทาง 350 กิโลเมตร ซึ่งได้มีการประกาศยกเลิกโครงการ​แต่ในปี 2021 ในยุคของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มูห์ยิดดิน ยัสซินเนื่องจากความกังวลเรื่องภาระทางการเงิน และถูกทางสิงคโปร์เรียกค่าปรับจากการเสียโอกาสถึง 2,380 ล้านบาท
ก่อนที่รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม จะรื้อฟื้นโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ที่ผ่านมา
1
ล่าสุด รัฐบาลและแหล่งข่าวของบริษัท กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า บริษัทต่างๆ รวมถึงบริษัทอีสต์​เจแปนเรล​เวย์​ (East Japan Railway Co.)​ ต่างหวังว่าจะใช้ระบบรถไฟหัวกระสุนชินคันเซ็นของญี่ปุ่นในโครงการนี้ แต่พวกเขาตัดสินใจว่ามันจะมีความเสี่ยงเกินไปหากไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลมาเลเซีย
1
การถอนตัวนี้อาจทำให้ธุรกิจของจีนที่เป็นคู่แข่งสามารถเสริมความแข็งแกร่งในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียตะวันออก หลังจากที่พวกเขาสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซียเสร็จในปี 2023 และกำลังสร้างอีกแห่งในประเทศไทย
วันจันทร์หน้าเป็นกำหนดเวลาในการยื่นเสนอราคา รัฐบาลมาเลเซียเริ่มเรียกร้องการประมูลในเดือนกรกฎาคม 2023
โครงการนี้คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1​ แสนล้านริงกิต (2.1 หมื่นล้านดอลลาร์) แต่รัฐบาลมาเลเซียตั้งใจที่จะส่งเสริมโครงการนี้ผ่านการจัดหาเงินทุนภาคเอกชน แทนที่จะใช้การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือขยายการค้ำประกันหนี้
ในขณะที่บริษัทญี่ปุ่นกำลังจะถอนตัว บริษัทในท้องถิ่นหลายแห่งวางแผนที่จะร่วมมือกับบริษัทจีนและยุโรปเพื่อยื่นประมูล
รัฐบาลมาเลเซียจะเริ่มการเจรจาอย่างเต็มรูปแบบกับรัฐบาลสิงคโปร์ในปลายปีนี้อย่างเร็วที่สุด
รัฐบาลมาเลเซียและสิงคโปร์เริ่มบรรลุข้อตกลงพื้นฐานในปี 2013 ในโครงการนี้ ซึ่งเรียกร้องให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงความยาว 350 กิโลเมตร ที่จะช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างกัวลาลัมเปอร์และนครรัฐให้เหลือเพียง 90 นาที เมื่อเทียบกับเส้นทางเดิมที่เดินทางโดยรถยนต์กว่า 4 ชั่วโมง ก่อนที่จะยกเลิกโครงการในที่สุดเพราะปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงินการคลังของมาเลเซียและหนี้สาธารณะสูง
ทั้งนี้ บริษัทอีสต์​เจแปนเรล​เวย์​และบริษัทการค้ารายใหญ่อย่างซูมิโตโม แสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการ ในปี 2015 เคอิอิจิ อิชิอิ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นในขณะนั้นได้นำเสนอระบบชินคันเซ็นแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลมาเลเซียในระหว่างการเยือนกรุงกัวลาลัมเปอร์
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียมีความหวังงว่าจีนจะเข้ามาแทนที่การประมูลเนื่องจากประเทศเพิ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซียและการก่อสร้างทางรถไฟสายอื่นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ จากรัฐบาลปักกิ่ง
โฆษณา