19 ม.ค. เวลา 03:44 • สุขภาพ

การใช้ฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนกายภาพทางเพศสำหรับ LGBTQ+

การเทคฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTQ นั้น เป็นการรักษาเพื่อเปลี่ยนแปลงสรีระทางร่างกายให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศที่ต้องการ ซึ่งจะไปช่วยในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทั้งสรีระร่างกาย และจิตใจ หากมีการเทคฮอร์โมนเป็นระยะเวลานานหรือรักษาระดับฮอร์โมนได้ดีจะยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ออย่างชัดเจน โดยรูปแบบของการเทคฮอร์โมน โดยปกติฮอร์โมนที่ใช้สำหรับคนข้ามเพศ มีหลากหลายแบบ ดังนี้
1
1. ฮอร์โมนเพื่อความเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen) และยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen agent)
2. ฮอร์โมนเพื่อความเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย ทำได้ด้วยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
โดยในโพสนี้จะขอเน้นไปที่ฮอร์โมนเพื่อความเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) โดยฮอร์โมนที่มีการใช้ในกรณีดังกล่าวจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. ฮอร์โมนเอสโตรเจน
2. ฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน(Anti-androgen) เป็นยาเพื่อลดผลของ
ฮอร์โมนเพศชาย เช่น Cyproterone, Spironolactone, Finasteride,Gonadorelin analogues
3. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
กลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน
มีการแนะนําให้ใช้: 17- beta estradiol(Ediol), estradiol valerate (progynova)
หรือ hemihydrate(estrofem) 2-4 mg/day (ไม่เกิน 8 mg/day) และรูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง 0.025-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน (24 ชม.) เปลี่ยนแผ่นใหม่
ทุก 3-5 วัน หรือ 0.1 มิลลิกรัมต่อวัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนจากยาคุม (Ethinyl Estradiol :EE) เนื่องจากมีผลข้างเคียงต่อหลอดเลือดดําอุดตัน และโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลข้างเคียงจะมากขึ้น ถ้าใช้ขนาดสูงและระยะเวลานาน รวมไปถึงฮอร์โมนในรูป Conjugated และแบบฉีดเข้ากล้ามด้วย
ข้อห้ามใช้ของฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ การมีประวัติโรคหรือกำลังมีโรคต่อไปนี้:
โรคหลอด
เลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง
ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ
มะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่ไวต่อเอสโตรเจน
โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้าย
ตัวอย่างฮอร์โมนเสริมกลุ่ม เอสโตรเจน
กลุ่มฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน(Anti-androgen) มีการแนะนำฮอร์โมน 3 ชนิด
1. Cyproterone acetate (Androcur) ขนาดที่แนะนำคือ 50-100 mg/day (ไม่เกิน 100 mg)
2. Spironolactone (Aldactone) ขนาด 200-400 mg/day (ไม่เกิน 400 mg)
3. Finasteride (Proscar, Propecia) ขนาด 2.5-5 mg สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้ฮอร์โมนต้านแอนโดรเจน คือ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เกิดการทำงานของตับผิดปกติได้ กรณีได้รับ spironolactone ติดตามระดับโปแตสเซียมทุก 3 เดือนในปีแรก และทุกปีต่อไป รวมถึงควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก เช่นเดียวกับหญิงและชายทั่วไปตามลำดับ
ตัวอย่างฮอร์โมนต้านฤทธิ์แอนโดรเจน(Anti-androgen)
กลุ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ตัวยาที่มีการแนะนำให้ใช้คือ Medroxyprogesterone acetate (Provera) 2.5 - 5mg/day (ไม่เกิน 5-10mg)
รายข้อควรระวังในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คือ หลอดเลือดดําอุดตัน เพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น เอนไซม์ตับสูงเกิน 3 เท่า ภาวะซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่ม
1
การศึกษาชนิดสุ่มควบคุมในคลินิกสุขภาพบุคคลข้ามเพศพบว่า ผู้ที่เทคฮอร์โมนที่ได้รับ CPA 25 มิลลิกรัมต่อวัน มีจำนวนผู้ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอรอนต่ าลงถึงระดับเป้าหมาย (ร้อยละ 90) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับ spironolactone 100 มิลลิกรัมต่อวัน (ร้อยละ 19) ณ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยที่เป็นการได้รับร่วมกับ estradiol
valerate ชนิดรับประทาน 4 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามจำนวนหญิงข้ามเพศในการศึกษานี้ จำนวนเพียง 52
นอกจากนี้ เมื่อได้รับฮอร์โมนแล้ว ระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ต้องลดลงและอยู่ในระดับไม่เกิน 50 ng/dL ในขณะที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้องอยู่ในช่วง 100 ถึง 200 pg/mL ซึ่งค่าทั้งสองเป็นระดับปกติของเพศหญิงวัยก่อนหมดระดู ผู้รับบริการจะต้องได้รับข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาก่อนเห็นผลของฮอร์โมนที่ได้รับ (onset) และระยะเวลาของการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ในปีแรกของการได้รับฮอร์โมนเพศ จะมีการประเมินติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัย ทุก 3-6 เดือนและปีละครั้งต่อไป นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับฮอร์โมน ต้องได้รับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เลิกบุหรี่ ลดน้ำหนัก เป็นต้น แนวทางเวชปฏิบัติไม่เห็นด้วยกับการใช้ฮอร์โมนด้วยตนเอง โดยปราศจากการตรวจติดตามโดยบุคลากรทางการแพทย์
1
อ้างอิง
โฆษณา